Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไทย, image, image,…
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทย
ตัวอย่างการแสดง
มโนราห์
หรือโดยย่อว่า โนรา เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มโนราห์มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรี ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
อาจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์
โนราธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ เป็นชาวจังหวัดสงขลา เกิดวันที่ 19 กันยายน 2502 อายุ 63 ปี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ “โนรา” ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์และศิลป์ทางด้านมโนราแก่นิสิต และเยาวชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีผลงาน อาทิ ศิลปินโนราของสมาคมชาวปักษ์ใต้แห่งนครซิดนีย์,
ลักษณะทั่วไป
ไทย
เป็นประเทศที่มีภูมิภาคประเทศ ภูมิอากาศแต่ละพื้นที่ไม่เหมืนกัน ทำให้แต่ละพื้นที่มี ความเชื่อ ภาษา ความเป็นอยู่แต่ละภาคแตกต่างกัน ทำให้ศิลปะการแสดงแตกต่างกันออกไป เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกและลีลาท่าทางการแสดงแตกต่างกันออกไป
เครื่องดนตรี
วงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงโขนคือวงปี่4พาทย์ ซึ่งประกอบไปด้วย ปี่ ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน แต่หากแสดงในงานใหญ่ ๆ ที่ต้องใช้จํานวนมากในการแสดงก็อาจจะมีการขยายวงปี่4พาทย์ เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือวงปี่พาทยเ์ครื่องใหญ่ก็ได้ แต่ในบางยุคสมัยก็อาจจะมีการจัดเป็นวงปี่พาทย์เครื่องตามแต่ฐานะของผู้จัดงาน
การแต่งกาย
การแต่งกายในการแสดงมโนราห์
เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น
ที่มา / อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C_(%E0%B8%A3%E0%B8%B3
)
ประเทศลาว
ตัวอย่างการแสดง
ลำลาวหรือหมอลำ
เป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของลาว โดยนักร้องเป็นผู้เล่าเรื่อง ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก แต่ก็ใช้เครื่องดนตรีอื่นประกอบได้ การแสดงแบบเดียวกันนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรียกหมอลำ แต่ในลาว คำว่าหมอลำจะเน้นที่ตัวผู้ขับร้อง
ลักษณะทั่วไป
นาฏศิลป์ในประเทศลาว
เป็นนาฏศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวซึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย และการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ มีทั้งนาฏศิลป์ในราชสำนัก และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
การแต่งกาย
การแต่งกายในการแสดงลำลาว
ผู้หญิงลาว จะนุ่งผ้าซิ่นมีลักษะ คล้ายผ้านุ่งของไทยที่ทอเป็นลวดลายเชิงผ้าเป็นสีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป แะเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ห่มสะไบเฉียงพาดไหล่ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้ สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำ
นอกจากไม้เคาะประกอบการร่ายรำแล้ว ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้นำวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่บรรเลงลำนำ ทำนองเพลงให้ไพเราะ
