Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นาฏศิลป์ไทยยุคแรก - Coggle Diagram
นาฏศิลป์ไทยยุคแรก
สมัยอยุธยา
-
การแสดงเริ่มด้วยพิธีบ๔ชาครู เป้นการเบิกโรงแล้วจึงโหมโรม ร้องประกาศหน้าบทร้องขานเอง เป็นการไหว้ครู นายโรงออกรำซัด พร้อมออกคาถาอาคม
การแต่งกาย
สมัยโบราณผู้แสดงเป็นชายล้วน แต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งสนับเพลา เชิงกรอมข้อเท้า นุ่งผ้าหยักรั้ง จีบโจงไว้หางหงส์ มีห้อยหน้า เจียระบาด รัดสะเอว สวมสังวาล กรองคอ ทับทรวง ศีรษะสวมเทริด(เซิด)
-
-
เรื่อง มีการร่ายรำตามบทร้องที่มีเนื้อเรื่อง ระยะแรกเริ่มผู้แสดงเป็นชายล้วน มีตัวละครเพียง ๓ ตัว คือ นายโรง(พระเอก) นาง และตลก หรือจำอวด ซึ่งแสดงเป็นตัวประกอบอื่นๆ ด้วย ตามเนื้อเรื่อง เช่น ฤาษี ม้า ยักษ์ พราน เสนา
-
-
-
-
-
สมัยสุโขทัย
ทราบกันดีว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 ความเป็นปึกแผ่นของราชธานีก็สูญสลายลงอย่างสิ้นเชิง ทั้งในเชิงสัญลักษณ์และในทางปฏิบัติ
ทั้งขุนนางและคนทั่วไปทาสต่างแตกหนีกระจัดกระจายออกไปทั่วทิศ และแน่นอนว่าในจำนวนนี้ย่อมมีศิลปินโขน-ละครจำนวนมากที่กระจัดพลัดพรายกันไปด้วยภัยสงคราม
แต่อย่างไรก็ตาม ในพระราชวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ยังทรงเห็นว่าละครนอกหรือละครพื้นบ้านนั้นไม่น่าจะได้รับผลกระทบใดจากสงครามมากนัก เพราะเป็นของราษฎร เล่นกันแพร่หลายทั่วไปอยู่แล้ว
ส่วนที่อันตราย น่าจะเป็นส่วนของ “ละครใน” ของหลวง ซึ่งเป็นของเฉพาะในราชสำนัก แต่ขณะเดียวกันก็ทรงบันทึกไว้ว่า
“ที่แบบแผนละคอนในไม่สาบสูญไปเสียทีเดียว ก็เพราะมีตัวละคอนหลบหนีไปอยู่ตามหัวเมืองที่ยังเป็นสิทธิ์แก่ไทยได้บ้าง และมีผู้ที่ได้รู้เห็นลักษณะการละคอนใน เช่น เจ้าฟ้าพินทุมวดี พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เป็นต้น”
-
ในหนังสือ ศิลปินแห่งละคอนไทย ธนิต อยู่โพธิ์ ยังเล่าต่อว่า ใน พ.ศ. 2312 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เป็นเวลาสองปี ก็ทรงเสด็จยาตราทัพไปปราบปรามก๊กเจ้านครศรีธรรมราชทางใต้
เจ้าเมืองนครฯ เกรงพระบรมเดชานุภาพ จึงหนีไปพึ่งเจ้าเมืองจนะ หรือเมืองเทพา แต่พระฤทธิเทวา เจ้าเมืองกลัวพระบารมี จึงจับตัวเจ้านครศรีธรรมราชส่งมอบ
-
-
-
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดละครมาก นับแต่แรกที่ได้มาก็โปรดให้มีละครสมโภชพระบรมธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราช และรับสั่งให้หัดละครหลวงขึ้นใหม่ในกรุงธนบุรี โดยถือแบบอย่างในครั้งกรุงเก่าเป็นเกณฑ์ คือมีละครผู้หญิงแต่ของหลวงเพียงโรงเดียว
เรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ กับละครนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน “พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี” ว่า
“ละคอนเจ้านครฯ นี้ดูออกจะตื่นๆ กันอยู่ แต่แรกเริ่มจับตัว (เจ้านครฯ) ได้ก็กล่าวถึงได้ละคอน เมื่อกลับออกไปเป็นเจ้านครฯ ก็กล่าวถึงละคอน จะฉลองพระแก้ว ก็ต้องให้หาตัวเจ้านครฯ เข้ามา เพื่อจะให้นางละคอนลงเรือประพาสและเล่นสมโภชพระแก้ว ถึงให้มาเล่นประชันกับละคอนหลวง ทีละคอนของเจ้าพระยานครฯ จะดีและน่าจะไม่ใช่ละคอนชาตรี ที่จะดีเพราะไม่ได้บ้านแตกเมืองเสียด้วยพม่า ยังคุมโรงกันติดอยู่”
อย่างไรก็ตาม ด้วยเรื่องเล่าที่คลุมเครือเกี่ยวกับอาการเสียพระจริตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ในปลายรัชกาล ความโปรดละครของพระองค์ยังถูกสร้างเป็นเรื่องเล่าที่เกี่ยวเนื่องกับอาการวิปลาสนั้น เช่น ปรากฏเป็นเรื่องเล่าสมัยปลายรัชกาลที่ว่า
ขณะทอดพระเนตรละครอิเหนาตอนเสี่ยงเทียน ครั้นมาถึงตอนนางมะเดหวีสอนนางบุษบาให้กล่าวคำอธิษฐาน อันทำให้นางบุษบาแสดงอาการอิดเอื้อนด้วยความอาย จนนางมะเดหวีต้องเซ้าซี้ให้นางบุษบากล่าวคำอธิษฐานจนได้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ที่ประทับทอดพระเนตรอยู่ ถึงกับแสดงความไม่พอใจในตัวนางมะเดหวีออกมาราวกับว่านางมะเดหวีนั้นเป็นตัวตนจริงๆ ของนางละคร และตรัสสั่งในขณะนั้นว่า
-
(ในเรื่องอิเหนา บุษบาเป็นลูกของนางประไหมสุหรีอัครมเหสีของท้าวดาหา ไม่ใช่ลูกของนางมะเดหวี ซึ่งเป็นเพียงมเหสีรอง)
-
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่าทรงโปรดการเขียนบทละคร และเข้มงวดกับต้นเสียงและผู้แสดงมาก ดังในตอนปลายรัชกาลเช่นกัน ที่ปรากฏเรื่องเล่าว่ามีบทหนึ่งที่ต้นเสียงร้องไม่ได้ คือบทที่ว่า
-
-
-
และยังมีบทละครของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ บางส่วนที่ตกทอดผ่านมาทาง “พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี” ของพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า “ใช้ศัพท์ลึกๆ รุ่มร่ามอยู่”
-
-
“เป็นความในใจเจ้ากรุงธนบุรี สำแดงออกให้เห็นชัดเจนดีนัก ที่เชื่อวิชากล้าหาญ และที่เพลิดเพลินในทางกรรมฐาน รูปร่างความคิดเป็นเช่นนี้”
-