Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นมาใหม่, (ละครร้อง, เป็นละครแบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก…
ละครที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
-
ละครพูด
ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
พ.ศ. 2422 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริต จบบริบูรณ์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาคม "แมจิกัลโซไซเอตี" โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นนายกสมาคมจัดการแสดงละครเรื่องนี้ขึ้น ทรงเป็นผู้กำหนดตัวละครเอง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ เป็นอาบูหะซัน พระองค์เจ้าจิตรเจริญ คือ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นตัวนางนอซาตอล
พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงละครเรื่องอิเหนาในงานเฉลิมพระราชมนเทียร พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ละครที่แสดงในครั้งนี้เป็นละครรำ แต่มีบทเจรจาที่ทรงพระราชนิพนธ์เองบ้าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรและเจ้านายพระองค์อื่นๆ แต่งถวายบ้าง
พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษา และเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว ทรงตั้ง "ทวีปัญญาสโมสร" ขึ้นในพระราชอุทยานสราญรมย์ แต่ในสมัยเดียวกันนี้ได้มีการตั้ง "สามัคยาจารย์สโมสร" ซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานอยู่ก่อนแล้ว กิจกรรมของ 2 สโมสรที่คล้ายคลึงกัน คือการแสดงละครพูดแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีส่วนร่วมในกิจการการแสดงละครพูดของทั้ง 2 สโมสรนี้ จึงได้ถวายพระเกียรติว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดละครพูด
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคทองของละครพูด ประชาชนให้ความสนใจต่อละครประเภทนี้มาก เพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและแสดงได้ง่าย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นเป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง
-
- ละครพูดล้วนๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว
-
-
-
ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียงกังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี
-
-
-
-
-
-
ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรือง"โพงพาง" เมื่อ พ.ศ. 2463 เรื่องต่อมาคือ "เจ้าข้าสารวัด" ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ละครพูดสลับลำ ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา" และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2449
-
ละครพูดล้วนๆ การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดุ ถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ก็สมมติว่าไม่ได้ยิน
-
ละครพูดสลับลำ ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ
-
-
-
ละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ผู้ให้กำเนิดละครประเภทนี้คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเลียนแบบจากละครอุปรากร ที่เรียกว่า โอเปอเรติก ลิเบรดโด
ลักษณะการแสดง เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีค่าพูดแทรก เล่าเรื่องเป็นเพลงแทนการเจรจา ใช้ท่าทางแบบสามัญชน อาจมีการร้าแทรกบ้าง
-
-
-
-
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ทรงดัดแปลงป่าเค้ามาจากการแสดงของชาวมลายูที่เรียก ว่า"บังสาวัน"หรือ"มาเลย์โอเปร่า"ละครร้องสลับพูดนี้เกิดขึ้นพร้อมกับละครร้องล้วนๆ แต่ได้รับความนิยม มากกว่า
-
-
-
-
-
พระองค์ได้นำแบบแผนการแสดงละครของชาวตะวันตกมาดัดแปลงเป็นละครไทย อีกแบบหนึ่ง โดยใช้ท่ารำและเพลงร้อง เพลงดนตรีอย่างไทย แต่มีการเปลี่ยนฉากตาม ท้องเรื่องแบบละครฝรั่ง พระองค์เป็นผู้ประพันธ์บทละครและกำกับการแสดงด้วยพระองค์เอง
ละครสังคีต /เป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละคร พูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูดและบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกันคำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการ ฟ้อนรำ และการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย
ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้การแต่งกาย แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
เรื่องที่แสดง นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า " ละครสลับลำ "เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า " ละครพูดสลับลำ"เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต
ครูลมุล ยมะคุปต์
เมื่ออายุ ๕ ขวบเข้าเรียนวิชาสามัญ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา เรียนได้เพียงปีเดียวบิดาก็นำไปถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ลมุลอยู่ในความดูแลของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์) เมื่ออายุ ๖ขวบได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านละครรำจาก หม่อมครูแย้มละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถ่ายทอดบทบาทของตัวเอกด้านละครใน เช่น อิเหนา หย้าหรัน เป็นต้น หม่อมครูอึ่ง หม่อมละครในสมเด็จพระบัณฑูรฯ (กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ถ่ายทอดในเรื่องของเพลงหน้าพาทย์ และบทบาทอื่นๆ เช่น พระวิษณุกรรม พระมาตุลี อินทรชิต รามสูร เป็นต้น หม่อมครูนุ่ม หม่อมในกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ (พระองค์เจ้าเนาวรัตน์) ท่านเป็นครูนาง ถ่ายทอดบทบาทที่เกี่ยวกับตัวนาง เช่น ศุภลักษณ์ เป็นต้น
-
การแสดง มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้องแต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละคร สังคีตมุ่งบกร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงามในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
ดนตรี บรรเลงด้วย วงปี่พาทย์ไม้นวมเพลงร้อง ใช้ เพลงชั้นเดียว หรือ เพลง 2 ชั้น มีลำนำที่ไพเราะสถานที่แสดง แสดงบนเวที มีการจัดฉากเปลี่ยนตามท้องเรื่อง