Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของการแสดงนาฏศิลป์และการละครไทย สมัยรัตนโกสินทร์ - Coggle Diagram
วิวัฒนาการของการแสดงนาฏศิลป์และการละครไทย สมัยรัตนโกสินทร์
รัตนโกสินทร์ ตอนต้น
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพทาราแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตรฐานตั้งแต่สุโขทัย ในรัชสมัยสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำาเมขลา-รามสูร ในราชนิพนธ์รามเกียรติ์
ตัวอย่างบทที่รัชกาลที่1 ทรงพระราชนิพนธ์ในบทละคร เรื่อง รามเกียรติ์
" เอาภูษาผูกคอให้มั่น
แล้วพันกับกิ่งโศกใหญ่
หลับเนตรดำรงปลงใจ
อรไทก็โจนลงมา
บัดนั้นวายบุตรวุฒิไกรใจกล้า
ครั้นเห็นองค์ครูกัลยา
ผูกคอโจนมาก็ตกใจ
ตัวสั่นเพียงสิ้นชีวี
ร้อนจิตดั่งหนึ่งเพลิงไหม้
โลดโผนโจนตรงลงไป
ด้วยกำลังว่องไวทันที "
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์ทรงพระราชนิพน บทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและ
ละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแห่งใหม่เพิ่งให้ใช้ใน การแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ และอิเหนา โดยเรียงอิเหนานี้ เนื้อเรื่องเดิมมีความยาวมาค พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ นอนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์
ด้านกวีนิพน
ในรัชสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่อง ว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยนั้นด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี ยังได้กำหนดให้เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สุนทรภู่ (กวีเอกของโลก)
ท่านเกิดเมื่อวัน 20 มิถุนายน พ.ศ.2329 ในสมัยรัชกาลที่1ท่านเสียชีวิตในปี พ.ศ.2398 ในสมัยรัชกาลที่4 ทําใส่ได้รับสมญานามว่า "กวีสี่แผ่นดิน" บทนิทานคลอนที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านคงหนีไม่พ้นเรื่อง พระอภัยมณี พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศ หมู่มัจฉา เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชลฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นละอองฝน ฝูงพิมพาพาฝูงเขัาแฝงวล บ้าง ดพ่นฝองนํ้าบ้าง จร พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุคคลสำคัญ
หม่อมเเย้ม
เเสดงเป็นอิเหนา
ประวัติ
เธอเป็นศิษย์คนหนึ่งของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี เจ้าจอมมารดาเเย้มจึงเป็นนางละครผู้มีชื่อเสียงในรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่โดดเด่นจากเเสดงเป็นอิเหนา จึงรับสมญาว่าเเย้มอิเหนา
กรมหลวงรักเรศ
ทรงมีคณะละครผู้ชายจัดเเสดงเรื่องการเเสดง
นายเกษ
เเสดงเป็นพระราม(ครูฝึก)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมเเพร่หลายในหมู่ประชาชน เเละเกิดการเเสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ
ละครถือเป็นเเบบเเผนในการปฏิบัติสืบต่อมา ถึงปัจจุบันได้เเก่
1.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักขณาคุณ
2.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์
3.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสรกรมหลวงรักษ์รณเรศ
รัตนโกสินทร์ ตอนกลาง
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีละครหลวงขึ้นใหม่ พระราชทานพระบรมราชานุยาตให้พระบรมวงศานุวงศ์และเอกชนฝึกหัดละครผู้หญิงได้ เมื่อ พ.ศ.2398 เพราะตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ละครผู้หญิงจะมีได้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น ทำให้พวกตัวละครผู้ชายต้องผสมโรงเล่นกับละครผู้หญิง ซึ่งประชาชนนิยมมาก นับว่าเป็นเป็นวิวัฒนาการใหม่ เนื่องจากแต่เดิมละครผู้หญิงจะมีแต่เฉพาะในวังเท่านั้น
ด้วยเหตุที่การละครแพร่หลายไปสู่ประชาชนมากขึ้น จึงได้มรการบัญญัติข้อห้ามในการแสดงละครที่ไม่ใช่ของหลวง ดังต่อไปนี้
3.ห้ามใช้เครื่องประดับลงยา
4.ห้ามทำหัวช้างสีเผือก ยกเว้นหัวช้างเอราวัณ
2.ห้ามใช้เครื่องประกอบการแสดง ที่เป็นพานทอง หีบทอง ห้ามเป่าแตรสังข์
5.ห้ามฉุดบุตรชาย - หญิง ผู้อื่นมาฝึกหัดละคร
1.ห้ามมิให้ใช้รัดเกล้ายอด
ประกาศกฏหมายภาษีมหรสพเป็นครั้งแรก เรียกกันในสมัยนั้นว่า ภาษีโขนละคร เมื่อ พ.ศ.2402
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิถีชีวิตของคนไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนไปจากเดิม เพราะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก ทำให้ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์การละครได้มีการพัฒนาไปอีกรูปแบบหนึ่ง
นอกจากพระองค์จะทรงส่งเสริมให้เอกชนตั้งคณะละครกันอย่างแพร่หลายแล้วยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง
เงาะป่า
เรื่องลิลตนิทราช
ในสมัยนี้ยังได้กำเนิดละครเสภา และโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดเป็นครั้งแรก ซึ่งเนื้อเรื่องดัดแปลงมาจากละครรำ
ละครของเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง ตั้งชื่อโรงละครของท่านว่า ปรินซ์เทียเตอร์ แสดงทั้งละครนอก และละครใน ต่อมาเปลี่ยนเป็นละครพันทาง และเมื่อท่านถึงแก่สัญกรรม โรงละครของท่านจึงตกเป็นของเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) ท่านผู้นี้เรียกละครของท่านว่า ละครบุศย์มหินทร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ได้ทรงฟื้นฟูนาฏศิลป์การละคร
โดยทรงโปรดเกล้าฯให้ครูละครหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ร่วมกับครูละครหลวงสมัยรัชกาลที่ 4 แสดงละคร เรื่อง สังข์ทอง เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นแบบแผนฝีมือครู
โปรดเกล้าฯให้ละครหลวงเมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 แสดงละคร เรื่อง อิเหนา พระองค์ทรงส่งเสริมให้เจ้านายและเอกชนจัดตั้งคณะละครขึ้น ในสมัยนี้จึงมีคณะละครที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคณะ
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ เป็นสมัยที่ โขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์ เจริญถึงขีดสุด ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพเพื่อดูแลโขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์ และทรงตั้งโรงเรียนฝึกหัดศิลปะทางโขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์ขึ้น
พระองค์ได้พระราชนิพนธ์บทพากย์โขน ปรับปรุงวิธีแสดงโขน ให้แสดงบนเวที การแสดงโขนของพระองค์ เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ มีหลายตอน เช่น ตอนพรหมาสตร์ ตอนนางลอย
นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์ 4 เรื่อง ได้แก่ มหาพลี ฤาษีเสี่ยงลูก นรสิงหาวตาร และพระคเณศเสียงา โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ตำราฟ้อนรำ มีการถ่ายภาพตัวละครแทรกเป็นภาพประกอบ ซึ่งได้ใช้เป็นหลักในการศึกษาท่ารำในสมัยต่อๆมา
รัตนโกสินทร์ ตอนปลาย
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร