Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาทางจิตเวช แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม - Coggle Diagram
ยาทางจิตเวช
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
1.Antipsychotic drug
ยารักษาอาการทางจิต
ยารักษาอาการทางจิตกลุ่มเดิม (conventional หรือ typical หรือ first-generationantipsychotics : FGAs)
ยารักษาอาการทางจิตกลุ่มเดิม (FGAs) จะออกฤทธิ์ในการรักษาโดยการยับยั้งการทํางานของ Dopamine D2 receptor ในสมองเป็นหลัก ประมาณ 60-80% โดยผลการออกฤทธิ์ของยาจะ เป็นไปตาม dopamine pathway ในสมอง ได้แก่
• Mesolimbic pathway (SGAs) : เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตด้านบวก (positive symptoms) ได้แก่ delusion, hallucination
• Mesocortical pathway (SGAs) : เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตด้านลบ (negative symptoms) ได้แก่ diminished emotional expression, avolition, alogia, anhedonia และ asociality รวมไปถึงอาการ ด้าน cognitive
• Nigrostriatal pathway : เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการข้างเคียง (extrapyramidal side effects; EPS)
• Tuberoinfundibularpathway : prolactin หลั่งมากเกิด galactorrthea และ gynecomastia ได้
ประเภทของยา
dopamine antagonists (DA)
กลไกการออกฤทธ์ิ ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการจับของ dopamine ทําให้ dopamine ลดลง การที่ dopamine ในส่วน mesolimbic และ mesocortical ถูก ยับยั้ง ทําให้รักษากลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms) และกลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms) ของผู้ป่วยได้ แต่ยาจะออกฤทธิ์ต่อ dopamine ในทุก pathway ดังนั้น dopamine ใน pathway อื่นๆ ถูกยังยั้งด้วย เมื่อ dopamine receptor ถูกยับยั้ง
ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย
กลุ่มยา Phenothiazine
Perphenazine
Trifluoperazine
Thioridazine
Fluphenazine
Chlorpromazine (CPZ)
กลุ่มยา Butyrophenone
Haloperidol
กลุ่มยา Diphenylbutylpiperidine
Pimozide
กลุ่มยา Thioxanthene
Zuclopentixol
Flupentixol
ข้อบ่งใช้
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder)
โรคจิตจากภาวะทางกาย (Organic psychosis)
โรคจิตที่เกิดในบางช่วงของโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ท้ังโรคอารมณ์สองขั้ว ระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type) และโรคซึมเศร้า (Majordepressive disorder: MDD)
รักษาอาการ agitation ใน ผู้ป่วย alzheimer และ bipolar disorder
รักษาอาการก้าวร้าวในผู้ ป่วยสมองเสื่อมและผู้ป่วย delirium
ยารักษาอาการทางจิตกลุ่มใหม่ (atypical หรือ second- generation antipsychotics : SGAs)
ประเภทของยา
serotonin-dopamine antagonists (SDA)
ออกฤทธ์ิปิดการจับของ serotonin และ dopamine จึงเพิ่มประสิทธิภาพการรักษากลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms) และด้านกระบวนการรู้คิด (Cognitive symptoms) ได้ดีกว่ากลุ่ม DA ในขณะที่รักษากลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms) ได้ดีเท่าๆกัน แต่กลุ่ม SDA มีผลข้างเคียงน้อยกว่า มีอาการ EPS ตํ่ามาก ผลข้างเคียงที่สําคัญของยากลุ่ม SDA
คือ นํ้าหนักขึ้น ยาในกลุ่มนี้สามารถจําแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ dibenzodiazepine และ benzisoxazole
ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย
Risperidone
Clozapine
ชนิดฉีด
ระยะปานกลาง
Zuclopenthixol acetate
ระยะยาว
Haloperidol decanoate
Fluphenazine decanoate
Flupentixol decanoate
Risperidol LAI
Paliperidone palmitate
Aripiprazole LAI
ระยะสั้น
Chlorpromazine
Haloperidol
5.Benzodiazepine
ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน
เป็นกลุ่มยาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วย คุณสมบัติของยาในกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ทั้งคลายกังวล ทําให้ง่วงซึม ดลายกล้ามเนื้อและระงับการชักได้ ในทางจิตเวชจึง นิยมใช้เป็นยาคลายกังวลและยานอนหลับ
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง โดยยับยั้งและปิดกั้น GABA (Gamma Amino Butyric Acid) บริเวณ limbic system และ subcortical ทําให้สมองส่วนที่รับความรู้สึกถูกกด การ เคลื่อนไหวช้าลง ง่วงนอน ดังนั้น ยาจึงทําให้ระดับความวิตกกังวลในบุคคลลดลง ทําให้ผู้ป่วยสงบ และช่วยให้ หลับได้
