Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
1.เครื่องซักผ้า
ในอดีต ผู้คนจะนำเสื้อผ้าไปยังแหล่งน้ำใกล้ ๆวางผ้าไว้บนก้อนหินแล้วใช้ไม้ตีผ้าหรือขยี้ผ้าด้วยมือ เพื่อขจัดคราบสกปรกออกมาซึ่งต้องใช้แรงงานคนโดยที่ยังไม่มีการใช้ผงซักฟอกหรือสบู่ช่วยในการขจัดคราบสกปรก ทำให้เกิดความเมื่อยล้าและต้องนำผ้าไปซักที่แหล่งน้ำ
1.1 การใช้ไม้ตีผ้ากับก้อนหิน
ต่อมามีการคิดค้นกระดานซักผ้าโดยเลียนแบบการซักผ้าด้วยมือกระดานซักผ้าจะมีลักษณะเป็นลูกคลื่นเพื่อช่วยผ่อนแรงในการขจัดคราบสกปรกโดยการขยี้ผ้าและรองรับน้ำหนักของผ้า แม้จะลดเวลาในการซักผ้าลงและช่วยแก้ไขข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ซักผ้าได้แต่ยังคงใช้แรงงานคนในการซักผ้าเหมือนเดิม
1.2 กระดานซักผ้า
จากกระดานซักผ้าได้พัฒนาเป็นเครื่องซักผ้าแบบมีก้านโยกซึ่งยังคงใช้หลักการเดียวกับการซักผ้าด้วยมือ โดยใส่ผ้าลงไปที่ด้านล่างของกระบะบรรจุน้ำ จากนั้นนำก้อนหินใส่ลงไปในตะแกรงสี่เหลี่ยม แล้วโยกก้านโยกเพื่อให้ก้อนหินทำหน้าที่ขยี้ผ้าและขจัดคราบสุกปรกออกากผ้าซึ่งยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลักแต่ช่วยลดระยะเวลาในการซักผ้าให้น้อยลง
1.3 เครื่องซักผ้าแบบมีก้านโยก
จากนั้นมีการเพิ่มกลไกให้กับเครื่องซักผ้าซึ่งกลไกดังกล่าวช่วยในการปั่นผ้าและบีบผ้าให้แห้งช่วยเพิ่มความสะดวกในการซักผ้าแต่ยังคงใช้แรงงานคนในการขับเคลื่อนกลไกและตักน้ำใส่เครื่องซักผ้า
1.4 เครื่องซักผ้าแบบมีกลไก
เมื่อมีการสร้างและพัฒนามอเตอร์ไฟฟ้าจึงทำให้เครื่องซักผ้าเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนในการขับเคลื่อนไปเป็นการใช้มอเตอร์ซึ่งช่วยลดการใช้แรงงานคนและลดระยะเวลาในการทำงานแต่ยังคงใช้แรงงานคนในการควบคุมการทำงานการตักน้ำใส่เครื่องซักผ้า การทำให้ผ้าแห้ง
1.5 เครื่องซักผ้ามอเตอร์ไฟฟ้า
ต่อมาได้มีการสร้างท่อปั๊มน้ำเข้าสู่เครื่องซักผ้าและสร้างถังปั่นแห้งซึ่งช่วยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังคงต้องใช้แรงงานคนย้ายผ้าจากถังซักไปยังถังปั่นแห้ง นอกจากนี้เครื่องซักผ้ายังมีขนาดใหญ่แต่จุผ้าได้น้อย
1.6 เครื่องซักผ้าแบบมีท่อปั๊มน้ำและถังปั่นแห้ง
เมื่อมีการพัฒนาระบบกลไกให้สามารถทำงานได้ซับซ้อนขึ้นเครื่องซักผ้าจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยการรวมถังซักผ้าและถังปั่นแห้งอยู่ภายในตัวถังเดียวกันรวมทั้งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติในเครื่องซักผ้า
1.7 เครื่องซักผ้าแบบถังเดียว
เครื่องซักผ้าได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มความจุของถังซักให้ซักผ้าได้มากขึ้น มีโปรแกรมการซักที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของเนื้อผ้า ส่วนประกอบของเครื่องซักผ้าใช้วัสดุที่เบาและแข็งแรง มีการออกแบบวิธีการใช้งาน รูปทรงและสีสันของเครื่องซักผ้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด
1.8 เครื่องซักผ้าที่ใช้ระบบควบคุมซับซ้อนขึ้น
การถนอมอาหารนมโดยใช้ความร้อน
การต้ม
เป็นวิธีการอย่างง่ายโดยใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ แต่ยังฆ่าเชื้อไม่ได้ทั้งหมด
พาสเจอร์ไรส์
-ใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 63 C เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30นาทีหรือใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 72 C เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15วินาที แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5C
-ไม่ทำลายสารอาหารและรสชาติของนม
-ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 7-10 วัน แต่ต้องเก็บในตู้เย็น
สเตอริไลส์
การใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานานทำให้นมสูญเสียวิตามินบางชนิดและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว
-ใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 C เป็นเวลานาน
-ทำลายเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ทำให้นมเสียได้ทั้งหมด เก็บรักษาได้นานถึง12 เดือน โดยไม่ต้องเก็บในตู้เย็น
การทำแห้งแบบพ่นฝอย
-เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการระเหยน้ำออกจากน้ำนมที่พ่นออกมาเป็นละอองอย่างรวดเร็ว ทำให้นมกลายเป็นนมผง
-ไม่ทำลายสารอาหาร แต่อาจสูญเสียกลิ่นเฉพาะตัวของนม-เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเก็บไว้ได้นาน ง่ายในการขนส่งและการเก็บรักษา
ยูเอชที
-ใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 133C เป็นเวลาประมาณ 2-3 วินาที
-การสูญเสียวิตามิน การเปลี่ยนสีและกลิ่นของนมน้อยกว่าวิธีสเตอริไรส์ อายุการเก็บรักษาประมาณ 6-8 เดือนโดยไม่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น
เตา
เตาก้อนเสา
ไม่สามารถควบคุมความร้อนไม่สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างการใช้งาน
เตาฟืน
ไม่สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างการใช้งาน
มนุษย์รู้จักสังเกตว่าดินที่อยู่ใต้กองไฟเป็นเวลานาน จะมีความแข็งและละลายน้ำได้ยากกว่าดินโดยรอบ จึงนำดินมาปั้นขึ้นรูปรอบกองไฟ เพื่อไม่ให้ความร้อนกระจายโดยรอบ
สวยงามกว่าเตาก้อนเส้า
เตาอั้งโล่
เกิดเขม่าควันใช้เวลานานในการก่อไฟ
ประโยชน์
ได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน
มีรูปทรงที่ทำให้ใช้งานสะดวกและสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างการใช้งานได้
ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งหาได้ง่ายในบางชุมชน
เตาแก๊ส
ต้องใช้งานอย่างระมัดระวังและดูแลรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำเพื่อป้องกันการรั่วไหลของแก๊ส
เมื่อมนุษย์ค้นพบวิธีการนำแก๊สมาใช้เป็นเชื้อเพลิง จึงมีการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเตาแก๊สให้ใช้งานได้สะดวก ราคาถูกลงและปลอดภัยมากขึ้นจุดติดง่ายและให้ความร้อนได้เร็วกว่าการก่อไฟ ปรับระดับความร้อนได้ตามที่ต้องการ
เตาไฟฟ้า
ความร้อนที่ผิวเตาก่อให้เกิดอันตรายได้
เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนโดยใช้ขดลวดนำไฟฟ้าที่อยู่ภายในเตา จึงไม่มีเปลวไฟมีความสวยงาม กะทัดรัดมักใช้ในคอนโดมิเนียมหรือหอพัก เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่อยู่อาศัย และกฎหมาย
เตาแม่เหล็กไฟฟ้า
สามารถสัมผัสผิวเตาได้โดยไม่เกิดความร้อนกับมือ
ㆍเกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก ความร้อนจึงเกิดขึ้นที่ภาชนะเท่านั้น ไม่มีความร้อนบริเวณพื้นผิวของเตา ทำให้ปลอดภัยในการใช้งานทำความร้อนได้เร็ว ใช้ไฟน้อยใช้งานง่าย สะดวก สวยงามกะทัดรัด
ใช้ก้อนหินสามก้อนเพื่อให้สามารถตั้งภาชนะและมีช่องสำหรับใส่ไม้หรือฟืน