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
น้อยมะนีโช แก้วสี
อยมณีโชคแก้วสีเป็นศิลปินผู้ทรงคุณค่า จากประเทศ สปป.ลาว ที่โดดเด่นทางด้านเพลงหมอลำหรือลำลาว มีพรสวรรค์ด้านนี้ตั้งแต่อายุน้อยๆได้เข้าประกวดร้องเพลงระดับเล็กๆจน ในปัจจุบัน มีชื่อเสียงโด่งดัง ในประเทศลาวและประเทศรอบข้าง
ที่มา /อ้างอิง
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
ประเทศเมียนมาร์
ตัวอย่างการแสดง
หุ่นสาย
มีต้นกำเนิดประมาณ 500-600 ปีของพม่า ทำจากไม้แกะเป็นชิ้นส่วนต่างๆ แล้วนำมาร้อยต่อกันเป็นตัวหุ่น และใส่สายสำหรับเชิดตามลำตัว แขน และขาเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเป็นท่าทางตามบทบาทการแสดง ตัวหุ่นใช้ไม้เนื้อดีในการทำ ใช้เส้นผมจริง โดยช่างจะแกะสลักเส้นสายลวดลายด้วยความบรรจง องค์ประกอบของหุ่นจะต้องเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระโดยการแยกคอออกจากส่วนหัว และส่วนประกอบอื่นๆ จะต้องได้สัดส่วนตามกายวิภาค
การแต่งกาย
การแต่งตัวของหุ่นสาย
จะใช้สีสันที่สดใสร่วมกับแผ่นโลหะที่เป็นประกาย แต่งกายเหมือนกับคนจริงๆที่สำคัญคือหุ่นแต่ละตัวจะมีเส้นสายในการชักที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากผู้ชักเปลี่ยนตัวละครก็จะต้องเริ่มเรียนรู้ตัวหุ่นใหม่ด้วย
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
นิมิตร พิพิธกุล
นิมิตร พิพิธกุล ชื่อเล่น หนืด จบการศึกษา ปริญญาโทร ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ มีผลงานที่ผ่านมา อาทิ เป็นแอ็คติ้ง โค้ชจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, ออกอัลบั้มชื่อว่า อุบะมาลี
เครื่องดนตรี
แน คือ ปี่พม่า
ปาลไว คือ ขลุ่ย
บยอ คือ กลอง
คยีแวง คือฆ้องวง
ลินกวิน คือ ฉาบ
ซิ คือฉิ่ง
ลักษณะทั่วไป
ศิลปะของพม่านั้น จะเป็นไปตามยุคสมัยซึ่ง ศิลปะสมัยปยู จะได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปะอมราวดี ที่มีความเก่าแก่ทางดเาน ของวัฒธรรมทางพุทธศาสนา โดยมีการแพร่หลาย มาจากประเทศอินเดีย และมาในภาคกลางของพม่า โดยจะเริ่มมีมาตัแต่ พุทธศตวรรษที่ 11 หรือราวๆพุทธศตวรรษที่12-13
ที่มา / อ้างอิง
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?sj_id=56%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA
ประเทศอินโดนีเซีย
ตัวอย่างการแสดง
ระบำบารอง
" เป็นการแสดงที่เอกลักษณ์ของชาวเกาะบาหลี อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวเกาะบาหลี มาช้านาน เป็นนาฏกรรมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบาหลี การร่ายรำมีท่าทีอ่อนช้อยงดงาม ประกอบด้วยเสียงเพลงและดนตรีพื้นเมืองไพเราะมาก นาฏกรรมที่นำมาแสดงมีหลายเรื่องราวหลายตอนในตำนาน รามายาณะ ที่ถูกนำมาสร้างสรรค์ แสดงท่าทางให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมบาหลี มีการใช้หน้ากากและหุ่นเป็นตัวละคร โดยเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์
การแต่งกาย
ตัวละครเด่นๆมี 2 ตัว คือ บารอง สัตว์ในจินตนาการคล้ายสิงโตประดับด้วยผ้า และเครื่องประดับหลายสีมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่จึงมีน้ำหนักมากต้องใช้คเชิด 2 คน และ สองคือแม่มดรังตา เป็นปีศาจหญิงแก่น่าเกลียดน่ากลัว ไม่สวมเสื้อ เขี้ยวโง้ง
