Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -…
COPD
(Chronic Obstructive Pulmonary Disease)
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
พยาธิสรีรวิทยา
การสร้าง mucus มากกว่าปกติร่วมกับการทำงานผิดปกติของcillia ทำให้ผู้ป่วยไอเรื้อรัง มีเสมหะ ซึ่งอาจเป็นอาการนำของโรคก่อนที่จะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอื่นๆ
การตีบของหลอดร่วมกับการสูญเสีย elastic recoil ของเนื้อปอด ทำให้เกิด airflow limitation และ air trapping
การตีบของหลอดลม การทำลายของเนื้อปอดและหลอดเลือด จะมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้เกิดภาวะ hypoxemia และ hypercapnia ตามมา ซึ่งทำให้เกิด pulmonary hypertension และ cor pulmonale ในที่สุด
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยของ COPD เนื่องจากสารเคมีอันตรายในบุหรี่สามารถทำลายผนังด้านในของปอดและระบบทางเดินหายใจได้ รวมไปถึงการสูดเอาควันบุหรี่จากผู้อื่นหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทก็อาจเพิ่มความเสี่ยงได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สูบบุหรี่ก็อาจเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
การสูดดมควัน ฝุ่น หรือสารเคมี การทำงานในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ที่ต้องหายใจเอาฝุ่นผง ละอองสารเคมี หรือควันบางชนิดในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถสร้างความระคายเคืองกับระบบทางเดินหายใจ ทำลายเนื้อเยื่อปอด ส่งผลให้การทำงานของปอดแย่ลงได้ เช่น ไอหรือฝุ่นแคดเมียมในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ฝุ่นผงจากแป้งหรือธัญพืช ควันจากการเชื่อมเหล็กหรือโลหะ ฝุ่นหินทราย สารไอโซไซยาเนตในงานพ่นสี เป็นต้น
มลพิษทางอากาศ การสูดเอาอากาศที่มีการปนเปื้อนเป็นเวลานานจะส่งกระทบต่อการทำงานของปอดและอาจทำให้เกิด COPD ได้
พันธุกรรม ผู้ป่วย COPD บางรายอาจป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรมหายากจากการขาดอัลฟ่า 1 (Alpha-1-Antitrypsin Deficiency) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากตับและจะไหลเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อช่วยปกป้องปอดไม่ให้ได้รับความเสียหาย โดยการขาดอัลฟ่า 1 จะส่งผลให้ตับและปอดถูกทำลาย ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้จึงมีแนวโน้มเกิด COPD ได้ก่อนอายุ 35 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน แต่บางกรณีอาจเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงๆ
โรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดแล้วสูบบุหรี่
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด ซึ่งอาจกลายเป็น COPD ได้ในภายหลัง
อายุ COPD จะค่อย ๆ เกิดอาการอย่างช้า ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยอายุ 40 ปีขึ้นไป
ได้รับสิ่งกระตุ้นซ้ำ
Acute Exacerbation
โรคกำเริบแบบเฉีบบพลัน ผู้ป่วยไม่สามารถปรับเปลี่ยนแบบแผนในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการรักษาที่เกิดจากโรคได้ เนืองจากขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเอง
การให้ความรู้กับผู้ป่วยเเละญาติ ในการดูแลตนเอง การปฏิบัติตัวในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การออกกำลัง การใช้ยาในการรักษาให้ถูกต้อง การมาตรวจตามนัดหมาย รวมถึงการจัดสิ่งเเวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเเบบเฉียบพลัน
อาการของเคสกรณี
มีอาการไอ หายใจเหนื่อยหอบ มา5ชั่วโมง
การตรวจร่างกาย
ฟังปอดจะได้ยินเสียงRhonchi และ Wheezing both ทั้ง2 ข้าง
T= 37.2 C ,PR= 112 ครั้ง/นาที ,RR= 32 ครั้ง/นาที
BP= 106/66 mmHg ,O2= 96%
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลตรวจX-ray
Right lower lung infiltration
PMN 86.6% สูง
Lymph 8.3% ต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลมจากภาวะCOPD
ข้อมูลสนับสนุน
O: หายใจเสียงดัง และฟังปอดได้ยินเสียงWheezing ทั้ง 2 ข้าง
O: อัตราการหายใจ 32 ครั้ง/นาที ลักษณะการหายใจแรง o2=96%
O: ผลX-ray: Right lower lung infiltration
O: มีประวัติเป็นโรคปอดอุดอั้นเรื้อรัง
S: หายใจเหนื่อย หอบ
S: ไอมีเสมหะขาว ขุ่น เหนียวข้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
ฟังปอด ไม่ได้ยินเสียง Wheezing หรือลดลง
อัตราการหายใจ อยู่ในช่วง 18-24 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอดี ความเร็ว ความลึกและจังหวะในการหายใจปกติหรืออัตราการหายลดลงจากเดิม32ครั้ง/นาที O2 มากกว่า 90%
ไม่มีภาวะร่างกายขาดออกซิเจน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจว่าการหายใจเร็วและแรงขึ้น หายใจลำบาก หรือการใช้กล้ามเนื้อคอและไหล่ช่วยในการหายใจหรือไม่
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา เพื่อลดการเหนื่อยหอบ และลดอาการไอ ลดเสมหะในลำคอ ตามแผนการรักษาและการประเมินผลข้างเคียงของยา
ฝึกให้ผู้ป่วยบริหารการหายใจให้ถูกต้อง โดยหายใจเข้าลึกๆ ให้ท้องป่องแล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ จนหมดเพื่อลดการเกิด airway collapse และฝึกกล้ามเนื้อกระบังลมให้แข็งแรง
ให้ออกซิเจน Cannula 5ลิตรต่อนาที เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดออกซิเจน
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง เพื่อทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงไม่ไปดันปอดทำให้ปอดได้ขยายตัวได้ดี การระบายอากาศ และการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปได้ดีขึ้น
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการ หายใจเหนื่อยหอบ ฟังเสียงปอด ไม่ได้ยินเสียง Wheezing ไม่มีไข้ ไม่ไอ
วัดสัญญาณชีพ
T= 36.6c,BP = 123/81 mmHg
PR= 82/min ,RR =20/min
ได้รับยาตามแผนการรักษา
ไม่มีอาการข้างเคียงจากยา
ไม่มีภาวะร่างกายขาดออกซิเจน ริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้า ไม่เขียว ออกซิเจนในร่างกาย 96%
แบบแผนที่ 4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
ยาที่ใช้ในการรักษา
-Augmentin1x2 po pc
-Seretide(50/250)1puffBID
-Spiriva(18mcg)1puff OD
-Theophyline(200)1x1po pc
-Meptin1/2x2po pc
-Zyrtec1xhs-Bromhexine1x3po pc
-ยาแก้ไอมะขามป้อม จิบ prn
-Paracetamol(500)1tab po prn
-Dextro1x3po pc
-Ativan(0.5)1xhs prn for insomnia
-มะขามแขก2tabxhs
-Air-x 1x3 po pc
-Alummilk 30mlx3po pc
-Losec(20)1x1po ac
-Berodual 1NB q 4 hr c prn
-Ventolin1 NB q 8 hr
-Dexa 4 mg IV q 6 hr mg IV q 6 hr
อาการ
มีอาการไอเรื้อรัง และมีเสมหะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
มีอาการหอบเหนื่อย เวลาทำกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเวลาที่ออกแรง
หายใจได้ลำบาก แน่นหน้าอก และมีเสียงหวีดได้ในลำคอ
เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้บ่อยๆ
อาการอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเป็นสีม่วง เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด แขน ขา หรือข้อเท้าบวม หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป