Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค, hqdefault, ครู, ชูบัว, X3uUaoNHmVP8FAk1hqdG, …
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
เป็นศิลปะการรำที่นิยมเรียกกันทัวไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา เเละกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไตชาวเขิน เป็นต้น
ลักษณะการฟ้อน เเบ่งเป็น 2 เเบบ เเบบดั้งเดิมเเละเเบบที่ปรับปรุงใหม่ เเต่ยังมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการเเสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่ช้า อ่อนช้อย มีการเเต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงเเละขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน
-
-
-
การแสดงพื้นเมือภาคใต้
เป็นศิลปะการรํา และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ลิเกฮูลู มีเครื่องดนตรีประกอบที่สํา คัญ เช่น กลองโนรา ทับ โทน รํามะนา เป็นต้น
-
-
บุคคลสําคัญ
ยก ชูบัว
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2465 ที่บ้านทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดทะเลน้อย เมื่ออายุได้ตั้งแต่ 8 ขวบ ได้เริ่มหัดรำโนรามาโดยหัดกับโนราเลื่อน พงค์ชนะ บ้านทะเลน้อย และอยู่ประจำคณะโนราเลื่อนมาจนอายุ 16 ปี จึงแยกมาตั้งคณะเอง ท่านได้ใช้ชีวิตการเป็นศิลปินมาร่วม 50 ปี ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้มีมติยกย่องให้เป็นศิลปินพื้นเมืองดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2528 และ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้รับการยกย่องเป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งแก่ชีวิตและวงศ์ตระกูล
การแสดงพื้นเมือภาคกลาง
เป็นศิลปะการรําและการละเล่นของชาวบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนานเป็น
การพักผ่อนหย่อนใจจากการทํางาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นและใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
-
-
บุคคลสำคัญ
ครูมืด ประสาท ทองอร่าม
ครูมืด เป็นครูโขนมากว่า 50 ปี มีผลงานการแสดงมากมาย และเป็นศิษย์เอกคนสำคัญของอาจารย์เสรี หวังในธรรม บรมครูด้านนาฏศิลป์ไทยซึ่งเป็นผู้ดูแลและถ่ายทอดศาสตร์นาฏศิลป์ไทยทั้งโขน ลิเก การพากษ์โขน ละคร รวมทั้งการแสดงจำอวด
ปัจจุบันได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านดนตรี และศิลปิน ประจำปี 2563 สาขาบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดง เเละกำลังจะได้รับยศในฐานะศิลปินเเห่งชาติ
การแสดงพื้นเมือภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมาและเกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยเน้นความสนุกสนานและความรื่นเริง
-
-
บุคคลสําคัญ
นาย เปลื้อง ฉายรัศมี
ศิลปินแห่งชาติปีพ.ศ.2529สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง) เกิดเมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2475 นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี และทํำให้โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประจําจังหวัดกาฬสินธุ์บ้านเลขที่ 7 ต.ม่วงมา อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-