Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จินดามณี - Coggle Diagram
จินดามณี
ลักษณะจินดามณี
กล่าวคือ มีข้อความแปลกจากฉบับอื่น โดยมีทั้งฉบับสมุดไทยดำเส้นรง ที่สมเด็จฯ กรมพระยาราชานุภาพประทานให้หอสมุดแห่งชาติ และฉบับที่เป็นสมบัติเดิมของหอสมุดแห่งชาติอยู่แล้ว
จินดามณีฉบับความพ้องมีหลายเล่มสมุดไทย โดยเป็นของที่หอสมุดฯ ซื้อไว้บ้าง มีผู้บริจาคให้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เนื้อความจะคล้ายคลึงกับจินดามณีเล่มแรก ที่พระโหราธิบดีเป็นผู้ประพันธ์ แต่ก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันบ้างในบางเล่ม
- จินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2392 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- จินดามณี ฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล
จินดามณีฉบับนี้เป็นฉบับสำรวมใหญ่ คือ รวมตำราแบบเรียนภาษาไทยหลายเล่มมาพิมพ์ไว้ด้วยกัน เช่น ประถม ก.กา แจกลูก จินดามณี ประถมมาลา และปทานุกรม โดยหนังสือจินดามณีในฉบับนี้ยังได้แทรกเรื่องคำอธิบายต่าง ๆ ทั้งคำราชาศัพท์ และเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในเนื้อหาของหนังสือจินดามณีด้วย
-
จินดามณีคืออะไร
หนังสือจินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย เชื่อว่าใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สืบมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต้นฉบับตัวเขียนสมุดไทยหนังสือจินดามณีมีอยู่หลายฉบับ... (คำนำ)จินดามณี ที่พิมพ์รวมในหนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร ประกอบด้วย
จินดามณีเล่ม ๑ มีข้อความระบุในเนื้อหาว่า พระโหราธิบดีแต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจินดามณี ฉบับใหญ่ บริบูรณ์ ต้นฉบับเป็นเอกสารสมุดไทย ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
เนื้อหาประกอบด้วย
นังสือจินดามณีมีเนื้อหาการเรียนการสอนพื้นฐานด้านอักขรวิทยา เช่น อักษรศัพท์ ว่าด้วยคำที่มักเขียนผิด ความหมายของคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และเขมร ยกตัวอย่างเช่น อักษรตัว ส, ศ, ษ รวมไปถึงคำที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย เป็นต้น นอกจากนี้ในหนังสือจินดามณียังมีบทประพันธ์ประเภทบทร้อยกรองต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่อธิบายการเขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างฉันทลักษณ์นั้น ๆ
- อธิบายและยกตัวอย่าง “นามศัพท์” หรือ “ศัพท์พนาม” ที่ใช้ตัวอักษร ษ ศ ส สะกด และใช้ไม้ม้วน 20 คำ ไม้มลาย 80 คำ
-
- เครื่องหมายแปดสิ่งที่เสมียนพึงรู้
-
- การใช้ ฤ ฤา ฦ ฦา ในการแต่งคำประพันธ์
- โคลงรหัสอักษร เช่น โทนับ 3 และโทนับ 5
- รวมรวมคำศัพท์ที่มีเสียงพ้องกันแต่เขียนต่างกัน เช่น บาตร บาท บาศ เป็นต้น โดยมีทั้งศัพท์ไทย บาลี สันสกฤต และเขมร รวมกันเรียก “ศัพท์อักษร”
- อักษรสามหมู่ ว่าด้วยการแจกลูกและผันอักษรตามมาตราตัวสะกด
-
- อธิบายการแต่งคำประพันธ์ตามคัมภีร์วุตโตทัย และกาพย์สารวิลาสินี โดยแสดงแผนผังและยกตัวอย่างจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งได้เขียน “ธรง” เป็นกาพย์สุรางคนางค์สำหรับให้จำคณะทั้งแปดที่กำหนดไว้ในการแต่งฉันท์
- คำว่า “อักขระ” และฐานกรณ์หรือที่เกิดของเสียง