Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้ทั่วไปด้านโลจิสติกส์ - Coggle Diagram
ความรู้ทั่วไปด้านโลจิสติกส์
ความหมายของโลจิสติกส์
“โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ [และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”
3.การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น
บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้
ความเป็นมาของ โลจิสติกส์
ประวัติศาสตร์และความสำคัญของโลจิสติกส์
จุดกำเนิดของบริการด้านโลจิสติกส์นั้น มาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงความโลกครั้งที่ 1 ที่มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ ก่อนจะมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มมีการกระจายสินค้าทางด้านพืชผลทางการเกษตร ก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา
ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดศาสตร์ทางด้าน การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1964 และภาคเอกสาร ก็ได้นำแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจจนถึงปัจจุบัน
กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย
การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
การบริการลูกค้า (Customer Service)
กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting)
การจัดซื้อ (Procurement)
การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage)
การบริหารการขนส่ง (Transportation Management)
การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Pasts และ Services Support)
การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection)
การเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)
การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging และ Packing)
โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
ประโยชน์ของโลจิสติกส์
1 เป็นพื้นฐานให้ธุรกิจเติบโต
2 ลดต้นทุน ทำกำไรเพิ่ม
4 สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า
3 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ
5 ความรวดเร็วในการสื่อสาร
ความสำคัญของ การจัดการโลจิสติกส์ ที่ส่งผลต่อธุรกิจ
1.ปรับปรุงประสิทธิภาพ
2.มั่นใจได้ถึงการจัดส่งที่ราบรื่น
3 กุญแจสู่ความสำเร็จในห่วงโซ่อุปทาน
4.) มอบความพึงพอใจแก่ลูกค้าอย่างมีคุณภาพ
5.) โลจิสติกส์มีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท
6.) ปรับปรุงการจัดการคลังสินค้า
องค์ประกอบของซัพพลายเชน
องค์ประกอบของโซ่อุปทานประกอบด้วย
Upstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดหาโดยมีผู้เกี่ยวข้องหลักคือ ซัพพลายเออร์ (Supplier)
Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานภายในของกระบวนการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน Input ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการ Output โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือผู้ผลิต (Manufacturer)
Downstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่ง ขนส่ง สินค้าไปสู่มือผู้บริโภค
ความหมายของซัพพลายเชน
กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง
ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ซัพพลายเชนคือระบบเครือข่ายที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยงระหว่างกันในทุกๆ กิจกรรมของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนโลจิสติกส์คือระบบที่เข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ Page 3 กิจกรรมหรือธุรกิจนั้นสามารถดาเนินงานไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด