Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Close Fracture Neck Right of Femur ( คอกระดูกต้นขาขวาหักแบบปิด ) - Coggle…
Close Fracture Neck Right of Femur
( คอกระดูกต้นขาขวาหักแบบปิด )
แผนการพยาบาล
ก่อนการใส่ skin traction
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 มีอาการปวดบริเวณสะโพกขวา เนื่องจากคอกระดูกต้นขาหัก
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาอาการปวด
การดูแลเพื่อเตรียมใส่ Skin traction
การพยาบาล
เพื่อบรรเทาอาการปวด
1.1 ประเมินและบันทึกระดับความเจ็บปวด (pain score) เพื่อไปให้การพยาบาลที่เหมาะสม
1.2 จัดท่านอนเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย ในท่านอนหงาย (Dorsal position) โดยใช้หมอนรองคอ ข้อพับเข่า และตรงปุ่มกระดูกข้อเท้า
1.3 ให้รับประทานยา Paracetamol 500 mg 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง และฉีดยา Morphine 4 mg เจือจางด้วยน้ำเกลือ 10 ml ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ เมื่อมีอาการทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อลดอาการปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ หากอาการปวดไม่ทุเลาลงให้แจ้งพยาบาลทันที
1.4 แนะนำให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการผ่อนคลาย
การดูแลเพื่อเตรียมใส่ Skin traction
2.1 ตรวจสอบแผนการรักษาชนิดของ Traction ขนาดน้ำหนักที่ต้องดึงถ่วง เพื่อมั่นใจว่าให้การพยาบาลได้ถูกต้องตามแผนรักษา
2.2 แจ้งผู้ป่วยและญาติ อธิบายวัตถุประสงค์ วิธีการใส่และให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่อง การปฏิบัติตัวก่อนและขณะ skin traction รวมถึงภาวะแทรกซ้อน เพื่อเคารพสิทธิผู้ป่วย ลดความวิตกกังวลและขอความร่วมมือจากผู้ป่วย
2.3 ประเมินสภาพผิวหนังบริเวณที่จะใส่ skin traction โดยบริเวณที่จะใส่ไม่ควรมีแผลถลอก แผลฉีกขาด ผิวหนังอักเสบ การไหลเวียนโลหิตไม่ดี เช่น เส้นเลือดโป่งพอง และแผลเนื้อตาย
2.4 เตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมใส่ skin traction ดังนี้
1.เตียงเป็นเตียงที่สามรถปรับได้มีโครงสามารถยดึงแขวนลูกรอกและมีที่จับเหนือเตียง(Monkey bar)สำหรับใช้ในการโหนตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบถบนเตียง
ที่นอนต้องแน่นแข็งไม่อ่อนนุ่มหรือเป็นรอยบุ๋ม
รถเข็น ใส่เครื่องมือ
ชุดทำความสะอาดผิวหนัง
(4.1 ถาดใส่ชุดเตรียมทำความสะอาดผิว หนับ
4.2 ถุงมือสะอาด
4.3 ชุดโกนขน 1 ชุดประกอบด้วยด้ามมีดSafe–guardและใบมีด
4.4 Hibiscrub
4.5 ผ้าก๊อส(Gauze)
4.6 ผ้าก๊อสหุม้ สำลี(Top gauze)
4.7 แอลกอร์ฮอล์ 70%
4.8ถุงพลาสติกใส่ขยะ)
เชือกต้องเหนียว ไม่มีรอยต่อหรือบุ๋ม
รอกเกาะปลายเตียง(Buck clamps and pulley) ต้องหมุนได้อย่างอิสระ
ก้านน้ำหนัก
ตุ้มน้ำหนักตามแผนการรักษา(ส่วนมากไม่เกิน10lbs)
Tincture benzoid
ไม้สี่เหลี่ยมเจาะกลางขนาด 3นิ้ว หรือ 4 นิ้ว
พลาสเตอร์เหนียว(Adhesive tape)หรือ Leukoplastขนาดกว้าง 3 นิ้วหรือ 4 นิ้ว
ผ้าพันชนิดยืดหยุ่น(Elastic bandage)ขนาด 3 นิ้วหรือ4 นิ้ว
แป้งฝุ่น
หมอน ถุงน้ำหรือผ้านุ่ม สำหรับรอง/พยุง ตำแหน่งของร่างกาย
กล่องใส่ล้อขาเตียง(Shock block)สูง 6 นิ้วหรือ8นิ้ว
ขณะการใส่ skin traction
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดแรงดันระหว่างช่องกล้ามเนื้อสูงเนื่องจากพัน elastic bandage แน่นเกินไป
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแรงดันระหว่างช่องกล้ามเนื้อสูงเนื่องจากพัน elastic แน่นเกินไป
การพยาบาล
ดูแลการถ่วงน้ำหนักตามแผนการรักษาคือ on skin traction.ประเมินอาการและอาการแสดงของอาการขาดเลือดที่อวัยวะส่วนปลาย ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน เช่น มีการปวดบวมของอวัยวะที่ทำการดึงถ่วงน้ำหนักหรือไม่ หากพบอาการบวมของเท้าและขาส่วนปลาย คลำชีพจรที่หลังเท้าไม่ได้ควรรีบรายงานแพทย์
ลดความดันในช่องกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด โดยถ้าสังเกตการบวมที่เพิ่มขึ้น สีผิวซีด ขาวและเย็นหรือมีอาการปวดชา ให้รีบคลายผ้าที่พันไว้และจึงพันใหม่ โดยพันผ้ายืดให้แน่นส่วนปลาย แล้วจึงพันแน่นน้อยลงจนถึงส่วนต้น เพื่อช่วยระบายของเหลวในบริเวณนั้นๆ กลับสู่ระบบไหลเวียนเลือด
ประเมินอาการปวดที่เป็นอาการนำสำคัญของการเกิดความดันช่องกล้ามเนื้อสูงโดยประเมินจาก 6P
