Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G - Coggle Diagram
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G
5G เป็นเทคโนโลยีเซลลูลาร์ไร้สายยุคที่ 5 ซึ่งให้ความเร็วในการอัพโหลดและดาวน์โหลดที่สูงขึ้น ให้การเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอมากขึ้น และให้ศักยภาพที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเครือข่ายยุคก่อนหน้านี้ 5G นั้นเร็วกว่าและเชื่อถือได้มากกว่าเครือข่าย 4G ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่างมาก และอาจเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแอปพลิเคชัน เครือข่ายสังคม และข้อมูลได้ เทคโนโลยีต่างๆ เช่น รถยนต์ที่ขับด้วยตนเอง แอปพลิเคชั่นเกมขั้นสูง และสื่อไลฟ์สตรีมที่ต้องใช้การเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วสูงที่เชื่อถือได้อย่างสูง จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเชื่อมต่อ 5G
5G นั้น ได้รับการยกว่าจะมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน มากกว่าแค่การเป็นเทคโนโลยีเซลลูลาร์รุ่นล่าสุด เพราะความเร็วของการเชื่อมต่อที่เหนือกว่าที่ผ่านมาชนิดเทียบกันไม่ติด จะเป็นตัวเชื่อมต่อให้โลกเราก้าวเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนของจริง
และนี่คือ 5 ตัวอย่างของวิถีชีวิตที่จะเปลี่ยนไป จากมุมมองของผู้บริหารองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ในทางทฤษฎี ความเร็วในการใช้งานของ 5G ในรูปแบบ fixed wireless นั้นสูงกว่าบรอดแบนด์แบบที่ใช้กันในปัจจุบัน
และนั่นอาจทำให้ผู้บริโภคได้ใช้อินเตอร์เน็ตในราคาถูกลงด้วย เพราะผู้ให้บริการบรอดแบนด์แบบดั้งเดิม ก็อาจต้องลดค่าบริการแพ็คเกจลงเพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคใช้งานต่อ
นั่นหมายความว่าในอนาคต เราไม่จำเป็นต้องเรียกช่างเข้ามาเจาะผนัง เพื่อโยงสายเคเบิลหรือไฟเบอร์ให้วุ่นวายอีกต่อไป เพียงแค่ติดตั้งเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณจากสถานีฐาน และส่งตรงเข้าถึงบ้านได้ทันที
ซึ่งมีแนวโน้มที่ระบบนี้จะถูกนำมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณนอกเมือง ซึ่งการติดตั้งที่ตั้งเซลล์เพิ่มบนสถานีฐานที่มีอยู่แล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการวางสายเคเบิลหรือไฟเบอร์
สตีฟ โคนิก รองประธานฝ่ายวิจัยของสมาคมเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค อธิบายว่าการมาของ 5G จะไม่ได้ทำให้บรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตแบบเดิมหมดไป เพราะยังมีหลายๆกรณีที่เหมาะกับการส่งสัญญาณผ่านสายมากกว่า แต่สำหรับการใช้งานที่บ้านทั่วไป ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาและเร่งติดตั้งโครงสร้างเครือข่าย 5G ทำให้ในบางพื้นที่ได้มีการทดลองใช้เทคโนโลยี 5G นี้แล้ว เช่นเดียวกับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ จึงเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤต ที่ทำให้หลายฝ่ายได้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ผ่านการใช้งานจริง และจะเป็นตัวเร่งให้ 5G เกิดขึ้นจริงเร็วยิ่งขึ้นไปอีก จนกลายเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน สร้างประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อย่างที่ IHS Markit คาดการณ์ว่า ในปี 2035 เครือข่าย 5G จะนำมาซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 13.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และในเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา ทาง World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำสมุดปกขาว (white paper) เรื่อง “ผลกระทบของ 5G: การสร้างคุณค่าใหม่สู่อุตสาหกรรมและสังคม” เผยแพร่ พร้อมหยิบยก 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้พร้อมรองรับการเชื่อมต่อเครือข่าย 5G และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพต่อไป
ระบบ 5G เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่จะเปลี่ยนโลก ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1980 คาดว่า เทคโนโลยี 5G จะปรับปรุงเครือข่ายมือถืออย่างมีนัยสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อและโต้ตอบได้มากขึ้น การเชื่อมต่อข้ามเครือข่ายจะปลดล็อกศักยภาพที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ธุรกิจซอฟต์แวร์ และหุ่นยนต์ ซึ่งนำเครือข่าย 5G มาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิมุเลชัน จำลองการตั้งค่าในไลน์ประกอบหุ่นยนต์จริงด้วยคอมพิวเตอร์ จากการทดลองที่โรงงานอเมริกาเหนือ พบว่าสามารถลด Part Per Million (PPM) ลงได้ถึง 88% ลดระยะเวลาการผลิต 33% ต่อหนึ่งชิ้นงาน และลดจำนวนพนักงานในสายการผลิตได้ 50%
Delair
Photo: Delair
ผู้ผลิตอากาศยานไร้คนขับสัญชาติฝรั่งเศส เปลี่ยนข้อมูลทางกายภาพเป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับบริหารจัดการ ซึ่งประสบความสำเร็จในการลดความเสี่ยงด้วยการรับส่งภาพวีดิโอแบบเรียลไทม์ ลดค่าใช้จ่ายในการบิน และเพิ่มผลผลิต
โครงสร้างเครือข่าย 5G นำมาซึ่งคุณสมบัติหลัก 5 ข้อ ได้แก่
Enhanced mobile broadband (eMBB): เพิ่มศักยภาพการรับ-ส่งข้อมูล (สูงสุด 10 Gbps) นำไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย การให้บริการ Real-time Augmented Reality เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) แอปพลิเคชันด้านโดรนและ Mixed reality รวมถึงธุรกิจ content streaming
Ultra-reliable low latency communication (uRLLC): การใช้งานที่ต้องการความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมาก รวมทั้งมีความหน่วง (latency) ในการส่งข้อมูลต่ำในระดับ 1 มิลลิวินาที (ระบบ 4G ในปัจจุบันรองรับความหน่วงเวลาในระดับ 10 มิลลิวินาที) ซึ่งความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G เหมาะกับการใช้งานระบบที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การผ่าตัดทางไกล การควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน การควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ ยานยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น
Security: ความปลอดภัยสูงนำสู่การเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ สนับสนุนการใช้งานที่ไม่ต้องการให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงงานที่ต้องการความแม่นยำสูง
Massive-Machine Type communications (mMTC): การใช้งานที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน โดยมีปริมาณมากถึงระดับล้านอุปกรณ์ต่อตารางกิโลเมตร โดยการส่งข้อมูลของอุปกรณ์ในการใช้งานลักษณะนี้ จะเป็นการส่งข้อมูลปริมาณน้อย ๆ ที่ไม่ต้องการความเร็วสูง ซึ่งความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G เหมาะสมกับการทำงานของอุปกรณ์จำพวก IoT
Power efficiency: ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงข่ายนำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกลงและการเชื่อมต่อ IoT จำนวนมาก
Nokia
Photo: Nokia
ที่ผ่านมา โรงงานในเมืองโอลู ประเทศฟินแลนด์ ของบริษัท Nokia ใช้สายแลน (Lan Cable) ในการเชื่อมต่อเครื่องจักรกลเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนสายการผลิต จะเกิดค่าใช้จ่ายในการเดินสายใหม่ทุกครั้ง Nokia จึงนำคุณสมบัติของ 5G มาใช้กับหุ่นยนต์ลำเลียง พัฒนาระบบลำเลียงวัสดุอัตโนมัติ ซึ่งทำให้สามารถรับส่งชิ้นงานระหว่างสายการผลิตได้โดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว