Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Leptospirosis - Coggle Diagram
Leptospirosis
-
การพยาบาล
1.ประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่ายหยุดยาก ซึ่งพบในผู้ป่วยที่มีค่าเกร็ดเลือด<50,000cell/mm3และให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล เบามือ ระมัดระวังการพยาบาลที่อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
2.ประเมินการไหลเวียนของเลือด โดยการตรวจมือและเท้าผู้ป่วยว่ามีความเย็นหรืออุ่นเพียงใด ตรวจ Capillary fillig
บริเวณเล็บมือ เพื่อประเมินภาวะช็อกในระยะแรก
3.ดูแลผู้ป่วยได้รับเลือดหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามอัตราที่กำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันความดันเลือดต่ำ
-
-
การรักษาโรคLeptospirosis
Doxycycline เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ซึ่งควร ต้องรับประทานตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด และป้องกันการกลับไปติดเชื้ออีกครั้ง
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
ขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรงจะต้องนอกพักที่โรงพยาบาล และรักษาอาการติดเชื้อด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรง และหากมือวัยวะใด ๆ ที่เสียหายจากการติดเชื้อ ทำให้ไม่สามารถใช้หรือทำหน้าที่ตามปกติได้ก็อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือหากติดเชื้อที่ไตทำให้ไตเสียหายจนทำงานไม่ได้ก็ต้องใช้การล้างไตเข้าช่วยเป็นต้น
-
-
การป้องกันโรคฉี่หนู
การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการติดต่อของโรค และแนะนำหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากน้ำที่อาจมีเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค พร้อมกับการสวมรองเท้าบู๊ตเมื่อจำเป็น
การตรวจแหล่งน้ำและดินทรายเพื่อป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการระบายน้ำและทำความสะอาดเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
ส่งเสริมการป้องกันโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยงโดยให้สวมถุงมือหรือรองเท้าบู๊ต ควบคุมและกำจัดหนูในที่อาศัย สถานที่ทำงาน และสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูให้กับปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง เลือกฉีดวัคซีนซีโรวาร์ (Serovars) ที่เหมาะสมสำหรับชนิดเชื้อที่พบได้ในพื้นที่นั้น ๆ
อ้างอิง
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย.(2564).Disease Approach infectious diseases.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ:หจก.เบสท์ กราฟฟิค อินเตอร์พริ้นท์.
สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์.(2563).New Faces of Pediatric Infectious Diseases: Epidemiology, Diagnosis,Treatment and Prevention.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ:แอคทีฟพริ้นท์.
แพทย์หญิงรุ่งนภา ประสานทอง.(2552).โรคติดเชื้อแคนดิดาในภูมิภาคเขตร้อน.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมถ์.
สาเหตุและพยาธิสภาพ
Leptospira เข้าสู่ทางผิวหนัง หรือเยื่อบุของคน ภาย ใน 24 ชั่วโมงจะเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ อาการทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเล็ป โตสไปโรสิส เป็นผลจากสารlipopolysaccharide และโปรตีนบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบของผนังหุ้มเซลล์ชั้นนอกของเชื้อเช่น outer membrane protein 1(OmpL 1) กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้เกิดการหลั่งสารต่าง ๆ เช่น สาร tumor necrosis factor มาในกระแสโลหิตมีการศึกษาพบสารโปรตีนชนิดต่าง ๆ ที่เชื้อสร้างขึ้นที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น leptospiral immunoglobulin-like protein A (LigA) ซึ่งช่วยให้เชื้อสามารถเกาะติดที่ผนังเซลล์และผ่านเข้าไปในเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ได้ การกระจายของเชื้อทำให้หลอดฝอยแตกและมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะนั้นเกิดการอักเสบและเนื้อตาย โดยในระยะ 1-2 สัปดาห์ หลังป่วยร่างกายจะสร้างภูมิคุ้ม
ต้านทานโรคเพื่อกำจัดเชื้อ โดยสร้าง IgM ที่จำเพราะต่อlipopolysaccharide antigen ของเชื้อแต่ละสายพันธุ์ phagocyteจะจับกินเชื้อและถูกทำลายที่ reticuloendothelial organ หลายสัปดาห์หลังจากการติดโรคจนเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เชื้อจะอยู่ได้นานเป็น
เดือน ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้
-