Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พ.ร.บ.สถานพยาบาล - Coggle Diagram
พ.ร.บ.สถานพยาบาล
ฉบับที่ 1
-
ฉบับ1 หมวด 1
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอันจะเป็นการจํากัดเสรีภาพในการประกอบกิจการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
-
-
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"สถานพยาบาล" หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ โรคศิลปะ
-
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง
มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการสถานพยาบาล" ผู้บริโภคเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบโรคศิลปะประกอบโรคศิลปะ และผู้ประกอบวิชาชีพโดยคำแนะนำของสภาวิชาชีพ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้น
(2) ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ดำเนินการ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 3 อยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพันจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นซึ่งแค่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
-
1) ตาย
2) ลาออก
3) รัฐมนตรีให้ออก
4) เป็นบุคคลล้มละลาย
5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
6) พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ดำเนินการในกรณีที่ใด้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในฐานะนั้น
7) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็น โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
-
มาตรา 11 คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ความเห็นและให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปนี้
-
มาตรา 12 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น
เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้ ให้นำมาตรา 10 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 13 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
ที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 12 มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
-
-
มาตรา 56 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 13 ต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 57 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ต้องโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้
-
มาตรา 58 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 37 หรือมาตรา 45 หรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 59 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 40 หรือมาตรา 43 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตราที่ 49 เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งหรือผู้ดำเนินการแล้วแต่กรณีภายในระยะเวลาที่สมควร
มาตรา 60 ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดำเนินการตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 61 ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ แต่ไม่แจ้งภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๓๐ มาตรา 42 หรือมาตรา 44 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
-
มาตรา 63 ผู้ดำเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 34 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 64 ผู้ดำเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 34 (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตราที่ 50ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้รับดำเนินการกระทำหรือละเว้นการกระทำใดใดจึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงหรือไม่เป็นปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรการที่ 45 ตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่มาตราที่ 49 อนุญาตให้มีอำนาจออกคำสั่งปิดสถาบันพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 65 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (2) หรือ มาตรา 35 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 66 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
มาตราที่ 51 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือดำเนินการขาดคุณสมบัติมาตราที่ 17 หรือมาตราที่ 25 แล้วแต่กรณีคณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถาบันพยาบาลได้
มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืน ทั้งนี้ จนกว่าจะระงับการโฆษณาดังกล่าว
มาตรา 69 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 44 วรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 70 ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาล ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา 71 ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลนั้นถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมีนบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา 72 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดำเนินการตามมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
มาตรา 73 ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ผู้ใดยินยอมให้ผู้อื่นจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารการตรวจโรค เอกสารแสดงผลการรักษา หรือเอกสารกรณีอื่นอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 74 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลกรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอม
มาตรา 75 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีในเขตกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาค โดยให้ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายอย่างน้อยหนึ่งคน
มาตรา 76 ใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล และใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2504 ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา 77 บรรดากฎกระทรวง ที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2504 และยังใช้บังคับอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแยังกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
(ฉบับที่4)
-
-
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “สถานพยาบาล” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ
โรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้อนุญาต” ในมาตรา 4
แห่งพระราชบัญญัติ
สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสนับสนุน
บริการสุขภาพมอบหมาย”
-
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถานพยาบาล” ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เป็น
กรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้แทนสถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล
มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 7 มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจาก
ตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารง
ตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่”
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 11 คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษา ให้ความเห็น และให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรี
หรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การออกกฎกระทรวงหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล การดําเนินการสถานพยาบาล การปิด
สถานพยาบาล หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
(3) การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล
(4) การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดําเนินการสถานพยาบาล
(5) การกําหนดลักษณะและมาตรฐาน หรือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้น
ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และการแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสถานพยาบาลดังกล่าว
(6) การกําหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อ ที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
(7) เรื่องอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตมอบหมาย”
มาตรา 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 14/1 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
พ.ศ. 2541 “มาตรา 14/1 สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยทางการแพทย์ และสาธารณสุข หรือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพ ทางการแพทย์และสาธารณสุข
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่บุคคลเช่นว่านี้จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดําเนินการตามประเภทใด หรือสถานพยาบาลที่ให้บรการทางการแพทย์ใด ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง”
มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 255 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ณ สถานพยาบาลนั้น
(1) ชื่อสถานพยาบาล
(2) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชพในสถานพยาบาล
(3) อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง
มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 33 รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32
มาตรา 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ "มาตรา 33/1 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือสาธารณภัยตามกฎหมาย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับกรรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล ตามมาตรา 36
มาตรา 15 ยกเลิกความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ "มาตรา 34 ให้ผู้ดำเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา
ชั้น หรือแผน ที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาต หรือมิให้บุคคลอื่นประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (2) ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับ
การประกอบวิชาชีพของตน (3) ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้เว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (4) ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะอันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล"
มาตรา 16 ให้ยกเลิกความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 36 ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา 33/1 ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาตามความเหมาะสมและความจำเป็น การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด"
มาตรา 17 ให้ยกเลิกความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 38 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใด ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล นอกจากชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลตามที่ปรากฎในใบอนุญาต ต้องได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาหรือประกาศจากผู้อนุญาต หากชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลโดยใช้ข้อความ เสียง หรือภาพอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล จะกระทำมิได้ ค่าใช้จ่ายที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน"
มาตรา 18 ให้ยกเลิกความในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 57 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของ ที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้"
มาตรา 19 ให้ยกเลิกความในมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 62 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 33 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 20 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 68 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่นที่ฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศ ทั้งนี้จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 38 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้ระงับการโฆษณา หรือประกาศ ทั้งนี้ จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว"
มาตรา 21 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการ หรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย"
-
-
ฉบับที่ 3
-
-
มาตรา 3 แก้ไขคำว่า สถานพยาบาล หมายถึง สถานที่รวมถึงยานพาหนะ การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
มาตรา 4 แก้ไขคำว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายถึง ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แต่บุคคลเช่นว่านั้นจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามประเภท
มาตรา 6 เเก้ไขเพิ่มเป็นรายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบ โรคศิลปะซึ่งประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น
มาตรา 7 แก้ไขเป็นควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
-