เครื่องดนตรี
อังกะลุง
เป็นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซีย ประกอบด้วยกระบอกไม้ไผ่ 2-4 กระบอกห้อยอยู่ในโครงไม้ไผ่ มัดด้วยเชือกหวาย กระบอกจะถูกเหลาและตัดอย่างระมัดระวังโดยช่างฝีมือระดับสูง
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ฮายัม วูรุก
เกิดในปี 1256 หรือตรงกับปี ค.ศ.1334 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ภูเขสไฟเคลุดระเบิด ปูลังกาแย้งว่านี่เป็นสัญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ที่บาตารากูรูนาตา(ชื่อภาษาชวาสำหรับพระศิวะมหาเดวา) ได้แสดงตัวตนบนโลกกลับชาติมาเกิดในฐานะกษัตริย์ชวาในช่วงรัชสมัยของเขาขับขานของชาวฮินดูที่รามายณะและมหาภารตะกลายเป็นที่ฝังแน่นในวัฒนธรรมและโลกทัศน์ของชาวชวาผ่านKulit Wayang “ หุ่นหนัง”
ลักษณะทั่วไป
ศิลปะการแสดงในอินโดนีเซียมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งในระดับราชสำนักและชนพื้นเมือง ทั้งนี้การแสดงนาฏศิลป์อินโดนีเซียแบบมาตรฐานมีต้นกำเนิดมาจากราชสำนัก แต่เดิมมีการเรียนการสอนแก่ราชนิกุลและบุตรธิดาของขุนนางในวังของสุลต่าน
ที่มา / อ้างอิง
https://www.blockdit.com/posts/5f0d7d87ed0013148ae9095a
ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวอย่างการแสดง
ตินิคลิ่ง
จะต้องมีทั้งผู้เต้น และผู้ที่นั่งจับไม้ไผ่เคาะจำนวนมากกว่าสองคน ผู้เต้นสามารถเป็นได้ทั้งเพศหญิง และเพศชาย ลักษณะการแสดงเป็นการเต้นแบบก้าวกระโดดใน 5 จังหวะในช่วง 4 จังหวะแรกคู่เต้นรำจะทำการยืนตรงข้ามกัน และในช่วงจังหวะสุดท้ายหรือจังหวะที่ 5 ทั้งคู่จะทำการเต้นรำข้างเดียวกันระหว่างลำไม้ไผ่ 2 ลำ ผู้ที่นั่งจับไม้ไผ่จะมีหน้าที่ในการเคาะไม้ไผ่ทั้งสองกระทบกับพื้น และเคาะลำไม้ไผ่ให้กระทบกันในจังหวะที่เร็วขึ้นจนเกิดเป็นเสียงประกอบการเต้นระบำ
การแต่งกาย
การแต่งกายของผู้เต้นแสดง
เพศหญิงจะสวมใส่กระโปรงยาวบเสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก หรือ ปาตาดยอง ส่วนเพศชายจะสวมใส่กางเกงขายาว และสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก เป็นผ้าที่ทำมาจากใยสัปปะรด
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงในฟิลิปปินส์
คือ Kulintang ชื่อดังกล่าวเป็นทั้งชื่อเครื่องดนตรีและวงมโหรี ประกอบไปด้วย กลองและไม้ตี หนังกลองมักทำมาจากหนังแพะ หนังวัว และหนังจิ้งจก 3. Babendir ลักษณะคล้ายฆ้องมีไม้เคาะ เป็นเครื่องให้จังหวะ 4. Agung เป็นเครื่องดนตรีทำจากโลหะลักษณะคล้ายฆ้องชนิดแขวน 5. Gandingan มีลักษณะคล้ายฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะที่มีลักษณะพิเศษสามารถส่งสัญญาณระหว่างบุคคลได้
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ลีอา ซาลองกา
เป็นนักร้องและนักแสดงชาวฟิลิปปินส์ มีชื่อเสียงจากการรับบทเป็น คิม หญิงสาวชาวเวียดนามจากละครเวทีเวสต์เอนด์ซาลองกายังได้รับบทเป็น เอโปนีน และ ฟองตีน ในละครเวทีเรื่อง เหยื่ออธรรม (Les Misérables) ที่นิวยอร์ก ในปี 1993 โดยเป็นนักแสดงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับบทนี้ [1] ต่อมาเธอได้ร่วมงานกับดิสนีย์ โดยพากย์เสียงและร้องเพลงนำในภาพยนตร์แอนิเมชันหลายเรื่อง ได้แก่ อะลาดิน (1992), มู่หลาน (1998) และ มู่หลาน 2 (2004)
