Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง - Coggle Diagram
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง
โทรศัพท์
ยุคที่หนึ่ง (1G) เป็นระบบแอนะล็อกที่ใช้สัญญาณวิทยุในการรับส่งคลื่นเสียง (voice) เท่านั้น ไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูล (data) ใด ๆ ทั้งสิ้น
ยุคที่สอง (2G) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเข้ารหัสคลื่นเสียง ก่อนส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟไปยัง ปลายทาง นอกจากนี้ยังสนับสนุนการรับส่งข้อความ (text messaging)
ยุคที่สี่ (4G) เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับ 3G และระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีแบนด์วิดท์มากขึ้น และมีต้นทุนลดลง
ยุคที่สาม (3G) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยี 2G ให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เพิ่มความจุ และให้ การสนับสนุนด้านมัลติมีเดีย
ยุคที่ห้า (5G) เป็นการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถและแบนด์วิดท์สูง ซึ่งช่วยรองรับการใช้ งานประยุกต์ใหม่ ๆ ที่เทคโนโลยี 4G ไม่สามารถทำได้**
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (1946 - 1959) เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หลอดสูญญากาศนี้มีหน้าตาคล้ายๆ หลอดไฟใสๆ ทำหน้าที่เหมือนสวิทช์เปิด ปิด วงจรไฟฟ้าต่างๆ ให้เชื่อมต่อกัน ซึ่งมีข้อเสียหลายอย่าง คือ ต้องใช้หลอดสูญญากาศจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประมาณว่าเป็นห้องๆ เลยทีเดียว และการทำงานต้องใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องเกิดความร้อนสูงและมักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย และหลอดสูญญากาศยังมีอายุการใช้งานต่ำ เก็บข้อมูลด้วย Magnetic Drum ที่เก็บได้น้อยนิดมาก และการป้อนคำสั่งให้เครื่องทำงาน ก็ใช้แบบเป็นกระดาษแข็งเจาะเป็นรูๆ หน้าจอก็ไม่มีนะ ประมวลผลเสร็จก็เก็บผลไว้ในแถบแม่เหล็กต้องมาส่องกันเอาเอง ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ เช่น มาร์ค วัน (MARK 1), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (1959 - 1965) คอมพิวเตอร์ยุคนี้เริ่มใช้ทรานซิสเตอร์ เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แทนหลอดสูญญากาศ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ความเร็วในการทำงานสูง ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยลง ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตลดลง ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า ยุคนี้ใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำหลักและตอนปลายยุคใช้จานแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรอง เริ่มใช้ชุดคำสั่งภาษาระดับสูง เช่น COBOL, FORTRAN, ALGOL ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ IBM 1620 เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (1965 - 1972) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit) ซึ่งเป็นแผ่นซิลิคอนที่สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ไว้จำนวนเป็นพันๆ ตัว เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง ป้อนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง อาทิ COBOL, FORTRAN-II to FORTRAN-IV, PASCAL, ALGOL-68 ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้มากขึ้น และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM360
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (1972 - 1980) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Circuit) คือ การใช้เทคโนโลยีรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงไปอีกมาก และพัฒนากลายเป็นวงจร VLSI (Very Large -Scale Integrated Circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่า 1 ล้านตัว และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ลงในชิปตัวเดียว นั่นคือส่วนของ CPU (Central Processing Unit) อยู่บนชิปตัวเดียวเรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM 370 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก คือ Altair 8800 , a\Apple II เป็นต้น ภาษาที่ใช้ในยุคนี้ได้แก่ C, C++, and Dbase และเริ่มมีโปรแกรม word processing, spreadsheet, โปรแกรมช่วยวาดรูปต่างๆ และยังเริ่มเข้าสู่ยุค CD-ROM และยุคการเชื่อมต่อกันของคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง (Computer Networking)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (1982 - ปัจจุบัน) ยุคของวงจร VLSI เป็นช่วงที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ทางสถาปัตยกรรมโครงสร้าง ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีขนาดที่เล็กลงมากๆ มีหน่วยความจำขนาดใหญ่มาก เราจึงเห็น Laptop, Notebook ขนาดเล็กที่พกพาได้สะดวก หรือ Super Computer ที่ทำงานได้เร็วมากๆ ส่วนด้านซอฟต์แวร์ เราก็ระบบปฏิบัติการ MS Windows, Linux และการพัฒนาภาษาที่ใช้ใหม่ๆ เช่น C++, JAVA และมีโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้กันมากมาย ที่สำคัญในยุคนี้ยังเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตที่คอมพิวเตอร์ทั้งโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยนะ
