Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนภาพความคิดบทเสภาสามัคคีเสวก - Coggle Diagram
แผนภาพความคิดบทเสภาสามัคคีเสวก
ความเป็นมา
บทเสภาสามัคคีเสวก เป็นบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ บทเสภาสามัคคีเสวก เป็นบทที่ใช้สำหรับขับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายสาเหตุที่ทรงพระราชนิพนธ์บทแบภาชุดนี้ไว้
ต่อมาได้แต่งบทแสภาขึ้นขับระหว่างเวลาพักตอนเพื่อให้พิณพาทย์ได้พักเหนื่อยบ้าง บทเสภาสามัคคีเสวกเป็นบทแสภาขนาดสั้น มี ๔ ตอน เนื้อหาในแต่ละตอนเป็นการเสนอ
บทเสภาสามัคคีเสวก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี โดยครั้งแรกพระองค์ทรงคิดการแสดงชื่อว่า “ระบำสามัคคีเสวก” ซึ่งเป็นการรำตามเพลงหน้าพาทย์ ไม่มีบทร้อง
แนวคิด โดยแนวคิดสำคัญคือความสมานสามัคคี และความจงรักภักดีของข้าราชการที่มีต่อชาติและพระมหากษัตรย์
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ยัง ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ครองราชย์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิ นานัปการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ โดยเฉพาะด้าน อักษรศาสตร์
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดี หรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอด ของบทละครพูดคำฉันท์)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่” นอกจากนี้พระองค์ยังทรงได้รับ การประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ อีกด้วย
ลักษณะคำประพันธ์
บทเสภาสามัคคีเสวกนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ด้วย บทประพันธ์ประเภท กลอนเสภา ซึ่งเป็นกลอนที่แต่งขึ้นสำหรับการขับเสภา โดยพัฒนามาจาก การเล่านิทาน เมื่อการเล่านิทานเป็นร้อยแก้วทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย จึงได้มีผู้คิดแต่งนิทานให้เป็นบทกลอน ที่มีสัมผัสคล้องจองและขับเป็นทำนอง โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ)
เนื้อความตอนหนึ่งๆ จะยาวก็คำกลอนก็ได้
จำนวนคำในแต่ละวรรคอาจไม่เท่ากัน คือ มิได้ตั้งแต่ 5 ค่ำ ถึง ๑๐ คำ ตามความเหมาะสม เพื่อความชัดเจนของเนื้อความในแต่ละวรรค
การส่งและการรับสัมผัส คือ คำสุดท้ายของวรรคหน้า (วรรคเดับและวรรค์รอง) นิยมส่งสัมผัส
ไปยังคำที่ ๓-๕ คำใดคำหนึ่งของวรรคหลัง (วรรครับและวรรคส่ง) และคำสุดท้ายของวรรคส่งของ กลอนบทแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรครับในกลอนบทต่อไปด้วย
เรื่องย่อ
บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา กล่าวถึง ประเทศชาติใดที่ไม่มีความสงบสุข
ประชาชนย่อมไม่มีเวลาสร้างสรรค์งานศิลปะและกล่าวว่า ศิลปะนั้นมีคุณค่าแสดงถึงอารยธรรมของชาติ
ประเทศไทยก็เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเพราะมีช่างศิลป์ที่มีความชำนาญในศิลปะทุกแขนง ไทยจึงควรส่งเสริมให้ศิลปะของชาติคงอยู่สืบไป
บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก กล่าวถึงหน้าที่ของข้าราชบริพารที่ดี
จะต้อง จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี มีวินัย เปรียบเสมือนลูกเรือที่จะต้องเชื่อฟังกัปตัน
มิฉะนั้นเรือที่บังคับก็จะล่มลงในที่สุด