Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณธรรม จริยธรรม ความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีและกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อส…
คุณธรรม จริยธรรม ความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีและกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคม
ความหมายของคุณธรรม
คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็น สุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิด คุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า "เป็นผู้มีคุณธรรม"
ความหมายของคุณธรรมสมัยโบราณ
คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้าง ๆ ของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคน ๆ นั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคน ๆ นั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม
ความหมายของจริยธรรม
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น"จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ" จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควร ประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง กระบวนการต่างๆและระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศหรือข่าวสารที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
2.กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆข้างต้นมาใช้งาน
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกัน ย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นอยู่เสมอหลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย
จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
ไม่รบกวนการทำงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ไม่สอดแนมเปิดดูหรือแก้ไขแฟ้มของผู้อื่น
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ไม่คัดลอกซอฟต์แวร์ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
ไม่ฉวยเอาทรัพย์สินทางปัญญา/ผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมตามมา จากการกระทำของตน
ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท ของสถานที่นั้นๆ
จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ
ความเป็นส่วนตัว ( Information Privacy )
ความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ
ความถูกต้องของข้อมูล ( Accuracy )
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล
3.ความเป็นเจ้าของ สิทธิ ความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา(ความคิด)ที่จับต้องไม่ได้ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ แทป ซีดีรอม เป็นต้น
4.การเข้าถึงข้อมูล ปัจจุบัน การเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของ ผู้ใช้งาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยใน การเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้นก็ถือเป็นการผิด
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
1.ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
2.กำหนดรหัสผ่านให้รัดกุม เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน
3.ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งาน
4.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
5.ขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา
กฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. (Privacy Notice)
แนวทางการรับ-ส่งข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ เพื่อปรึกษาการดูแลรักษาทาง Application "Line"
ใครบ้างต้องรู้แนวทางปฏิบัติในการใช้สือสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ
ทำไมต้องมีแนวทางปฏิบัติในการใช้สือสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ
ประกาศ รพ.ฯ แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
หลักทั่วไปในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ
แนวทางการปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559