รถยนต์
เทคโนโลยี ABS คิดค้นมาจากเทคโนโลยีการบินที่เริ่มคิดระบบเบรกขึ้นมาโดยเป็นการต่อยอดจากระบบดรัมเบรก ซึ่งเริ่มในสมัยปีค.ศ.1929 ยุคเฟื่องฟูของดรัมเบรก เพื่อพัฒนาให้การเบรกหยุดความเร็วของเครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อปีค.ศ. 1960 ระบบ ABS ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเริ่มมาจากการนำมาติดตั้งใช้ในสนามแข่งรถก่อนที่จะแพร่หลายไปถูกติดตั้งในรถยนต์ทั่วไปบนท้องถนน โดยค่าย Ford เป็นผู้เริ่มบุกเบิกให้การใช้งาน ABS โดยรถรุ่นแรกที่ใช้คือ Ford Zephyr และปีเดียวกันนั้นทางค่ายรถจากญี่ปุ่น Nissan ก็มีระบบเดียวกันถูกพัฒนาออกมาในรุ่น Nissan President นับว่าเป็นรถคันแรกจากฝั่งญี่ปุ่นที่มีระบบ ABS
เด็กชาย Ralph Teetor วัย 5 ขวบกลายเป็นผู้พิการทางสายตาจากอุบัติเหตุ และเมื่อเติบโตขึ้นเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำงานของรถยนต์ การจุดประกายคิดค้นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติวงการรถยนต์เริ่มขึ้นเมื่อในวันหนึ่งของการเดินทางเขาสังเกตุว่าทนายความเจ้าของรถที่เขานั่งมาด้วยจะทำการชะลอรถทุกครั้งขณะที่หันมาสนทนากับเขา และกลับไปเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้รับฟัง ซึ่งจังหวะการเร่งสลับชะลอรถเช่นนี้สร้างความรำคาญให้แก่ทีเตอร์เป้นอย่างมาก เขาจึงเกิดไอเดียที่จะคิดค้นระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติขึ้นมาให้ได้
เทคโนโลยีไฮบริดฟังดูแล้วเหมือนเป็นอะไรที่ทันสมัย หลายคนอาจคิดว่าการเริ่มต้นของไฮบริดอยู่ในยุคสมัยใหม่ ก่อกำเนิดขึ้นพร้อมกับรถยนต์ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นรถยนต์ไฮบริดคันแรกของโลก แต่อันที่จริงแล้วคุณหรือไม่? ว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมผสมผสานระหว่างแบตเตอรี่และเครื่องยนต์มาการคิดค้นมายาวนานกว่าที่คิด เมื่อปี 1900 นักผลิตรถยนต์ชาวออสเตรีย Jakob Lohner มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหารถยนต์เสียงดังและน้ำมันที่ส่งกลิ่นเหม็นจากการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงได้ทำการหารือกับ Ferdinand Porsche ชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งรถยนต์ Porsche และเกิดแนวคิดสร้างระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ผสานเข้ากันในรถยนต์ และได้มีการติดตั้งก่อนนำไปแสดงโชว์ครั้งแรกที่กรุงปารีสใรปี 1900 และนั่นก็ถือว่าเป็นรถยนต์ไฮบริดคันแรกของโลก
ระบบความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานในรถยนต์ทุกคันในปัจจุบัน ถูกบันทึกเอาไว้ถึงจุดเริ่มต้น โดยกล่าวอ้างเอาไว้ว่าถุงลมนิรถัยที่ใช้ในรถยนต์นั้นถูกผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1941 ในลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปอากาศ และจากในรายงานปี 1951 เผยข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น โดยมีรายละเอียดบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1953 วิศวกรอุตสาหกรรมและสมาชิกของกองทัพเรือสหรัฐฯ อเมริกัน จอห์น แฮทริค ได้มีการออกสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการจดทะเบียนถุงลมที่เขาออกแบบบนพื้นฐานของประสบการณ์ของเขาเองด้วยการบีบอัดอากาศจากตอร์ปิโด ระหว่างการให้บริการของเขาในกองทัพเรือ บวกกับความปรารถนาที่จะให้ความคุ้มครองแก่ครอบครัวของเขาเองในรถยนต์ของพวกเขาในระหว่างที่มีการเกิดอุบัติเหตุ
แรกเริ่มของระบบความปลอดภัยในรถยนต์ สมัยที่ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 2 จุดอย่างแพร่หลาย กลับพบปัญหามากมายที่ผู้ใช้งานรถยนต์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านอกจากจะป้องกันความปลอดภัยได้ไม่ดีแล้ว เหมือนว่าจะสร้างปัญหาให้มากขึ้นอีกด้วยซ้ำ จึงเกิดการคิดค้นเข้มขัดนิรภัยขึ้นมา เป็นการต่อยอดเข็มขัดแบบ 2 จุดเป็น 3 จุด โดยผู้คิดค้นเป็นชาวอเมริกันสองคนคือ Roger Griswold และ Hugh DeHaven ซึ่งรูปแบบของเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดใหม่มีชื่อเรียกว่า CIR หรือ Griswold restrain แต่อย่างไรก็ตามผลงานของทั้งคู่ยังไม่ได้นำมาถูกใช้งานในรถยนต์
ย้อนความกลับไปเมื่อปีค.ศ. 1928 บริษัทผู้ผลิต Battery Eliminators นามว่า Galvin Manufacturing Corporation ถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้การจัดตั้งของสองพี่น้องตระกูล Galvin นั่นคือ Paul V. Galvin และผู้เป็นพี่ชายนามว่า Joseph Galvin โดยบริษัทผลิตแบตเตอรี่นี้ ได้ทำให้เครื่องวิทยุที่ใช้กระแสไฟในบ้านสามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ แต่ธุรกิจนี้ดำเนินการไปได้เพียงแค่ปีเดียว ก็เผชิญภาวะตลาดหุ้นล่มสลายจากพิษเศรษฐกิจอันตกต่ำในยุคนั้น และนั่นทำให้ Battery Eliminators มีบทบาทในตลาดน้อยลงและกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปในที่สุด สองพี่น้องจึงต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจของตนดำเนินการต่อไปได้เพื่อความอยู่รอด