ข้อบ่งใช้
อาการวิตกกังวลจากสถานการณ์
(Situational anxiety)
อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)
โดยใช้ยาในระยะเวลาสั้นๆ
อาการกลัวการเข้าสังคม
(Social phobia)
อาการชัก (Convulsion)
ทําให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
โรคประสาทวิตกกังวลรุนแรง
(Panic disorder)
อาการเพ้อและส่ัน
(Delirium tremens)
โรควิตกกังวลทั่วไป
(Generalized anxiety disorder)
อาการถอนยาจากการงดดื่มสุรา หรือขาดสารเสพติดต่างๆ (Withdrawal symptoms)
ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย
Alprazolam
Lorazepam
Diazepam
Midazolam
3.Antidepressant
ยาแก้ซึมเศร้า
ใช้รักษาอาการของโรคซึมเศร้าเป็นหลัก แต่ด้วยกลไกของยาในกลุ่มนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะ มีฤทธิโนการยับยั้งการ reuptake ของสารสื่อประสาทในสมองโดยเฉพาะ serotonin, norepinephrine และ dopamine ในปัจจุบันจึงสามารถนํายาในกลุ่มนี้มาใช้ในการรักษาโรดทางจิตเวช อื่นๆ นอกเหนือจากการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย
ข้อบ่งใช้
โรควิตกกังวลที่เกิดภายหลังการเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต (Post-traumatic stress disorder: PTSD)
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
โรคอารมณ์สองขั้ว ระยะซึมเศร้า
(Bipolar disorder, depressed type)
โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) เช่น panic disorder
โรคบูลิเมีย (Bulimia nervosa)
อาการปวดทางกายที่มีสาเหตุจากปัญหาด้านจิตใจ
(Pain disorder)
อาการซึมเศร้าที่ร่วมกับโรคทางจิตเวซอื่นๆ
ประเภทของยา ยารักษาอาการซึมเศร้าแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
ยากลุ่ม MAOIร ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase ที่ใช้เผาผลาญ amine neurotransmitters ทําให้ปริมาณ monoamine เพิ่มขึ้น ระดับ serotonin, norepinephrine และ dopamine ในสมองสูงขึ้น กระบวนการนี้ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับการดีขึ้นของอาการซึมเศร้า
ตัวอย่างยาที่ใช้
Phenelzine (Nardil)
Tranylcypromine (Parnate)
Isocarboxazid (Marphan)
Tricyclic antidepressants (TCAs)
ยากลุ่ม TCAs ออกฤทธ์ิยับยั้งการเก็บกลับคืนของ serotonin และ norepinephrine (Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors) เข้าไปในปลายประสาทหลังจากหลั่งสารสื่อประสาทน้ีในระบบประสาทส่วนกลาง ทําให้ serotonin และ norepinephrine เพิ่มขึ้น จึงยกระดับอารมณ์ให้ดีข้ึน
ตัวอย่างยาที่ใช้
Imipramine
Nortriptyline
Amitriptyline
Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
ยากลุ่ม SSRIร ออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บ กลับคืนเฉพาะ serotonin (Selective serotonin reuptake inhibitors) ทําให้ serotonin เพิ่มขึ้นยกระดับอารมณ์ให้ดีขึ้น
ตัวอย่างยาที่ใช้
Paroxetine
Sertraline
Fluoxetine
New Generation เป็นยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่มใหม่
ตัวอย่างยาที่ใช้
Tianeptine
Trazodone
Mianserin
Mirtazapine
2.Anticholinergic drug
ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก
มีฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของ acetyicholine ซึ่งในทางจิตเวชนิยมใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อ รักษาผลข้างเคียงจากยารักษาอาการทางจิตเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มอาการข้าง เดียง extrapyramidal (EPS)
ข้อบ่งใช้
Neuroleptic-induced acute dystonia
Neuroleptic-induced parkinsonism
ชนิดของยา
Benztropine
Trihexyphenidyl
Diphenhydramine
4.Mood stabilizers
ยาควบคุมอารมณ์
เป็นยาที่ใช้รักษา bipolar disorder โดยเฉพาะในระยะ mania มีคุณสมบัติป้องกัน การกลับเป็นซํ้าของโรค (Recurrence) ยากลุ่มนี้ได้แก่ lithium และมักจะใช้ร่วมกับยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant drugs) บางชนิด ได้แก่ valproate, carbamazepine และ lamotrigine ระดับ lithium ที่ให้ผลในการรักษาอยู่ที่ 0.6-1.2 mEg/L
ข้อบ่งใช้
อาการก้าวร้าวรุนแรง (Chronic aggressive)
พฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial behavior)
โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder)
อาการยํ้าคิดยํ้าทํา (Obsessive compulsive disorder)
