Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ, นาย ศุภโชค อินธรรม เลขที่ 74 ห้อง 2 - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤฎีความสูงอายุเชิงชีวิตภาพ
(Biological theories of aging)
ทฤษฎีเชื่อมตามขาง (Cross – linking of collagen
and other proteins)
ทฤษฎีเชื่อว่าความสูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและอาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่างภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารและของเสียที่เกิดขึ้นหน้าที่การทำงานจึงลดลงสารไขว้ขวาง เช่น คอลลาเจน อิลาสติน และสารที่อยู่ ภายในเซลล์ เมื่อเนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีลักษณะแข็ง แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่น เป็นผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ผนัง หลอดเลือด เลนซ์ในลูกตา ทำให้มีความทึบแสงมากขึ้นและกลายเป็นต้อกระจก (cataracts)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักรคือเมื่อมีการใช้งานมากๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานานเมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่ออวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายจะทำงานเสื่อมลง เช่น หลอดเลือด ข้อเข่า เป็นต้น
ทฤษฎีสะสม (Accumulation Theory)
อธิบายว่า ทฤษฎีนี้เกิดจาก สารไลโปฟัสซิน(Lipofuscin) เป็นสาร์สีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนเชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสียต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จำเป็นในร่างกาย
Age pigment
Fatty pigment
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม เชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้นั่นคือ ครอบครัวใดที่พ่อ
แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อายุยืน ลูกย่อมมีอายุยืนด้วย
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory)
ความสูงอายุเกิด จากการสะสมสารที่เกิดจาก
การเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ
การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง มลพิษ ผุ่น/ควัน ความเครียด อาหาร และรังสี ก่อให้ เกิดสารที่ เรียกว่า อนุมูลอิสระ เมื่อมีอนุมูลอิสระจะเข้าทำลายโปรตีน เอ็นไซด์ และ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทำหน้าที่ลดลง
แนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีอนุมูลอิสระคือ ทฤษฎจำกัดพลังงาน (Caloric Restriction or MetabolicTheory) เชื่อว่าการจำกัด พลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญใน ร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial
theory)
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
ลดบทบาทหน้าที่ในสังคม ครอบครัว
แยกตัวเองออกจากสังคม
มีความสุขและพึงพอใจที่ได้รีบอิสระที่มากขึ้นหลังจากการเกษียณงาน
สังคมและครอบครัวไม่ยอมรับตนเองทำให้เกิด ซึมเศร้า( Depression)
รู้สึกคุณค่าที่มีในตนเองลดลง
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
ผู้สูงอายุจะมีแต่กิจกรรมทำ
รู้สึกว่าตนเองมีบทบาทในสังคม
วิ่งเข้าหาสังคม
ทำกิจกรรมแล้วมีความสุข
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับ บุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีตทีแต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson,s
Developmental Tasks)
การชืนชมกับชีวิตในอดีต
การเตรียมตัวเองเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
การสูญเสียและการเปลี่ยนแปลง
ผู้สูงอายุต้องปรับตัวต่อความสิ้นหวังให้คงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองหาจุดหมายใหม่ของชีวิตและทําบทบาทใหม่เพื่อดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหมาย
การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย
ระยะที่ 8 อายุ 65 ปี ขึ้นไป
Despair
Integrity
ระยะที่ 7 อายุ 25-65 ปี
stagnation
Genertivity
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
การสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีในตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็นคนคนหนึ่งผู้สูงอายุควรหาความสุขทางใจมากกว่าหมกมุ่นกับความจำกัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากความสงอายุและควรมองหรือสะท้อนคิดถึงอดีตทีประสบความสำเร็จอย่างชื่นชมแทนการมองระยะเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต
นาย ศุภโชค อินธรรม เลขที่ 74 ห้อง 2