Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครไทยประเภทละครรำ - Coggle Diagram
ละครไทยประเภทละครรำ
ละครไทยแบบดั้งเดิม
ละครชาตรี
เป็นละครประเภทหนึ่งของไทย สันนิษฐานว่าคงนำเอาการขับร้องและระบำ รำฟ้อน ประกอบดนตรี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาผสมกับละคร มีลักษณะคล้ายละครอินเดียที่เรียกว่า ยาตรี หรือ ยาตรา ซึ่งแปลว่าเดินทางท่องเที่ยว
ละครนอก
ละครรำแบบหนึ่ง พัฒนาจากละครชาตรี เดิมตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังมีทั้งหญิงชาย มีบทเจรจา แสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ บางครั้งติดจะหยาบโลน แสดงวรรณคดีได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง
ละครใน
เป็นละครที่แสดงในวัง ได้นำวิธีการเล่นเดินเรื่องอย่างละครนอก มาให้เหล่าระบำในพระราชฐานแสดง โดยนำบทที่เคยแสดงโขนคือเรื่องรามเกียรตื์ และอุณรุท มาแสดงโดยนางในราชสำนัก จึงเรียกว่าละครนางใน หรือละครข้างใน ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่า ละครใน
-
-
ละครรำ
เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี ในปัจจุบันละครรำนิยมนำมาแสดงแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแพร่หลาย มีทั้งแบบชั่วคราว กับประจำโรง อยู่ในสถานที่นั้น