3.1. Pain ไม่มีอาการปวดแสบปวดร้อนรุนแรงขึ้น หรือมีอาการปวดลดลง
3.2. Polar อุณหภูมิผิวหนังไม่เย็น
3.3. Paresthesia ไม่มีอาการชาบริเวณสะโพก
3.4. Pulselessness คลำพบชีพจร
3.5.Pallor สีผิว ริมฝีปาก เปลือกตาและเล็บไม่ซีด
3.6. Paralysis ไม่มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ ภาวะท้องผูก แผลกดทับ หลอดเลือดดำอุดตัน/อักเสบ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ จากการใส่ skin traction
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะท้องผูก แผลกดทับหลอดเลือดดำอุดตัน/อักเสบ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ จากการใส่ skin traction
การพยาบาล
ป้องกันภาวะแผลกดทับ กิจกรรมการพยาบาลได้แก่
1.1.ประเมินสภาพผิวหนัง อาการปวดชา บริเวณปลายเท้า อาการผื่นคัน บริเวณที่ใส่ skin traction ประเมินผิวหนังบริเวณขอบหรือมุมของอุปกรณ์ว่าถูกกดทับหรือไม่ ตรวจสอบบริเวณใต้หัวเข่าเอ็นร้อยหวาย บริเวณตาตุ่ม ควรใช้ผ้าหรือหมอนเตี้ยๆ รองบริเวณน่องช่วยให้ส้นเท้าลอย แต่ต้องระวังไม่ให้ผ้าหรือหมอนที่รองไปกดบริเวณใต้หัวเข่าหรือเอ็นร้อยหวาย ตรวจดูผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ รวมทั้งผิวหนังและอวัยวะที่เสี่ยงต่อการถูกกดทับ ตรวจดูการกดเบียดของอุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนัก หากมีการกดเบียดให้ขยายน็อตออกและปรับใหม่หรือขยับเหล็กให้ได้ท่าที่เหมาะสม เป็นต้น และดูแลผิวหนังให้สะอาดแห้งอยู่เสมอ
1.2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเท่าที่สามารถทำได้ ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ตามความเหมาะสมหมั่นดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย อวัยวะเพศ ไม่ให้เปียก อับชื้นจัดให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลม เปลี่ยนผ้าปูที่นอนให้สะอาด และปูที่นอนให้เรียบตึง 2. ลดความดันในช่องกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด โดยการคลายผ้ายืดที่รัดแน่น
ป้องกันภาวะท้องผูกกิจกรรมการพยาบาลได้แก่
2.1. ให้รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ โดยเน้นอาหารที่มีกากใย เช่น ผัดผักรวมมิตร แอปเปิ้ล มะละกอ เป็นต้น เพื่อให้ขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น 2.2.ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรเพื่อให้มีปริมาณน้ำในอุจาระเพิ่มมากขึ้น
2.3. นวดหน้าท้องเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
2.4. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา
ป้องกันข้อติดแข็งกล้ามเนื้อลีบจากการใส่skin traction กิจกรรมพยาบาล ได้แก่
3.1.ประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหว อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงความสำคัญของการคงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อ และกำลังที่แข็งแรงของกล้ามเนื้อ
3.2 ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวข้อทุกข้อและกล้ามเนื้อทุกมัด เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว ไม่ลีบง่าย ฝึกให้ผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อขา เคลื่อนไหวข้อต่างๆ ทั้งสองข้าง โดยให้งอเหยียดกระดกข้อเท้า ขึ้น-ลง เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณที่ใส่โลหะยึดตรึง หมุนแกว่งข้อต่อแขน ไหล่ เกร็งเหยียดนิ้วมือ สอนให้ผู้ป่วยใช้ที่โหนตัวช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อส่งเสริมให้องศาการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ เป็นปกติ ส่งปรึกษากายภาพบำบัดตามแผนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ จากทีมสหสาขาวิชาชีพ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่เกิน 3 ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัด
วัตถุประสงค์
ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยในการผ่าตัดครั้งนี้
การพยาบาล
อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัด Interlocking nail ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพิ่มความแข็งแรงในการยึดกระดูก ด้วยการใส่screw ในแนวขวางทั้งช่วงบนและช่วงล่างของกระดูก
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามและตอบคำถามในเรื่องที่สงสัยและวิตกกังวล โดยการรับฟังและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและซักถามเกี่ยวกับแผนการรักษาที่ตนกำลังได้รับ รวมทั้งสิ่งที่ผู้ป่วยกังวล ห่วงใย และควรให้เวลากับผู้ป่วยด้วย
