Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.+ต่อ อ.ผกาพรรณ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางจิตวิทยา การให้คำปรึกษาและการแนะแน…
3.+ต่อ อ.ผกาพรรณ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางจิตวิทยา การให้คำปรึกษาและการแนะแนว
4.2.5 ทฤษฎีการให้คำปรึกษาและการนำไปประยุกต์ใช้
2) ระดับความรู้สึก
การให้คำปรึกษาแบบจิตบำบัด Gestalt
เกสตอลท์
นักจิตวิทยกลุ่มเกสตอลต์มีพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการรับรู้ (perception) และการแก้ไขปัญหา (problem solving) โดยวิธีการหยั่งเห็น (insight) หลักสำคัญเกี่ยวกับการ รับรู้ ของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตอลต์ นำไปใช้เป็น พื้นฐานในจิตบำบัดแนวเกสตอลต์ ดังนี้
เน้นการรับรู้ในตนเอง (self awareness) โดยไม่ เน้นการใช้ความคิดสติปัญญา แต่มุ่งการสัมผัสของตนเอง กล่าวว่า "lose your mind, come to your sense"
การพยายามปล่อยวางอดีต
ให้ความสำคัญต่อสภาวะปัจจุบัน
4.การจุดประกายการปล่อยวางประสบการณ์เดิม เพื่อเปิดตัวเองสําหรับการเผชิญต่อประสบการณ์ปัจจุบัน
5.การรับรู้และการยอมรัตนเองตามสภาพที่เป็นจริงเต็มที่จะนำไปสู่การทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองและในขณะเดียวกันก็พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
แนวคิดธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์เป็นอิสระจากอดีต อยู่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถจัดการกับอดีตและอนาคตได้ แต่สามารถดำเนินการกับปัจจุบันได้ มีคํากล่าวเกี่ยวกับแนวความคิดของเกสตัลท์ว่า “จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเลื่อยลอยไปกับอนาคต”
เทคนิคให้การปรึกษา
1.การใช้จินตนาการโดยการเปรียบการรับรู้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
2.การอยู่กับความรู้สึก คือ ให้รู้รับบริการเล่าถึงเหตุการณ์ที่ เกิดในอดีต
3.การพูดโต้ตอบ คือ การช่วยให้ผู้รับบริการรับรู้ตนเองใน
ด้านต่าง ๆ
4.ภาษาท่าทาง คือ ผู้ให้บริการปรึกษาสนใจท่าทางของผู้รับบริการ
จุดมุ่งหมาย
ช่วยให้ผู้รับการปรึกษากล้าเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่าง ไปจากบุคคลอื่น เข้าใจในค่านิยมและกฎเกณฑ์ของสังคม
ให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนพฤติกรรมจากการพึ่งพาผู้อื่น สู่การพึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อตนเองพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะ
ให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ เกี่ยวกับตนเอง สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน รู้จักปล่อยวางอดีตโดยการทําความรู้สึกที่คั่ง ค้างให้สมบูรณ์ และไม่วิตกเกี่ยวกับอนาคต
การให้คำปรึกษาแบบอัตถิภาวะนิยม
คาร์ล โรเจอร์ ได้พัฒนาทฤษฎีการเข้าใจตนเองโดยคนเราแรงขับพื้นฐานภายในที่จะบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเอง (Self-Actualizing) และโรเจอร์ให้ความสำคัญการเลี้ยงดูของแม่ที่จะมีอิทธิพลกับบุคลิกภาพของลูก และให้ความสำคัญกับอัตมโนทัศน์ (Self Concept) ที่เป็นมุมมองเกี่ยวกับตนเองประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ตัวตนในอุดมคติ (IdealSelf) ภาพลักษณ์เกี่ยวกับตัวตนที่ดี (Self Image) การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem)
แนวคิด
ตามแนวคิดของโรเจอร์ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ และนิยามความโน้มเอียงนี้ว่า “ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ” ของอินทรีย์ที่จะพัฒนาความสามารถทั้งหมดของตนเอง ซึ่งช่วยในการธำรงไว้ และความก้าวหน้าของอินทรีย์นั้น ความโน้มเอียงที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ เป็นแรงผลักดันหลักของมนุษย์
หลักการ
เชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า บุคลิกภาพของมนุษย์เกิดขึ้นจากความคิด ความรู้สึกของบุคคลต่อตนเอง (Self concept) ซึ่ง Self concept นี้จะประกอบไปด้วย ตัวตนในสภาพที่เป็นจริง (Real self) ตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น (Perceived self) ตัวตนในอุดมคติ (Ideal self)
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาค้นพบ เข้าใจ และยอมรับตนเองหาทางที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้ากับความเป็นจริงเข้าใจตนเองว่าอะไรคืออุปสรรคของความเจริญงอกงามของตน รับรู้ถึงสิ่งที่ทำให้รับ รู้ตนเองผิดไปจากความเป็นจริง
เทคนิค
เทคนิค
การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Intensive Listening )และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นจริงใจ
การยอมรับฟังในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับการปรึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่ตัดสิน
การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
การทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัด (Clarifying)
การสนับสนุน (Supportive)
การให้คำปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง
ประวัติ
ชื่อ คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers)
เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1902 ที่เมืองโอ็กปาร์ค (Ork Park) รัฐอิลินอยส์ (Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นผู้ที่ยกระดับวิชาชีพจิตวิทยาให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากมหาชน
ปริญญาเอกในสาขา ทางด้านจิตวิทยา
ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbis University)
ทฤษฎี
ทฤษฏีของโรเจอร์เนน้ถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อ ในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราโดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล
มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
ตนตามที่ตนมองเห็น หรืออัตมโนทัศน์ (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเอง ว่า ตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถลักษณะเพราะตนอย่างไร
ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมอง ไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น
ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัวแต่อยากเก่งเข้าสังคม
ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด
โรเจอร์สตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก
การประยุกต์ใช้ด้านการ เรียนการสอน
เป็นแนวทางในการให้คำปรึกษาหรือแนะนำนักเรียน
ของตน โดยที่ไม่เป็นการชี้นำทางแต่จะมุ่งให้นักเรียนได้มีสภาพแวดล้อมและเข้าถึงข้อมูลที่นักเรียนต้องการ
ครูสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจตนเองและยอมรับตนเองได้
ช่วยให้เด็กสามารถปรับตนตัวจริงกับตนในอุดมการณ์ให้ สอดคล้องกันได้
หลักการเรียนรู้
ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางนั้นจะเน้นการให้คำปรึกษาแบบ ไม่นำทาง เพราะมุ่งเน้นในตัวของผู้รับคำปรึกษาจากการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อ การสร้างสรรค์และตระหนักรู้แห่งตนของผู้รับคำปรึกษา ให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นความสำคัญต่อการรับผิดชอบ และความสามารถในตัวของผู้รับคำปรึกษาเอง ค้นหาพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับตนเอง ด้วยการเปิดรับประสบการณ์ มีความไว้วางใจในตนเอง เพื่อให้เป็นตัวของตัวเองอย่างที่เป็นอย่างถูกต้อง
ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างสัมพันธภาพของบุคคล โดยการช่วยเหลือที่ผ่านสัมพันธภาพกับผู้ให้คำปรึกษาที่ให้ความเอาใจใส่ เข้าใจและมีความจริงใจ ไม่เน้นการใช้เทคนิคที่ตายตัว ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้เจตคติในการเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
1) ระดับความคิด
เชิงองค์ประกอบลักษณะนิสัย
การบำบัดการรู้คิด อารมณ์ให้มีเหตุผล
3) ระดับพฤติกรรม
การให้คำปรึกษาเชิงพฤติกรรมนิยม
ความเป็นมา
เกิดจากผู้นำสำคัญหลายคนมาศึกษาค้นคว้าทดลอง จนสามารถสรุปทฤษฎี
วีวานอเปโตรวิช พาฟลาฟ
จอนห์น บี.วัตสัน
โจเซฟ โวลเป้
บี.เอฟ.สกินเนอร์
อันเบิร์ต แบนดูรา
จอห์น ครัมโบลท์
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์เกิดมาด้วยความว่างเปล่า ไม่ดีหรือไม่เลว
มนุษย์สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลและ สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้
มนุษย์สามารถเรียนรู้และสร้างพฤติกรรมขึ้นใหม่ได้
พฤติกรรมของมนุษย์ต่างมีอิธิพลซึ่งกันและกัน
หลักการ
เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ใหม่ โดยมีรากฐานมาจากทฤษฎีซึ่งเน้นการเปลี่ยนพฤติกรรม มีหลักการในการให้การปรึกษา ดังนี้
1.มนุษย์สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง หรือเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
2.พฤติกรรมของบุคคลได้มาจากการเรียนรู้ ไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาจะต้อง เข้าใจที่มาของพฤติกรรม และใช้หลักการเรียนรู้วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล
3.พฤติกรรมของบุคคลเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ดังนั้นจึงสามารถคาดคะเนพฤติกรรมของบุคคลได้ และถ้าสามารถควบคุมเหตุการณ์เหล่านั้นได้ ก็จะสามารถควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
4.พฤติกรรมที่นำความชื่นชมหรือลดความไม่พอใจ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นซ้ำ
5.ความกลัวและความวิตกกังวลเป็นสิ่งที่ได้มาจากการเรียนรู้
แนวคิดการเรียนรู้ สามารถจำแนกได้ 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก แนวคิดของพาพลอฟ
การเรียนรู้เกิดจากเงื่อนไขสิ่งเร้า
ระยะที่ 2 ทฤษฏีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำแนวคิดของสกินเนอร์ การเรียนรู้เกิดจากเงื่อนไขการกระทำ
ระยะที่ 3 ทฤษฏีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม แนวคิดของแบนดูรา การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการการ
สังเกตและกระบวนการทางปัญญาผู้รับการรักษาที่เหมาะสมกับทฤษฎี
สำหรับประเภทของปัญหาที่มีความเหมาะสมมากที่สุดกับทฤษฏีนี้ คือ อาการกลัวประเภท phobia ทั้งหลาย (เช่น กลัวแมงมุม กลัวที่สูง กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวสังคม) การย้าคิดย้าทา ปัญหาทางเพศ (เช่น การหลั่งเร็ว อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์) ปัสสาวะรดที่นอน พูดตะกุกตะกัก และผู้ที่มีปัญหาทางทักษะ ทางสังคม