โรคอารมณ์สองขั้ว ระยะคลุ้มคลั่ง
(Bipolar disorder, mania type)
ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย
Lithium carbonate
Lithium ที่นํามาใช้ในการรักษาผู้ป่วย คือ lithium carbonate (LiCO3) ซึ่งเป็นสารประกอบของเกลือธรรมชาติ สามารถดูดซึมเข้าสู่ ร่างกายภายใน 1-3 ชั่วโมง และขับออกทางไต Lithium จะออกฤทธิ์ ควบคุมอาการคุ้มคลั่ง ต้องได้รับยา 1-2 สัปดาห์ จึงให้ผลในการรักษา เนื่องจากออกฤทธิ์ช้า จึงมีฤทธ์ิการป้องกันการทําร้ายตนเองและทําร้ายผู้อื่น เพราะมีคุณสมบัติต่อต้านความไม่เป็นมิตรและความก้าวร้าว
Lithium ออกฤทธิ์ไปปรับเปลี่ยนสารสื่อ ประสาทบางชนิด ได้แก่ serotonin, dopamine, norepinephrine และ acety (choline ให้เกิด ความสมดุล ทําให้อารมณ์คงที่มากขึ้น มีอาการสงบ ลง lithium มีผลต่อการทํางานหรือการเผาผลาญ ของสารกลุ่ม sodium ใน nerve cells และ muscle cells ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยสงบลง
Carbamazepine (Tegretol)
เป็นยากันชัก นํามาใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทั้งในโรคอารมณ์สองขั้วระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type) และโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาเท่าๆ กับ lithium และ valproate
Carbamazepine ออกฤทธิ์ต่อหลายระบบ เช่น ช่วยเสริมการทํางานของ serotonin เสริมการทํางาน ของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ยับยั้งการทํางาน ของเซลล์ประสาททําให้รู้สึกสงบ คลายความกังวล
Valproate (Depakin, Encorate)
ใช้ยาน้ีในการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood disorders) และใช้ควบคุมอาการชักในโรคลมชัก (Epilepsy) ขนาดที่ใช้ 1,000-2,500 mg/day ระดับยาในเลือดที่เหมาะสม 50-125 mEg/ L
Valproate ช่วยเสริมการทํางานของระบบ GABA โดยเพิ่มระดับของ GABA
Adverse drug reaction (ADR)
ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางจิตเวชอาจเกิดผลข้างเคียงได้หลายชนิด ซึ่งขึ้นกับการตอบสนองของ ผู้ป่วยแต่ละรายกลุ่มอาการที่เกิดจากฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคทางจิตเวช ทําให้ผู้ป่วย ต้องมาพบแพทย์ในแผนกฉุกเฉินท่ีพบได้บ่อยๆ เช่น Extrapyramidal Symptoms, Neuroleptic malignant syndrome, Anticholinergic effects, Hypotension, Lithium toxicity
Neuroleptic malignant syndrome (NMS)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อาการสําคัญ คือ มีอาการกล้าม เนื้อแข็งเกร็งอย่างรุนแรง ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ ระดับการรู้สึกตัว ลดลง การทํางานของระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ มักเกิดในสัปดาห์แรกของการรักษาหรือหลังเพิ่มขนาดยา
Adrenergic side effects
มีความดันโลหิตตํ่าเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ( Orthostatic hypotension)
Extrapyramidal Symptoms (EPS)
2) Akathisia มักเกิดใน 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากการใช้ยา เป็น ความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ ผุดลุกผุดนั่ง ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา มือและแขนสั่น มีอาการคล้าย agitation
3) Parkinsonism มักพบใน 4 สัปดาห์แรกของการใช้ยา มี อาการเหมือนกับคนเป็นโรค parkinson เช่น การเคลื่อนไหว ช้า (Akinesia) เดินขาลาก มีอาการส่ัน (Tremor) กล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง (Rigidity) สีหน้าเฉยเมยไม่แสดงความรู้สึกเหมือนใส่ หน้ากาก (Mask face) กลืนนํ้าลายไม่ลงมีนํ้าลายเต็มปาก
1) Acute dystonia มักเกิด 1-5 วันแรกหลังจากการใช้ยา มี อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) คอบิด (Torticollis) ไปข้างใดข้างหนึ่งหรือลําตัวบิดไปด้านข้างกล้ามเนื้อ ที่หน้า กระตุก ขากรรไกรแข็ง นํ้าลายไหล ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด กลืนลําบาก ตาเหลือกขึ้น ข้างบนตลอดเวลา หลังแอ่น
4) Tardive dyskinesia เกิดจากการใช้ยาในขนาดสูงเป็นระยะ นานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน มีอาการของการเคลื่อนไหวซํ้าๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลิ้น และลําคอ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว หรือควบคุมไม่ได้ มีอาการสําคัญ buccolinguomasticatory triad เช่น ดูดปาก แลบลิ้น เลียริมฝีปาก เคี้ยวปาก แสยะ ใบหน้า กลืนลําบาก