Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Endocrine System ระบบต่อมไร้ท่อ 5d97a2e6c8dc917565344c65 , , , , , , , , ,…
Endocrine System ระบบต่อมไร้ท่อ
ความสำคัญ
ประกอบด้วยต่อมต่างๆในร่างกาย ซึ่งสามารถสังเคราะห์และหลั่งสารที่เรียกว่าฮอร์โมน ที่เป็นสารเคมีในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นหรือกดการทำงานของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเป้าหมาย ที่อยู่ห่างไกลจากเซลล์ที่หลั่งฮอร์โมนนั้นๆ
บทบาทสำคัญ
-
- กระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่น
- ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิงทำงาน
- ปรับสมดุลสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย
- ช่วยในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤต
โครงสร้างและหน้าที่
-
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน
-
ต่อมไทรอยด์
สร้างฮอร์โมน thyroxine (T4) triiodothyronine (T3) ควบคุมการเผาผลาญและการเจริญเติบโต ส่วน C cells เป็นเซลล์ที่อยู่รอบๆ follicles cell หลั่ง calcitonin และ somatostatin calcitonin ทำงานทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง โดยไปยับยั้งการทำงานของ osteoclasts PTH ทำงานร่วมกับ calcitonin ในการควบคุมระดับแคลเซียม
Thyrotropin-releasing hormone (TRH) สร้างและเก็บฮอร์โมนในไฮโปทาลามัส เมื่อหลั่งออกมาจะกระตุ้นให้หลั่ง TSH ระดับ TRH สูงขึ้นได้จากการกระตุ้นโดยความเย็น ความเครียด และการลดลงของระดับ T4
TSH จะจับตัวรับในเยื่อหุ้มเซลล์ของ follicle cell มีผลให้ต่อมไทรอยด์หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน และทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้น (hyperplasia) ถ้าระดับฮอร์โมนมากเกินไปจะยับยั้งการหลั่ง TRH,TSH ไทรอยด์ฮอร์โมนจึงลดลง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระดับไอโอไดด์ ฤทธิ์ของไทรอยด์ฮอร์โมนทำให้ร่างกายเจริญเติบโต มีผลต่อเมตาบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน กลูโคส มีผลต่อการผลิตความร้อน การใช้ออกซิเจนในร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทของตีงอ่อนและทารก
ต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมพาราไทรอยด์สร้างฮอร์โมน PTH เพื่อควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สูงขึ้น และลดระดับฟอสเฟต เมื่อ ionizing calcium ลดลงจะกระตุ้นการหลั่ง PTH ส่วนวิตามินดี ทำหน้าที่เป็นโคแฟคเตอร์ให้ PTH ในการดูดกลับแคลเซียมและฟอสฟอรัส PTH มีฤทธิ์ในการปล่อยแคลเซียมออกจากกระดูกและดูดกลับแคลเซียม
ตับอ่อน
- alpha cell สร้าง glucagon
- beta cell สร้างอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง
- delta cell สร้าง somatostatin
- pancreatic polypeptide (PP) สร้างฮอร์โมนที่เป็นโพลีเปบไทด์
อินซูลิน สร้างออกมาอยู่ในรูป proinsulin ซึ่งประกอบด้วย A peptide และ B peptide เชื่อมกันด้วย C peptide การหลั่งอินซูลินถูกควบคุมด้วยระบบกลูโคสในเลือด กรดอะมิโน กลูคากอน cholecystokinin secretin และระบบประสาท
อวัยวะสืบพันธุ์
เพศหญิง
รังไข่ สร้างฮอร์โมน estrogen, progesterone
-
-
อวัยวะอื่นๆ
-
กระเพาะอาหารและลำไส้ มีกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ได้แก่ gastin, secretin, cholecystokinin
-
-
ตับ สร้างสารคล้ายอินซูลิน ( Insulin-growth factor 1,2 ) ควบคุมการเจริญของเซลล์ในร่างกาย
รก สร้างhuman chorionic gonadotropin (HCG) เอสโตรเจน โพรเจสเตอโรน relaxin lactogen และยังควบคุมการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในตัวอ่อน การเจริญของเต้านม
กลไกควบคุมฮอร์โมน
ต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมน เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมายและกระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายทำหน้าที่ตามชนิของฮอร์โมนนั้นๆ ฮอร์โมนทุกชนิดจะมีลักษณะ
- มีการหลั่งและจังหวะการหลั่ง เป็นลักษณะ 1)แบบจังหวะ (diurnal pattern) 2)แบบเป็นจังหวะ (pulsatile and cyclic pattern) 3)การหลั่งขึ้นอยู่กับระดับสารในเลือดเป็นตัวกระตุ้น เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียมหรือ ฮอร์โมน
- ควบคุมโดยระบบย้อนกลับ (Feedback mechanism) ทั้งย้อนกลับทางบวกและลบ เพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมภายใน
- ฮอร์โมนมีผลต่อเซลล์เป้าหมาย โดยมีตัวรับที่จำเพาะกับฮอร์โมน ผลที่เกิดขึ้นช่วยให้เซลล์ทำหน้าที่ได้
-
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน
-
การควบคุมโดยระดับฮอร์โมน โดยฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งจะควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่ออีกชนิดหนึ่ง
ควบคุมโดยระบบประสาท เช่น การควบคุมการหลั่งอินซูลินเกิดได้หลายทาง จากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับ cortisol หรือเกิดจากการกระตุ้นตับอ่อนจากระบบประสาท
กลไกลการออกฤทธิ์
การออกฤทธิ์ต้องอาศัยตัวรับ (hormone receptors) ซึ่งทำหน้าที่จับกับฮอร์โมนและกระตุ้นเซลล์ที่เป็นเป้าหมาย ฮอร์โมนมีผลโดยตรง (direct effect) ต่อการทำหน้าที่ของเซลล์และผลทางอ้อม (passive effect) เช่น เมืออินซูลินจับกับตัวรับจะมีผลโดยตรงผ่านกลูโคสผ่านเข้าเซลล์กล้ามเนื้อและมีผลทางอ้อมต่อเซลล์ของต่อมน้ำนมให้เซลล์เหล่านี้ไวต่อฮอร์โมน prolactin
ฮอร์โมนที่ละลายในไขมันสร้างจากโคเลสเตอรอล ซึ่งรวมถึงฮอร์โมน androgen, estrogen,progestins, glucocorticoids, ไทรอยด์ฮอร์โมน วิตามินดี และ retinoid ฮอร์โมนเหล่านี้มีขนาดเล็ก ละลายได้ในไขมันจึงเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยวิธีการแพร่ ตัวรับของสเตียรอยด์ฮอร์โมนจะอยู่ในไซโตพลาสซึมและนิวเคลียส มีผลโดยตรงต่อการแสดงออกทางพันธุกรรม
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
บรรณานุกรม : อรพินท์ สีขาว. (2566) พยาธิสรีรวิทยา : สำหรับนักศึกษาพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.