ให้การดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์
3.1 Order for one day
-0.9 NaCl 1000 cc vein drip 100 cc/hr
-ทำความสะอาดผิวหนังเพื่อเตรียมผ่าตัด
-เตรียม Cefazolin 2gm, Foley’s cath +urine bag, x-ray
-group match PRC 2 unit (เตรียมเลือดที่เข้ากันได้กับเลือดของผู้ป่วย)
3.2. Order for continuation
-NPO After mid night (งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน)
-CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด)
ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ในการผ่าตัด
4.1 การเซ็นใบยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัด การได้รับยาระงับความรู้สึก การยินยอมรับเลือด
4.2 ใบรายงานผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ แผ่นฟิล์ม X-ray และการตรวจพิเศษต่างๆในรายงานของผู้ป่วย
4.3 บันทึกสรุปอาการและผลการเตรียมผ่าตัดในรายงานผู้ป่วยก่อนส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 87 ปี ประกอบอาชีพทำนา
การวินิจฉัยโรค : Close Fracture Neck Right of Femur
อาการสำคัญ : ปวดสะโพกขวา 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล เดินสะดุดล้มเอง ปวดสะโพกขวา ญาติจึงนำมาส่งโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : 20 ปีก่อน แพทย์ได้วินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง รับยาต่อเนื่อง
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธความเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติดื่มสุรา/สูบบุหรี่ : ปฏิเสธดื่มสุราและสูบบุหรี่
อาการขณะรับไว้ในความดูแล ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก: ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี อ่อนเพลีย บ่นปวดสะโพก ขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย ระดับปวด 5/10 ร้าวลงขาขาอ่อนแรง 2 ข้าง กลั้นปัสสาวะ และอุจจาระไม่ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกหัก
สาเหตุอันเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน
1.อายุ
ในวัยผู้สูงอายุ เมื่อมีการทำงานของ osteoclast ซึ่งมีหน้าที่ทำลายเซลล์กระดูกมากกว่า osteoblast ซึ่งเป็นเซลล์สร้างกระดูก จะทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกและเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะกระดูกพรุน
2.เพศ
ในสตรีวัยหมดประจำเดือน มีการหยุดการทำงานของรังไข่ร่างกายจะเริ่มขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอันมีหน้าที่ส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกและป้องกันการสลายของมวลกระดูก เมื่อขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะการสลายมีมากกว่าการสร้างเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของโรคกระดูกพรุน (Di Wu et Al., 2021)
3.อาชีพทำนา
จากการออกแรงหรืออยู่ในท่าเดียวนานๆ หรือการออกแรงเกินกำลัง เป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกและข้อ
สาเหตุจากแรงกระทำ
1.อุบัติเหตุ
ทำให้เกิดการสดุดหกล้มและส่งผลให้เกิดแรงกลกระทำต่อกระดูก ร่วมกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อการพลัดตกหกล้มได้แก่ พื้นลื่น พื้นขรุขระ ทางลาดชัน สิ่งกีดขวาง แสงสว่างไม่พอ
กลไกและพยาธิสภาพ
ผู้ป่วยเกิดการสดุดหกล้ม
ทำให้เกิดแรงกลกระทำต่อกระดูกร่วมกับภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากมีอายุมาก
และเป็นเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่ติดกับกระดูกจะฉีกขาด เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อขึ้น
กล้ามเนื้อจะดึงกระดูกชิ้นที่ หักให้เคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ทำให้เยื่อหุ้มกระดูก
หลอดเลือดที่ปลายกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆ ได้รับ บาดเจ็บไปด้วย
มีเลือดออกจากเนื้อเยื่ออ่อนและปลายกระดูกที่หักจะมีก้อนเลือด (Hematoma) เกิดขึ้นบริเวณระหว่างปลายกระดูกที่หัก และใต้เยื่อหุ้มกระดูก
ส่วนปลายกระดูกที่หักจะเกิดการตาย และเกิดปฏิกิริยาการอักเสบเฉียบพลัน
ทำให้มี Neutrophil มายังบริเวณที่อักเสบ มีหลอดเลือดขยายตัว มีบวม ปวด และทำหน้าที่ไม่ได้ ตามปกติ