Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักภาษาไทย, 3.เสียงวรรณยุกต์ (เสียงดนตรี)
มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง ได้แก่…
คำต่างประเทศในภาษาไทย
ภาษาไทย มีคำใช้มากมายทั้งคำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาอื่น การนำคำจากภาษาอื่นมาใช้ โดยเฉพาะจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน และอังกฤษ เกิดจากการติดต่อทั้งทางการค้า การทูต การถ่ายทอดศิลปะวิทยาการ การเผยแผ่ศาสนา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมการรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้นั้น ไทยเรามีวิธีออกเสียงให้เป็นแบบไทย ไม่ว่าจะเป็น บาลี สันสกฤต เขมร พม่า ลาว จีน ชวา มลายู อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส หรืออาหรับ การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มากขึ้น ลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดาของทุกภาษาในโลก
-
ภาษาเขมร
คำยืมจากภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- มักใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เสวย เขนย ถวาย ขนง โปรด ตรัส
- คำเขมรที่ใช้ในคำสามัญทั่วไป เช่น กระบือ กระบาล (กบาล) โตนด โขมด จมูก เสนียด เพนียด ตำบล ถนน จังหวัด ทำเนียบ ลำเนา ชุมนุม ชมรม ฯลฯ
- คำเขมรที่เป็นคำโดดคล้ายกับภาษาไทย จนเราเองลืมไป คิดว่าเป็นคำไทยเพราะความใกล้ชิด ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนเราเกิด แต่มีที่สังเกตได้ว่าเป็นคำเขมร ต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข (ดวงจันทร์) บาย (ข้าว) เมิล (มอง) ศก (ผม) ฯลฯ
-
ภาษาจีน
ภาษาพื้นถิ่นเดิมของไทยมีลักษณะเรียบง่าย เป็นคำโดด และมีการผันเสียงวรรณยุกต์ จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท ซึ่งใช้กันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบตอนใต้ของจีน หากไม่นับการดัดแปลงอักษรขึ้นใช้เอง ตามระบบผสมคำแบบบาลีและสันสกฤตแล้ว ภาษาไทยเดิมมีความใกล้ชิดกับภาษาจีนมากกว่า
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ชาวจีนเข้ามาค้าขาย แลกเปลี่ยนศิลปะ รวมถึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานในสยาม จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ภาษาจีนจะเข้ามาปะปนกับภาษาไทย จนมีคำศัพท์จากภาษาจีนที่เราใช้กันจนติดปากและ ยากที่จะหาคำอื่นมาแปลได้
-
ภาษาอังกฤษ
คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จากการติดต่อค้าขาย และการทูต จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด และการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบัน คนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่างๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะ ทั้งในวงการศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เรารับภาษาอังกฤษมาใช้ในรูปแบบของการทับศัพท์เท่านั้น การทับศัพท์หมายถึง การถ่ายเสียง และถอดตัวอักษรเป็นภาษาไทย
ตัวอย่างคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย
กราฟ การ์ตูน กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซล ดอลลาร์ ดีเปรสชัน เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซีน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน
-
เสียงและอักษรในภาษาไทย
เสียงในภาษา
ประกอบด้วย
เสียงพยัญชนะ
:
เสียงพยัญชนะเกิดจากลมที่ถูกขับออกจากปอด ผ่านมาตามหลอดลม กระทบเส้นเสียงในหลอดลม แล้วผ่านมาถึงลำคอ ลมที่ออกมานี้จะถูกกักกั้นไว้ในส่วนต่างๆ ของช่องปากบางส่วน หรือถูกกักทั้งหมดแล้วจึงปล่อยออกมาทางปากหรือขึ้นจมูกก็ได้ ทำให้เรารู้สึกว่าการออกเสียงพยัญชนะไม่สะดวกเท่ากับการออกเสียงสระจุดที่ลมถูกกักกั้นแล้วปล่อยออกมานั้นที่เกิดของเสียง
-
-
-
- เสียงสระ (เสียงแท้)
- สระเดี่ยว 18 ตัว
อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
- สระประสม 3 ตัว
สระเอีย สระเอือ สระอัว
-
ธรรมชาติของภาษา
ภาษาคือการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าคนหรือสัตว์ เมื่อรวมกันเป็นกลุ่ม ย่อมมีการสื่อสารระหว่างกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้
พลังของภาษา
การสื่อสารของมนุษย์สร้างและพัฒนาภาษาขึ้นมา และในทางกลับกัน ภาษาก็ได้ช่วยก่อร่างวิธีคิด วิธีเข้าใจโลกแก่มนุษย์ ก่อให้เกิดวิถีที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” หรือ “อารยธรรม” ขึ้นมาในสังคมมนุษย์โลก รูปแบบที่แตกต่างกันของภาษาแต่ละภาษาในโลก ก่อเกิดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
- ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สังคมธำรงอยู่ได้
- ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล การใช้สำนวนภาษาของแต่ละคนแสดงถึงลักษณะเฉพาะตน
- ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิด ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ
- ภาษาช่วยกำหนดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ภาษาช่วยจรรโลงใจ เช่น บทเพลง นิทาน นิยาย คำอวยพร
ลักษณะของภาษาไทย
ลักษณะที่ควรสังเกตบางประการในภาษาไทย และอักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
- พยัญชนะ มี 44 รูป 21 เสียง หน้าที่ของพยัญชนะคือ เป็นพยัญชนะต้นและตัวสะกด
-
- เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี มี 5 เสียง
ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี เพราะเรามีวรรณยุกต์ใช้ เรามีวรรณยุกต์ 4 รูป แต่มี 5 เสียง
-
ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กซึ่งประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น คือ เสียง --> คำ --> กลุ่มคำหรือประโยค --> เรื่องราว สามารถขยายได้เรื่อยๆ ไม่จำกัด
ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
ภาษาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการพูดในชีวิตประจำวัน (กลืนเสียง/กร่อนเสียง) อิทธิพลของภาษาอื่น (ยืมคำ/เลียนแบบสำนวนหรือประโยค) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ส่งผลให้คำเก่าที่เคยใช้ถูกแทนที่ด้วยคำใหม่ และการเลียนภาษาของเด็ก
-
สมาชิกในกลุ่ม
- นางสาวเบญจวรรณ ปัญญาบุตร หมู่2 631730002039-5
- นายบารมี รสหอม หมู่2 631730002042-9
- นางสาวสุภาพร พิมพะสอน หมู่2 631730002045-2
- นางสาวขวัญวิไล ชนิดนอก หมู่2 631730002046-0
- นางสาวจินตนา ทุมผล หมู่2 631730002073-4
- นางสาวณัฐนรี ภูอ่าว หมู่2 631730002078-3
- นางสาววิภารัตน์ ดีประวี หมู่2 631730002048-6
- นางสาวเนตรนภา วิราจันทร์ หมู่2 631730002038-7
ลักษณะภาษาไทยและคำไทยแท้
คำไทยแท้ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เรียกว่าเป็น ภาษาคำโดด แต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น ปู่ ย่า แขน ขา หมา แมว
-
-
-
-
-
3.เสียงวรรณยุกต์ (เสียงดนตรี)
มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง ได้แก่ สามัญ,เอก,โท,ตรี,จัตวา
- เสียงสามัญ มีระดับเสียงกลาง
- เสียงเอก มีระดับเสียงต่ำ
- เสียงโท มีระดับเสียงสูงไปต่ำ
- เสียงตรี มีระดับเสียงสูง
- เสียงจัตวา มีระดับเสียงต่ำไปสูง
-
มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง ได้แก่ สามัญ,เอก,โท,ตรี,จัตวา
- เสียงสามัญ มีระดับเสียงกลาง
-
- เสียงโท มีระดับเสียงสูงไปต่ำ
-
- เสียงจัตวา มีระดับเสียงต่ำไปสูง
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (ไม่มีตัวสะกด) เช่น แก ขา กลัว ดู โต
-
-
พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงพยัญชนะสะกด (มีตัวสะกด) เช่น เด็ก ทำ ของ แตก ไป แล้ว