Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จินดามณี - Coggle Diagram
จินดามณี
เนื้อหาประกอบด้วย
รวมคำศัพท์ที่มีเสียงพ้องกันแต่เขียนต่างกัน
ความหมายของคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และเขมร
อักษรสามหมู่ ว่าด้วยการแจกลูกและผันอักษรตามมาตราตัวสะกด
อักษรศัพท์ ว่าด้วยคำที่มักเขียนผิด
การใช้ ฤ ฤา ฦ ฦา ในการแต่งคำประพันธ์
อธิบายและยกตัวอย่าง “นามศัพท์” หรือ “ศัพท์พนาม” ที่ใช้ตัวอักษร ษ ศ ส สะกด และใช้ไม้ม้วน 20 คำ ไม้มลาย 80 คำ
อธิบายการแต่งคำประพันธ์ตามคัมภีร์วุตโตทัย และกาพย์สารวิลาสินี
จินดามณี คืออะไร
เป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย
ผู้แต่งคนแรก คือ พระโหราธิบดี
ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2215
บันทกลงใรนสมุดไทยดำ เส้นรง
มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยจึงมีหลายฉบับ
แบ่งความแตกต่างของเนื้อเรื่องไว้ 4 ประเภท จำแนกได้ดังนี้
จินดามณี ฉบับความพ้อง
จินดามณีฉบับความพ้องมีหลายเล่มสมุดไทย โดยเป็นของที่หอสมุดฯ ซื้อไว้บ้าง มีผู้บริจาคให้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เนื้อความจะคล้ายคลึงกับจินดามณีเล่มแรก ที่พระโหราธิบดีเป็นผู้ประพันธ์ แต่ก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันบ้างในบางเล่ม เช่น จินดามณี เล่ม 1 และจินดามณี ฉบับใหญ่ บริบูรณ์
จินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2392 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จินดามณี ฉบับความแปลก
กล่าวคือ มีข้อความแปลกจากฉบับอื่น โดยมีทั้งฉบับสมุดไทยดำเส้นรง ที่สมเด็จฯ กรมพระยาราชานุภาพประทานให้หอสมุดแห่งชาติ และฉบับที่เป็นสมบัติเดิมของหอสมุดแห่งชาติอยู่แล้ว
จินดามณี ฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล
จินดามณีฉบับนี้เป็นฉบับสำรวมใหญ่ คือ รวมตำราแบบเรียนภาษาไทยหลายเล่มมาพิมพ์ไว้ด้วยกัน เช่น ประถม ก.กา แจกลูก จินดามณี ประถมมาลา และปทานุกรม โดยหนังสือจินดามณีในฉบับนี้ยังได้แทรกเรื่องคำอธิบายต่าง ๆ ทั้งคำราชาศัพท์ และเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในเนื้อหาของหนังสือจินดามณีด้วย
จินดามณี ไม่ได้มีฉบับเดียว
จินดามณี เล่ม 2 ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
บันทึกหนังสือเรื่องจินดามณี ของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร)
จินดามณี เล่ม 1 ฉบับพระโหราธิบดี
จินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ โดยนายขจร สุขพานิช นำมาจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