Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Concept Mapping - Coggle Diagram
Concept Mapping
ผู้จัดทำ
นายธงชัย เดือนแจ้ง
นางสาวรัตนา สาหลาด
นายสิทธิพจน์ อ้นฟัก
นายอนุชา วาประโคน
Information Technology for education?
ความหมาย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ความเป็นมา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่าง ๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ทดลองดำเนินการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538 ได้แก่
โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท
โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความสำคัญ
การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น เริ่มด้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในปัจจุบัน
ระบบสารสนเทศเพื่อการสอน
ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
การประชุมทางไกลผ่านระบบจอภาพ
ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
ระบบสารสนเทศเอกสาร
Technology in Education?
การเรียนการสอน
การเรียนออนไลน์/LMS
E-learning
ThaiMOOC
Google Workspace
Classroom
Meet
Jamboard
Microsoft Teams
Adobe Captivate Prime
Cornerstone OnDemand
Oracle Learning Cloud
โครงการสอนออนไลน์ Project14
การเรียนรู้แบบเสมือนจริง
VR
Interactive Simulation
สสวท.
การเรียนรู้ด้วยเกมส์
Board Game online
Balloon Racing
Organic RX
Quizziz
Kahoot!
Duolingo
Memrise
การสอนแบบผสมผสาน
การบริหารงานในสถานศึกษา
กลุ่มบริหารวิชาการ
ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC)
ระบบงานทะเบียน-วัดผล (SGS)
ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
การบริหารงบประมาณ
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP)
ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
ระบบข้อมูลสินทรัพย์ สพฐ. (OBEC asset)
ระบบเบิกใบเสร็จรับเงิน
ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณ
กลุ่มบริหารทั่วไป
ระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (School MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา
MOE Safety center
กลุ่มบริหารงานบุคคล
ระบบบริหารงานบุคคล (HRMS)
Innovation in educational administration?
ประเภทที่ 1 นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการเชิงวิชาการ
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
การจัดการเรียนรู้แบบ Blended Learning
การจัดการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning
หลักสูตรฐานสมรรถนะ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้
การพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ
การประเมินผลการศึกษาแบบ PISA
ประเภทที่ 2 นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการเชิงบริหาร
การกระจายอำนาจและภารกิจให้สถานศึกษา
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการสถานศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการสถานศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา
การกำกับติดตามและประเมินผลสถานศึกษา