Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เคสกรณีศึกษาที่ 5 IMG_3382, สมาชิก :, R, download,…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เคสกรณีศึกษาที่ 5
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากมีการทรงตัวและการมองเห็นลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: มองเห็นภาพรางๆไม่ชัดเจนเวลาที่เจอแดดแรงๆจะมองเห็นเป็นสีเหลือง
O: ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
O: แขนขาอ่อนแรง
O: ลุกยืนขาเดียวได้ด้วยความลำบาก
O : มีปัญหาเท้าบวม
O: ความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงอายุมีอาการแขนขาอ่อนแรงลดลง
ผู้สูงอายุมีความสามารถในการมองเห็นดีขึ้น
fall risk assessment score = 0
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้กับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงตระหนักต่อความเสี่ยง และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้ม
เพื่อตระหนักถึงความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
แนะนำผู้สูงอายุและญาติจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบไม่วางขวางทางเดินและมีแสงสว่างเหมาะสม
เพื่อป้องกันต่อการพลัดตกหักล้มของผู้สูงอายุ
4.แนะนำผู้สูงอายุตรวจสายตาเป็นประจำและสังเกตุเกี่ยวกับ การมองเห็นของตนเอง
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ สายตาได้ทันท่วงที
1.ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มโดยการใช้แบบประเมิน แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (fall risk assessment tool:Hendrich)
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีอายุเพิ่มขึ้น สายตามองเห็นไม่ชัดเจน เคลื่อนไหวลำบาก มีโรคประจำตัว
ปัจจัยภายนอก
การวางของกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ
ไม่สุขสบายเนื่อง จากปวดหลัง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดหลัง
S: ผู้ป่วยบอกว่านอนไม่หลับ
S: รับประทานยา hydralazine
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีความสุขสบายและอาการปวดหลังลดลง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยบอกว่าอาการปวดหลังลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรุนแรงของอาการปวดหลัง และตำแหน่งที่ปวด
เพื่อประเมินระดับความปวด และบรรเทาอาการปวดได้ถูกตำแหน่ง
แนะนำจัดท่านอนที่สุขสบายและนอนที่นอนที่แน่นไม่อ่อนนุ่มจน เกินไปหนุนหมอนเตี้ยๆพยุงบริเวณคอและไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่แนวตรงใช้หมอนรองใต้เข่า
เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังหย่อนตัวลดอาการปวด
ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
เพื่อให้กล้ามบริเวณหลังมีการยืดเหยียดลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ
แนะนำให้เปลี่ยนท่านั่งหรือนอนบ่อยๆ
เพื่อช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
แนะนำให้ใช้ความอุ่นประคบบริเวณหลัง 15-20 นาที ระวัดระวังไม่ใช้อุณหภูมิสูงเกินไป ไม่ควรประคบร้อนหากมีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะทำให้ยิ่งอักเสบมากขึ้น
ความร้อนสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหย่อนตัวช่วยลดอาการปวดได้
ปัจจัยภายใน
wear and tear theory
อาการปวดหลังจากความเสื่อมโทรมตามวัยของร่างกายการสร้าง แคลเซียมลดลงเกิดการผุกร่อนของกระดูกและเซลล์กระดูกอ่อน
ปัจจัยภายนอก
สภาพแวดล้อมที่นอนแข็งเกินไป ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวขยับร่างกายหรือการนอนนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆอดีต เคยมีประวัติการทำงานยกของหนักทำให้มีภาวะข้อเสื่อมมากขึ้น
เสี่ยงต่อภาวะเเทรกซ้อนเนื่องจากความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ไม่ออกกำลังกาย
O:มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเเทรกซ้อน
เกณฑ์การประเมิน
1.ความดันโลหิตของผู้สูงอายุไม่เกิน 180/100 mmHg
2.ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ไตวายเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรัง ประสาทตาเสื่อม ตามัว
3.มีการออกกำลังกายตามแบบที่ผู้สูงอายุชอบ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
เพื่อประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ความดันโลหิตสูง
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
เพื่อให้ผู้สูงอายุตะหนักในการดูแลตนเองและควบคุม ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ได้รับยา Hydralazine 25 mg และ Manidipine HCI 20 mg ให้ครบถ้วนและตรงเวลาตามแผนการรักษาของแพทย์