ลักษณะทั่วไป
ประเทศฟิลิปปินส์ มีศิลปะการแสดง และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่วนมากเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างชาติตะวันตก เช่น ประเทศสเปน ประเทศอเมริกา และชาติตะวันออก เช่น ประเทศจีน ศิลปะการแสดงของประเทศฟิลิปปินส์มีหลายรูปแบบ
ที่มา / อ้างอิง
https://www.naamchoop.com/know_detail.php?know_id=147&know_name=%E2%80%9C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E2%80%9D%20%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C
ประเทศเวียดนาม
ตัวอย่างการแสดง
"ฮัตบอย"
หรืออุปรากรจีนตามแบบฉบับเวียดนาม ฮัต-ร้องเพลง และ บอย-การแสดงท่าทาง หมายถึงการแสดงที่มีการขับร้องและลีลาท่าทางที่เป็นแบบแผนมาแต่โบราณ ฮัตบอยพัฒนารูปแบบเป็นของเวียดนามมากขึ้น เช่น คำร้องแปลเป็นภาษาเวียดนาม ประพันธ์เพลงและทำนองขึ้นใหม่ หรือผสมผสานประวัติศาสตร์เวียดนามมาแสดง แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ยังคงลักษณะของจีนไว้ด้วย เช่น เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า การจัดฉากและอุปกรณ์การสร้างฉาก
ลักษณะทั่วไป
ศิลปวัฒนธรรม
ของเวียดนามส่วนใหญ่มีอิทธิพลของจีนและฝรั่งเศสผสมผสาน โดยมีเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่ เทศกาลเต็ด หรือ ตรุษญวน เป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา เรียกว่า "เต็ดเหวียนดาน" หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรี
ของเวียดนามนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยเครื่องดนตรี 5 ชิ้น คือ nhi , tranh , nguyet , ty และ tam เรียกว่าการรวมตัวของเครื่องดนตรี 5 ชิ้น ที่สมบูรณ์แบบ เครื่องดนตรีเหล่านี้อาจจะดูเป็นองค์ประกอบที่ธรรมดาแต่กลับสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างจับใจผู้ฟัง
การแต่งกาย
ชุดแต่งกาย
ตามประเพณีของชาวเกาหลีคือ ฮันบก (Hanbok) ชุดที่ใช้แต่งกายในฤดูหนาวนั้นใช้ผ้าที่ทอจากฝ้ายและกางเกงยาวที่มีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับและการแผ่ซ่านของความร้อนในร่างกายให้มากที่สุด
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ลี เปา เชา
ลี เปาเชา เกิดเมื่อปี ค.ศ 1986 และได้ลงเรียนหลักสูตรอาชีวศึกษา เมื่อ 16 ปี
แต่เรียนแค่เพียง1 สัปดาห์ เท่า นั้น แต่ความโชคดี บ้านของลีเปาเชาอยู่ใกล้กับโรงละคร หลงผึ้ง ซึ่งเป็นโรคละครแสดง ฮัตบอย ทำให้มีการซึมซับ การแสดง และได้ ชื่นชอบในการแสดงนี้จึงมาเป็นนักแสดงหลักในโรงละคร หลงผึ้ง ทำให้ มีการส่งฝึกอบรมในด้านนี้ต่อไป ในปัจจุบัน ลีเปาเชาเพิ่งได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขัน Tuong และ Cheo Young Talent ระดับมืออาชีพแห่งชาติประจำปี 2560 (จัดขึ้นที่เมือง Thanh Hoa เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา)
ที่มา/อ้างอิง
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/253/
ประเทศสิงคโปร์
ลักษณะทั่วไป
เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ต่างรวมกันเป็นลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม ต่างมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสังคมชาติพันธุ์ของตนเอง
ตัวอย่างการแสดง
บังสาวัน
เป็นการแสดงละครร้องคล้ายกับการแสดงโอเปร่าของทางยุโรป เป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศสิงคโปร์ โดยมีจะการแสดงประกอบกับการร้องบทละครออกมาเป็นเพลงด้วยตัวของนักแสดงเอง พร้อมกับการการเต้นประกอบเสียงดนตรีในท่าทางและอารมณ์ต่าง ๆ ตามบทบาทที่ได้รับ สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก
การแต่งกาย
การแต่งกายจะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงามสีสดใส การแสดงละครร้อง ที่ถูกเรียกว่า บังสา
เครื่องดนตรี
สิงคโปร์มีวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลายตั้งแต่ร็อคป๊อปไปจนถึงโฟล์คและคลาสสิก ชุมชนต่าง ๆ มันมีของตัวเองที่แตกต่างกันประเพณีดนตรีของพวกเขาคือจีนในรูปแบบกลุ่มชาติพันธุ์
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ซุนเยียนจือ
เกิดวันที่ 23 ก.ค. 1978 เป็นชาวสิงคโปร์โดยกำเนิด จีนกลางก็พูดคล่อง ภาษาอังกฤษก็เก่งกาจ ความสามารถด้านดนตรีโดดเด้งตั้งแต่เด็ก พรสวรรค์เรื่องการใช้เสียงมาฉายตอนเธอเรียนมหาวิทยาลัยนันยาง เทคโนโลจิคอล เธอมีโอกาสได้รู้จักกับอาจารย์สอนดนตรี “ลีเวยซอง” ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาดนตรีให้เธอแบบไม่มีกั๊ก
ที่มา /อ้างอิง
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?sj_id=71
ประเทศกัมพูชา
ตัวอย่างการแสดง
การแสดงนกยูงไพลิน
เป็นศิลปะการร่ายรำที่มีชื่อเสียงของชาวยูนนาน ที่ใช้ร่างกายเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหว การรำแพนของนกยูงสะท้อนวัฒนธรรมของชาวยูนนาน ได้อย่างชัดเจนและงดงามเนื่องจากในมณฑลยูนานมีนกยูงเป็นจำนวนมาก มีทั้งนกยูงป่าและนกยูงเลี้ยง ชาวบ้านนับถือนกยูงว่าเป็นนางพญาแห่งนกและเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำชนเผ่า
การแต่งกาย
เครื่องแต่งกายตัวละครพระ ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (หมายเหตุ : กางเกง) ไว้ข้างใน นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ
เครื่องดนตรี
ครื่องดนตรีในวงมโหรีป้าพลอย ซึ่งประกอบด้วย จะเป็ย(กระจับปี่) กระปือ(จะเข้) ซลัย(ปี่) ตรัวจี้(ซอด้วง) สะกัวร(กลอง) กรับ จีง(ฉิ่ง) ฉาบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายวงมโหรีเขมรฝั่งกัมพูชา
ที่มา / อ้างอิง
https://fernpcy.blogspot.com/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2
ลักษณะทั่วไป
ศิลปะการดนตรีของกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู มีนาฏกรรมทางศาสนาและเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ การแสดงบางชนิดใช้วงพิณพาทย์
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
โซฟีลีน เจียม ชาร์ปิโร
หนึ่งในเด็กหญิง 111 คนที่เข้าไปเป็นนักเรียนนาฏศิลป์รุ่นแรกของโรงเรียน เธอเป็นลูกหลานครูนาฏศิลป์ ลุงของเธอเป็นศิลปินแห่งชาติที่ต่อมากลายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ผู้หญิงคนนี้เป็นนักเต้นคนสำคัญที่ขับเคลื่อนนาฏศิลป์กัมพูชา ในยามสรรค์สร้างชาติบ้านเมืองขึ้นอีกครั้ง เธอย้ายไปอยู่อเมริกา อุทิศเวลาให้การสอนนาฏศิลป์
ประเทศบรูไน
ตัวอย่างการแสดง
อาไดอาได
การเต้นรำพื้นเมืองประกอบเพลงของชาวมลายู มีที่มาจากชาวประมงสมัยก่อนที่ร้องเพลงขณะช่วยกันลากอวน ปัจจุบันคือเต้นรำประกอบเพลงบรรเลงสลับกับการท่องโคลงแบบมลายู
การแต่งกาย
นักแสดงชายสวมชุดพื้นเมือง ส่วนนักแสดงหญิงสวมชุด บาจู กูรง คือ เสื้อแขนยาวและผ้าถุง คลุมผมด้วยผ้าพื้นเมือง
เครื่องดนตรี
กูลินตัง
เครื่องดนตรีประเภทโลหะลักษณะคล้ายฆ้อง สังเกตได้ว่าการแสดงและเครื่องดนตรีของบรูไนมีความคล้ายคลึงกับชาวอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยเฉพาะกูลินตัง ถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะร่วมกันอย่างเด่นชัดของประเทศในภาคพื้นคาบสมุทรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา / อ้างอิง
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=1&sj_id=95
ลักษณะทั่วไป
บรูไนมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมมลายู การแสดงและเครื่องดนตรีบางอย่างจึงมีความคล้ายคลึงกับอินโดนีเซียและมาเลเซีย (ดลยา เทียนทอง, 2557:32) วัฒนธรรมของบรูไนโดยทั่วไปมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีการร้องรำทำเพลง แต่สิ่งเหล่านี้ยังคงคลุมเครือและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของบรูไน
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
เป็นนักร้องหญิงอันดับต้นๆ ของบรูไน “
มาเรีย
” หรือ เมเรีย ไอเรส วัย 24 ปี เธอเป็นเจ้าของรางวัลมากมาย รวมถึงนักร้องหญิงยอดเยี่ยม Pelangi Awards เป็นเจ้าของหลายเพลงดังรวมถึง Bisik Hati ซึ่งติดอันดับหนึ่งในหลายชาร์ต
กำเนิดจากเวทีคริสตัล ไอดอล ซึ่งเป็นการประกวดร้องเพลงในพิธีเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพของสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม
ประเทศมาเลเซีย
ตัวอย่างการแสดง
กูดาเคปัง
ศิลปะการร่ายรำที่ชาวชวานำเข้ามาเผยแพร่ในรัฐยะโฮร์ การแสดงจะบอกเล่าเรื่องราวชัยชนะในสงครามศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม ผู้แสดงจะนั่งคร่อมบนม้าปลอมและร่ายรำไปตามจังหวะของเครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประกอบด้วยกลอง ฆ้อง และอังกะลุง
การแต่งกาย
แต่งกายด้วยชุดดั้งเดิมของชาวโปรตุเกส บรานโย
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีมาเลเซียที่เรานำมามี 6 เครื่องได้แก่
คอมปัง
พิณซาเป
ปี่ซูเรไน
Rebab
Kulintangan
Drum
ลักษณะทั่วไป
มาเลเซียนับได้ว่าเป็นดินแดนพหุวัฒนธรรม เนื่องจากความหลากหลายหลายทางชาติพันธุ์ อันประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลัก คือ มลายู จีน และอินเดีย ดังนั้นศิลปะการแสดงในมาเลเซียจึงมีความหลากหลายไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวในการแสดงเป็นของตนเอง
ที่มา / อ้างอิง
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=5&sj_id=51
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ซีตี นูร์ฮาลีซา
เป็นนักร้องนักเต้น ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวชวาและได้รับการสืบทอด การเต้นกูดาเคปัง มาจากรุ่นก่อนก่อน เป็นศิลปินที่อายุยังน้อยแต่โด่งดังด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก