Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Systemic Lupus Erythematosus (SLE) - Coggle Diagram
Systemic Lupus
Erythematosus (SLE)
ลักษณะอาการทางคลินิก
มีไข้ หนาวสั่น อุณหภูมิ 38.3 องศาเซลเซียส
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อแอนติเจน ที่เป็นสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายเพื่อกำจัดแอนติเจน นั้นออกจากร่างกาย
ปัสสาวะขุ่น มีปัสสาวะออก 45 มล./ชั่วโมง
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (E.Coli) โดยเชื้อแบคทีเรียอาจเดินทางผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังท่อไตหรืออาจเกิดจากแบคทีเรียในปัสสาวะที่ตั้งทิ้งไว้ อาหารและยาบางชนิดที่รับประทาน เช่น amorphous ของฟอสเฟต ยูเรต และคาร์บอเนต และทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะและไตได้ เชื้อมักเริ่มต้นจากการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะแล้วแพร่กระจายไปที่ไต
อาเจียน
เนื่องจากการติดเชื้อที่ไตอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
แขนและขาบวม
เกิดจากอาการทางไต เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ
ผลการตรวจเลือดพบ Creatinine 5.11 mg/dl
Creatinine บ่งถึงการทำงานของไต ซึ่งถ้าหากมีค่าสูงกว่าปกติจะแสดงถึงการทำงานของไตที่แย่ลง
ผลการตรวจเลือด พบ Serum BUN 81.1 mg/dl
Blood urea nitrogen (BUN) เป็นการวัดระดับปริมาณของเสีย ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวข้องกับไต มีการคั่งของสารชนิดนี้ในร่างกาย BUN สูง คือมีโอกาสเป็นไปได้ว่าระบบการทำงานของไตมีปัญหา
ผลการตรวจปัสสาวะพบ protein 3+ occult blood 2+ RBC 30-50 cells/HD
การพบเม็ดเลือด แดง หรือโปรตีนปริมาณมาก สามารถบอกได้ว่าไตมีการอักเสบ
ผลการตรวจการทำงานของไต
eGFR 14.29 ml/min/1.73 m2
การตรวจค่าไตระยะที่ 5 eGFR < 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม. มี การทำงานของไตอยู่ภาวะไตวาย
ความผิดปกติทางพยาธิสภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ตอบสนองต่อแอนติเจนที่เป็นสิ่งแปลกปล่อมจากภายนอกที่เข้าสู่ร่างกายเพื่อกำจัดแอนติเจนนั้นออกจากร่างกาย และกลไกนี้จะไม่ตอบสนองต่อแอนติเจนของร่างกายตนเอง เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในภาวะทนต่อแอนติเจนของตนเอง (self-tolerance) เมื่อภาวะ self-tolerance หมดไปก็จะเกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันกับแอนติเจนของร่างกายตนเอง เกิด auto-immunity ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติ หากเกิดขึ้นรุนแรงมาก จะเกิดผลเสียต่ออวัยวะ ทำให้ร่างกายเกิดเป็นโรคที่เรียกว่า auto -immune disease
กลไกพยาธิสภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้าง auto-antibody ต่อต้าน สาร self-antigen ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากกลไกการย่อยสลายของเซลล์ ในร่างกายตามปกติ
เกิดการยึดเกาะของสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจาก ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากปฏกิริยาระหว่าง auto-antibody กับ self-antigen ไปเกาะติดตามเนื้อเยื่อเนื้อไต ทำให้เกิดการอักเสบร่วมด้วย
สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง lymphocytotoxic antibody กับ self-antigen ของ Tlymphocyte สามารถหลุดไปเกาะติด lymphocyte ตัวอื่น ๆ จะขัดขวางการทำหน้าที่ของ Iymphocyte ตัวนั้น ๆ หรืออาจหลุดไปเกาะที่ไตจะทำให้ไตอักเสบ (nephritis)
การวินิจฉัยความผิดปกติ
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
การตรวจวิเคราะห์ เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่จับตัวกับออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง
ตรวจการทำงานของตับและไต (LFT & RFT)
การตรวจเลือดสามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตับและไต ซึ่งโรคลูปัสอาจทำให้อวัยวะเหล่านี้มีการทำงานผิดปกติได้
การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA)
การตรวจตัวอย่างปัสสาวะอาจแสดงให้เห็นว่ามีโปรตีนสูงขึ้นหรืออาจพบเม็ดเลือดได้
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ
การตรวจนี้เป็นการใช้คลื่นเสียงในการประมวลผลเป็นภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจได้ในทันที ช่วยในการตรวจความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจและส่วนอื่น ๆ ได้
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดปกติ
พันธุกรรม ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ โอกาสที่ลูกหลานคนในครอบครัวจะป่วยเป็นโรคนี้ก็มีมากขึ้น
สภาพแวดล้อม ที่สำคัญก็คือแสงแดด เพราะจะเป็นตัวไปกระตุ้นทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ เนื่องจากแสงแดดที่ไปกระทบกับผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ DNA รวมถึงการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่างๆ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน พบในเพศหญิง มีโอกาสที่จะกระตุ้นโรคนี้มากกว่าในเพศชาย ส่งผลทำให้ผู้หญิงมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ โรค SLE สูง
เกิดจากการใช้ยา และสารเคมีต่าง ๆ หรือยาประเภทควบคุมความดันเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการชักยาปฏิชีวนะ การใช้ยาบางตัว เช่น methyldopa, procainamide, hydralazine, isoniazid, chlorpromazine