Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครไทยประเภท ละครรำ, images - 2023-12-08T102540.885, images - 2023-12…
ละครไทยประเภท ละครรำ
เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด ละครอิงประวัติศาสตร์ ละครเพลง ละครเวที ละครวิทยุ ละครโทรศัพท์
รูปแบบการแสดง ค่าเนินเรื่องราว เป็นศิลปะที่อาจเกิดจากการนำภาพจากจินตนาการ ประสบการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ มาผูกเป็นเรื่อง มีเหตุการณ์เชื่อมโยงเป็นตอนๆ ตามลำดับ โดยดำเนินเรื่องราวจากผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายต่อผู้ชม ละครไทยเป็นละครที่มีรูปแบบการแสดงดังนี้ แสดงหลายลักษณะวิวัฒนาการตามยุคสมัยจัดประเภทละครไทย
-
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
นางสุวรรณ ชลานุเคราะห์
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ ๑พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นละครหลวง สำนักพระราชวังรุ่นสุดท้าย ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนาฏศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและแบบราชสำนัก เคยแสดงเป็นตัวเอกในละครแบบต่างๆให้กรมศิลปากรมาแล้วมากมายหลายเรื่องหลายตอน บทบาทที่ได้รับการยกย่องและนิยมชมชอบจากผู้ชมมากที่สุด “ ตัวพระ ” เข่น อินเหนา สังข์ทอง พระไวย ไกรทอง สัตยวาน บางครั้งก็แสดงเป็น “ นางเอก ” เช่น ละเวงวัลลา เป็นต้น เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนท่ารำนาฏศิลป์ไทย และละครรำไว้ได้มากที่สุดเคยแสดงและนำคณะไปแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลายประเทศ ได้ถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ให้กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ หลายแห่ง เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมคุณธรรมและอุทิศตนเพื่อประโยชน์ให้แก่สาขาวิชาชีพมาเป็นเวลากว่า๔๐ ปี จนเป็นที่ยอมรับกันในวงการนาฏศิลปินว่า เป็นผู้มีความสามารถสูงยิ่งต่อเนื่องมาตลอด นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ - ละครรำ) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
-
-
-
-