จุดมุ่งหมาย
ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ขจัดพฤติกรรมผิดปกติ (Maladaptive behavior)
2.พยายามให้พฤติกรรมพึงประสงค์คงอยู่ถาวร
ช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความคิดที่เต็มไปด้วยเหตุผล สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ขึ้น เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการณ์ที่เกิดก่อนกับผลที่ตามมา
การให้คำปรึกษาแบบจิตบำบัดที่เน้นความจริง
แนวคิดสำคัญของทฤษฎี
“จงรับผิดชอบและควบคุมชีวิตของท่านและเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของท่าน”
มนุษย์มีเอกลักษณ์ของตนเอง
Success identity
บุคคลมองเห็นว่าตนเองมีความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อตนเองและบุคคลอื่น
Failure identity
มองตัวเองในแง่ลบ ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนอื่น รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่รัก ไม่มีใครต้องการ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
มนุษย์มีความต้องการของตนเอง
เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีพลังแห่งการพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
มนุษย์สามารถที่จะพัฒนาเอกลักษณ์ของตนได้หากบุคคลเหล่านั้นมีประสบการณ์ที่สำคัญสองประการ
love
บุคคลสามารถให้ความรักแก่ผู้อื่นและได้รับความรักจากผู้อื่น
worth
บุคคลมีความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อผู้อื่น
ประวัติความเป็นมา
William Glasser (วิลเลียม กลาสเซอร์)
ผู้ริเริ่มการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
จิตแพทย์ชาวอเมริกัน
มีประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
ผสมผสานแนวคิดของ
เอลลิส (Ellis) REBT
แนวคิดของโรเจอร์ส (Rogers) ในเรื่องการให้บริการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง
กระบวนการให้การปรึกษา
มีขั้นตอนดังนี้
การใช้ระบบ W D E P System
W (Wants) คือ การที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการค้นพบความต้องการของเขา
D (Describe) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาอภิบายวิถีชีวิตของเขาว่าเขาทำอะไรในแต่ละวัน
E (Self Evaluation) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการประเมินพฤติกรรมของตนเอง
P ( Plan) คือการที่ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
สำรวจความต้องการและการรับรู้ของผู้รับคำปรึกษา (Exploring Wants, Need and Perception)
เพ่งความสนใจที่พฤติกรรมปัจจุบัน (Focus on Current Behavior)
3.ให้ผู้รับคำปรึกษาประเมินพฤติกรรมตนเอง (Getting Client to Evaluate their Behavior)
การวางแผนและสร้างข้อผูกพัน (Planning and Commitment)
เทคนิคการให้การปรึกษา
การแนะนำตามหลักความเป็นจริง
เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ
การแสดงบทบาทสมมุติ
การสะท้อนความรู้สึก
การทำให้เกิดความกระจ่าง
การเงียบ
การสังเกต
การเผชิญหน้า
การใช้คำถามชักนำ
การสร้าอารมณ์ขัน
เป้าหมายของการให้กาปรึกษา
ช่วยให้บุคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหา และมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง
ป้องกันไม่ให้บุคคลปล่อยชีวิตล่องลอย โดยสนับสนุนให้วางโครงการในอนาคตและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการไปตามโครงการที่วางไว้
ส่งเสริมให้บุคคลมีวุฒิภาวะ คือเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตนเองได้
ช่วยให้บุคคลรู้จักตนเองว่าตนเป็นใครเขาต้องการอะไรในชีวิต
ช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น
ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตน โดยแนะแนวทางให้รู้จักวิธีสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความผู้พันทางสังคม
ช่วยให้บุคคลรู้จักประเมินค่านิยม รู้จักพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดสิ่งใดควรกระทำหรือพึงละเว้น
ปรัชญาในการใช้พิจารณามนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และมีความรับผิดชอบในชีวิตของตน
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางจิตใจ 2 ประการ
มนุษย์ต้องการมีเอกลักษณ์ของตน
แรงจูงใจที่สำคัญในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ คือ การตอบสนองความต้องการของตน
ไม่ใช่อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
เมื่อมนุษย์มีโอกาสจะเรียนรู้ความรักและได้รักคนอื่น
เขาจะรู้สึกว่าตนเองมีค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่ามนุษย์จะได้รับความรักหรือไม่ เขาต้องพยายามคงพฤติกรรมที่ทำให้ได้รับความพึงพอใจไว้
เพื่อคงความรู้สึกที่มีคุณค่าไว้
เมื่อบุคคลเกิดความคับข้องใจ ในการตอบสนองความต้องการ และเริ่มหลีกหนีความจริงรอบตัว บุคคลจะสูญเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
คนที่มีสุขภาพจิตดี
ผู้ที่มีความรับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต
มีเอกลักษณ์แห่งตนและมีจุดมุ่งหมายในชีวิต