Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star: " การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค " :star: กลุ่ม อสูรนาฏทั้ง 5,…
:star:
" การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค "
:star:
กลุ่ม อสูรนาฏทั้ง 5
:red_flag:
ภาคกลาง
:red_flag:
:red_flag:
ภาคอีสาน
:red_flag:
:red_flag:
ภาคเหนือ
:red_flag:
:red_flag:
ภาคใต้
:red_flag:
" การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ "
เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดง ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือเรามักเรียกว่า " ฟ้อน " มีลักษณะคล้ายระบำ คือ มีผู้แสดงหลายคนเป็นชุดหมู่ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ แต่ที่ไม่เรียกว่าระบำ เพราะ ฟ้อนมีจังหวะและลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนระบำหรือการแสดงอื่น ๆ
แบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้ 3 ลักษณะ
1.ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
2.ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น ๆ อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟเอนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น
3.ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้น
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ
ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ฟ้อนเทียน
เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่ แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง
การแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น และความจำกัดของสถานที่ โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์ คือ ถือเทียน ๑ เล่ม การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้ ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ
" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง "
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง หรือรำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกาย ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
ได้แก่ วงปี่พาทย์
เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ
ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
สำหรับการแสดงภาคกลางที่ฉันเลือกคือ "ระบำชาวนา" ซึ่งผู้แต่งทำนองเพลงนี้คือ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ส่วนท่ารำนั้นท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้คิดและออกแบบท่ารำ เมื่อได้ชมการแสดงระบำชาวนา แล้วจะมีสุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ที่เกิดขึ้นดังนี้
ตัวละครนั้นจะเป็นชาวบ้านทั้งหญิงและชาย จะเป็นแต่งชุดม่อฮ่อม ซึ่งเป็นชุดที่เรียบง่าย ไม่หรูหรา เป็นชุดพื้นบ้าน ที่เห็นแล้วจะจะทำให้รู้ได้เลยว่าการแสดงชุดนี้ต้องเกี่ยวกับการทำนา
การแสดงระบำชาวนา เป็นการแสดงที่ไม่มีการขับร้อง ไม่มีเนื้อเพลง มีเพียงดนตรี ประกอบจังหวะซึ่ง เป็นดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเกี่ยวข้าว ฉะนั้นอุปกรณ์ที่ใช้จึง ได้แก่ เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าง กระด้ง เป็นต้น
ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง ดนตรีจะมีจังหวะที่สนุกสนาน เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และให้หายเหนื่อยจากการทำนา
ท่ารำจะเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น
" การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน "
กลุ่มอีสานเหนือ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า “เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มอีสานเหนือ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ
ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า “เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโหนบติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน
" แม่บัวผัน จันทร์ศรี "
ประวัติ
แม่บัวผัน จันทร์ศรี
เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม
เสียชีวิต 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (85 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
อาชีพ นักร้อง ครู เกษตรกร
ปีที่แสดง พ.ศ. 2478 - 2548
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้านภาคกลาง)
ผลงาน
แม่บัวผัน จันทร์ศรี
ปี 2526–2527 รับโล่ชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และศูนย์สังคีตศิลป์ ในพิธีเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านครั้งที่ 2 (สาขาเพลงพื้นบ้านภาคกลาง) ซึ่งในพิธีมอบรังวัลเชิดชูเกียรติศิลปินเพลงพื้นบ้านครั้งที่ 2 แม่บัวผัน จันทร์ศรี และยายทองอยู่ รักษาพล ได้ร่วมร้องเพลงฉ่อย อวยพรถวายแด่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร องค์ประธานในพิธี และได้รับประทานรางวัลเป็นเงินสดจำนวน 500 บาท จากพระหัตถ์
ปี 2533 ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (เพลงพื้นบ้าน)
" นครินทร์ ชาทอง "
ประวัติ
นครินทร์ ชาทอง
เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2488
เสียชีวิต 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เป็นครูหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงของไทยในอดีต และเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2550
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้านภาคใต้)
ผลงาน
นครินทร์ ชาทอง
พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับรางวัลขันน้ำพานรองในการแข่งขันกับหนังจเรน้อยหัวไทร และมโนราห์ปรีชา อํานวยศิลป์
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับรางวัลถ้วยเกียรติยศในงานฉลองพระอุโบสถวัดทรายขาว อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับรางวัลถ้วยเกียรติยศในงานฉลองพระอุโบสถวัดทรายขาว อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพิจารณาให้เป็นข้าราชการดีเด่นในการผลิตสื่อหนังตะลุงต่อต้านยาเสพติดและได้รับโล่เกียรติคุณจากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยได้รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๒๔กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
พ.ศ. ๒๕๔๒ เขียนบทและฝึกซ้อมนักเรียน โรงเรียนวัดเลียบ อําเภอคลองหอยโข่ง จนได้รับการคัดเลือกจากสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นตัวแทนของนักเรียนภาคใต้ เข้าร่วมมหกรรมการแสดงผลงานการเรียนรู้เรื่องพระมหาชนกกับชีวิตจริงของฉัน ในองค์ที่ ๒ “เพียรกล้า” ประกอบด้วยหนังตะลุง คนเพลงเรือแหลมโพธิ์ หนังตะลุงและโนรามาบูรณาการเป็นการแสดงชุด “ศิลปินทักษิณสมรม” แสดงถวายพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ทอดพระเนตร ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
-พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับพิจารณาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นภาคสังคมทั่วไป ด้านศิลปะวรรณกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๔ ด้านศิลปกรรม จากสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลราชมงคลสรรเสริญเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ (การแสดง) จากสถาบันวัฒนธรรมราชมงคลเฉลิมพระเกียรติ
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) พุทธศักราช ๒๕๕๐
" การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ "
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น
ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคใต้
โนรา
เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลายตำนาน เช่น ตำนานโนรา จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย เพราะการทรงตัว การทอดแขน ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ
ช่วงวงหน้า วงหน้า หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
ช่วงหลัง ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย
การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การรำโนรานั้น ลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจาก ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย
วิธีการแสดง การแสดงโนรา เริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู (เชิญครู) “พิธีกาดครู” ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน สรรเสริญครู สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น
การแต่งกาย การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่นๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ “พาไล” และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม “เทริด” ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักรแถบใต้ อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนราไป สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย
วงดนตรีประกอบ
เครื่องดนตรีโนรามี ๒ ประเภทคือ
๑. ประเภทเครื่องตี ได้แก่ กลองทับ โหม่ง (ฆ้องคู่) ฉิ่ง แกระ หรือ แตระ (ไม้ไผ่ ๒ อัน ใช้ตีให้จังหวะ)
ลิเกฮูลู
เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรี และจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี
ลักษณะการแสดง ลิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๑๐ คน เป็นชายล้วน มีต้นเสียง ๑ -๓ คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู จะยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกและรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ชม
ลิเกฮูลู เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชม ต่อจากนั้นนักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่นหรือเรื่องตลกโปกฮา ผู้แสดงจะต้องใช้คารมและปฏิภาณ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชม
การแต่งกาย ผู้เล่นลิเกฮูลูนิยมนุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะ
เครื่องดนตรีประกอบ เล่นลิเกฮูลู ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้อง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการร้อง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่า ทำให้ครึกครื้น สนุกสนานไพเราะมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการละเล่นคือ การตบมือ
โอกาสที่ใช้แสดง ลิเกฮูลูนิยมแสดงในงานมาแกปูโละ พิธีเข้าสุนัต และงานฮารีรายอ
" เปลื้อง ฉายรัศมี "
ประวัติ
เปลื้อง ฉายรัศมี
เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2475
ที่เกิด จังหวัดกาฬสินธุ์
เสียชีวิต 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (75 ปี)
แนวเพลง ดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง
อาชีพ นักดนตรีพื้นบ้าน
เครื่องดนตรี แคน, โปงลาง
รางวัล พ.ศ. 2529 - ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน-โปงลาง)
ผลงาน
เปลื้อง ฉายรัศมี
นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีอีสานที่มีความสามารถเป็นพิเศษคือ สามารถเล่น สอน และทำเครื่องดนตรีอีสานได้ทุกชนิดที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้ กอลอ (เกราะลอ) ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงกระบอกไม้ที่ใช้ตีไล่นกกาตามหัวไร่ปลายนา หรือขอลอที่ใช้ตีบอกเวลา บอกเหตุในหมู่บ้านธรรมดา กลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการเชิดชูเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ด้วยเหตุนี้นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2529
ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน
การฟ้อนภูไทเรณูนคร
การฟ้อนภูไทเรณูนคร เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ นั้น นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบัน
ในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชา การฟ้อนภูไทเรณูนคร เข้าไว้ในหลักสูตร ให้นักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ฝึกฝนเล่าเรียนกันโดยเฉพาะนักเรียนที่เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาภายในเขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จะฟ้อนรำประเพณี “ฟ้อนภูไทเรณูนคร” เป็นทุกคน
ลักษณะการฟ้อนภูไทเรณูนคร ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน
หญิงสาวที่จะฟ้อนภูไทเรณูนครต้อนรับแขก จะได้ต้องเป็นสาวโสด ผู้ที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้อนภูไทเรณูนคร เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนภูไทนั้น ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้
การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์
การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท มักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว ซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน
การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้อนภูไท ท่าฟ้อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด
ท่าฟ้อนของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนภูไทให้เป็นระเบียบ ๔ ท่าหลัก ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้อนของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอคำม่วง รวบรวมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงได้ทำการแสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
" เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ "
ประวัติ
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่
เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2456
เสียชีวิต 21 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (90 ปี)
อาชีพ ศิลปินพื้นบ้าน, อาจารย์
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2541 - สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา)
ผลงาน
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลกรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2533
เป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงพื้นเมืองภาคเหนือที่ยังจดจำคำร้อง ทำนอง ไว้อย่างครบถ้วน
ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินของกรมศิลปากร
เป็นบุคคลที่ร่วมก่อตั้ง วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ขึ้นใน พ.ศ. 2514
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ประจำปีพุทธศักราช 2541
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " ฟ้อนเทียน "
https://youtu.be/BjarOQq7Cbs?si=C3c5iNMxo2_nTAQo
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " ระบำชาวนา "
https://youtu.be/lUTBI55Uisw?si=q-atm1zeUEyv4kFt
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " รำโนราห์ "
https://youtu.be/hIo2SUquePk
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " ลิเกฮูลู "
https://youtu.be/p2fLNawKsjg
หนังตะลุง
หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า"การว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมดนั่นเอง
หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " หนังตะลุง "
https://youtu.be/y4iBPvCYUZ0
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " การฟ้อนภูไทเรณูนคร "
https://youtu.be/V8xS_MwsWpc
ตัวอย่างคลิปวิดิโอ " การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ "
https://youtu.be/-5J9HjJyFVo
" ซอ "
" สะล้อ "
" พิณเปี๊ยะ "
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
" กลองยาว "
" กลองโทน "
" ฉิ่ง "
" ฉาบ "
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
๒. ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่
" กลองทับ "
" โหม่ง "
" ฉิ่ง "
" แตระ "
" ปี่ "
" ขลุ่ย "
" ลูกแซก "
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
" ซอด้วง "
" กลองรำมะนา "
" พิณ "
" กลองกันตรึม "