เพื่อลดและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนะนำอาหารที่ช่วยลดไขมันในเลือดโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูง ไขมันสูง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัว (ยกเว้นน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และกะทิ) และลดอาหารเค็ม กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนและปริมาณที่พอเหมาะตามคำแนะนำในธงโภชนาการ เช่น ใน 1 วัน ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ วันละ 6-8 ช้อนกินข้าว ควรกินข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ในปริมาณ 7-9 ทัพพีต่อวัน เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้สด 4 ทัพพี เพื่อควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น ไตวายเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรัง ประสาทตาเสื่อม ตามัว
เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงขึ้น
แนะนำผู้ป่วยให้ระมัดระวังการเปลี่ยนท่าอาจทำให้ ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้
5.เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ปัจจัยภายใน
Cross linking Theory
วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายโดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดที่เกิดจากการสะสมของโคเลสเตอรอลและแคลเซียมในผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแดงมีความแข็งแรงและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผนังหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูง
ปัจจัยภายนอก
การใช้ชีวิตอยู่ประจำ ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้น ในการหดตัวแต่ละครั้ง
เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน
ข้อมูลสนับสนุน
o: แบบประเมิน MNA เท่ากับ 10 คะแนน (ไม่ทราบว่าน้ำหนักลดไหม)
o: แขนหรือขาอ่อนแรง
o: ลุกยืนขาเดียวได้ด้วยความลำบาก
O: BMI = 22.27
วัตถุประสงค์
ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อต้องการของร่างกาย
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากภาวะขาดสารอาหาร
เกณฑ์การประเมิน
ได้รับสารอาหารครบทุกมื้อ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้
2 แบบประเมิน MNA ได้ 12 คะแนนขึ้นได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินค่าดัชนีมวลกาย
เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะพร่องโภชนาการ
ประเมินประวัติการรับประทานอาหาร
เพื่อให้ทราบถึงปริมาณ สารอาหาร และวางแผนกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสม
ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร 5 หมู่โดยแต่ละหมู่ควรรับประทานดังนี้หมู่ที่หนึ่งเนื้อสัตว์ต่างๆเช่นเนื้อปลาไข่นมถั่วและควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวยาก หมู่ที่สองข้าวแป้งน้ำตาล เผือก มัน หมู่ที่สามผักต่างๆควรรับประทานผักให้หลากหลายสลับกันควรต้มหรือนึ่งจนสุกไม่ควรรับประทานผักดิบ หมู่ที่สี่ผลไม้ต่างๆควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เคี้ยวง่ายเช่นมะละกอกล้วยสุก หมู่ที่ห้าไขมันน้ำมันพืชควรให้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเช่นน้ำมันถั่วเหลืองหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากสัตว์และน้ำมันพืชบางชนิดเช่นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมครบถ้วนและเพียงพอต่อร่างกาย
แนะนำรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และรับประทานอาหาร แบ่งเป็น 4-5 มื้อ เนื่องจากในผู้สูงอายุมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กน้อยลง จึงทำให้อาหารถูกย่อยได้ยาก
เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารสะดวกขึ้น
ติดตามชั่งน้ำหนักตัว
ตรวจสอบภาวะ
โภชนาการให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
ปัจจัยภายใน
wear and tear theory
การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ มีการหลั่งกรดในกระเพาะลดลง แขนขาอ่อนแรง ไหล่ติด ผิวแห้ง เท้าบวม ข้อเสื่อม ตาพร่ามัว
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว เนื่องจากฟันไม่ดี จมูกรับกลิ่นอาหารไม่ดี ตุ่มรับรสอาหารทำงานไม่ดีทำให้ลิ้นรับรสได้น้อยลง และระยะเวลาที่กระเพาะอาหารบีบตัวนานกว่าปกติ ทำให้รับประทานอาหารได้ทีละน้อย ๆ และอิ่มเร็วการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
เข้ามาเกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร
ปัจจัยภายนอก
เศรษฐกิจและสังคม เช่น สูญเสียรายได้หรืออาชีพ ทำให้ไม่สามารถจัดหาอาหารมาบริโภคให้เพียงพอต่อความต้องการได้
การนอนหลับไม่มีคุณภาพเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลง ตามวัย
ข้อมูลสนับสนุน
S : ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน 5 ครั้งต่อวัน
S: ผู้ป่วยบอกว่านอนไม่หลับ
O: นอนหลับ 5-6 ชั่วโมง
O: แบบประเมิน 2Q เมื่อ 2 สัปดาห์รู้สึกหดหู่เศร้า ท้อแท้และสิ้นหวัง
วัตุประสงค์
ผู้สูงอายุมีคุณภาพ
การนอนหลับที่ดีขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงอายุอายุนอนหลับได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวันและบอกว่านอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น
ผู้สูงอายุอายุนอนหลับได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวันและบอกว่านอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ซักถามผู้สูงอายุบอกถึงปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ
เพื่อเเก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ
2.ประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ
เพื่อทราบการนอนหลับของผู้สูงอายุว่านอนหลับพักผ่อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
จัดสิ่งแวดล้อมให้สุขสบาย ผ่อนคลาย และลดปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับเช่น อาการเจ็บปวด แสง เสียง
เพื่อช่วยให้การนอนของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอนเช่นฟังวิทยุ นวดให้ร่างกายผ่อนคลาย นั่งสมาธิ
เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายไม่เครียดและสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น
แนะนำไม่ให้ดื่มน้ำในช่วงเวลา 4-5 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเข้านอน
เพื่อลดปัญหาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
เพิ่มกิจกรรมหรือออกกำลังกายในช่วงเวลากลางวันให้มากขึ้น
เพื่อให้ร่างกายอ่อนล้าและนอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนได้ดีขึ้น
ทำจิตใจให้สบายก่อนนอน หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นจิตใจ
เพื่อให้จิตใจได้ผ่อนคลายก่อนนอนทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ปัจจัยภายใน
การทำงานของร่างกายที่เสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดง โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน และการรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ทำให้การนอนหลับลึกหรือพักผ่อนร่างกายของผู้สูงอายุ มีเปอร์เซ็นน้อยกว่าคนหนุ่มสาว
ปัจจัยภายนอก
นอนก่อนเวลานอนแล้วนอนไม่หลับ เรียก Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้นพยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนกลายเป็นความเครียด
การที่นอนและตื่นไม่เป็นเวลา
สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่นร้อน หนาว แสงจ้าไป เสียงดังไป
เสี่ยงต่อการเกิดประสิทธิภาพของยาลดลงเนื่องจาก
พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: รับประทานยา
Manidipine HCI 20 mg
:Calcium carbonate
600 mg
วัตถุประสงค์
มีพฤติกรรมการรับประทานยาที่เหมาะสม
ไม่เกิดอันตรายจากการใช้ยา
เกณฑ์การประเมิน
รับประทานยาตรงเวลา
กิจกรการพยาบาล
แนะนำให้ญาติติดสัญญาลักษณ์ไว้ที่ถุงยาและวางไว้ใกล้ๆตัว
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุลืมรับประทานยา
แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานยาให้ตรงเวลาถ้าลืมกินยาแล้วนึกได้ 15-30นาทีให้กินทันที หากเกิน30 นาทีไปแล้วให้กินมื้อถัดไป
เพื่อป้องกันไม่ให้มีฤทธิ์ยาสะสมในร่างกายนานเกินไป
แนะนำรับประทาน calcium carbonate 600 mg ก่อนยา Manidipine อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังรับประทานยา calcium carbonate 3 ชั่วโมงและไม่ควรรับประทานยาพร้อมกัน
เพื่อป้องกันการยับยั้งการออกฤทธิ์ของยา
ห้ามบดเคี้ยวหรือหักยาเม็ดรูปแบบที่เป็นยาออก
เพื่อป้องกันไม่ให้ยาเสียคุณสมบัติในการออกฤทธิ์
สมาชิก :
นางสาวพรชิตา ปุ้ยทอง 65121301062
นางสาวมณีกาญจน์ ภาษี 65121301078
นางสาวลักษ์คณา คณิสาร 65121301088
นางสาว วิกานดา เกตุมงกุฏ 65121301092
นางสาว ศิรินทิพย์ เตียงพลกรัง 65121301096
นางสาวสาธิตา เกตุยา 65121301101
นางสาวสิริพรรณ แดนสันเทียะ 6512130104
นางสาวสุนันทา เลียวประโคน 65121301110
นางสาวอภิชญา รื่นภาคบุตร 65121301116
นางสาว อภิญญา อาจมิตร์ 65121301117