Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเป็นพลเมืองที่ดี
image - Coggle Diagram
การเป็นพลเมืองที่ดี
ความหมายของพลเมือง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า “พลเมือง” “วิถี” และ “ประชาธิปไตย” ไว้ดังนี้
-
-
ดังนั้น คำว่า "พลเมืองที่ดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย" หมายถึง พลเมืองที่มี คุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการ ทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต พลเมือง หมายถึง คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะ ประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมี วัฒนธรรมเดียวกัน เช่น คนไทยทุกคนควรหาตัวเป็นพลเมืองดี คือนอกจากตระหนัก สิทธิของตนเองแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดและปฏิบัติตนให้เป็น ประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและ ประเทศชาติเพื่อให้เป็นสังคมและเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักการ ทางประชาธิปไตย :
กล่าวโดยสรุป คำว่า “พลเมือง” มีความแตกต่างจากคำว่า “ประชาชน” และ “ราษฎร” ตรงฟ้ าหลเมืองจะแสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการรักษาสิทธิต่าง ๆ ของตน รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการแสดงออกซึ่งสิทธิ เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น
-
หน้าที่ของพลเมืองไทย
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ได้กำหนดให้อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล นอกจากนี้ ประชาชนซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิหรือเจ้าของ สิทธิในอำนาจอธิปไตย ยังสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามระบอบ ประชาธิปไตยโดยทางตรงและทางอ้อม คือ
๑. ประชาธิปไตยทางตรง หรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคพลเมืองหรือภาคประชาชน” เช่น การใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดด้วยตนเองหรือต้องทำร่วมกับผู้อื่น โดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การร่วมเวทีประชาคม การทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น
๒. ประชาธิปไตยทางอ้อม หรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคตัวแทน” เป็นการเลือกตั้ง ทั้งในระดับท้องถิ่น ได้แก่ การเลือกตั้ง อบต. เทศบาล อบจ. เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น และระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นต้น
ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้ ปวงชนชาวไทย มีหน้าที่ ๑๐ ประการ ดังนี้
- พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ รวมตลอดทั้ง สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้ความร่วมมือในการบรรเทาสาธารณภัย
- ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
-
-
- เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจ ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
- ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ของประเทศเป็นสำคัญ
- ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
- เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
- ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
ความสำคัญของพลเมืองดี
ด้านเศรษฐกิจ
พลเมืองที่ดีจะประกอบสัมมาอาชีพสุจริต
• ดำเนินชีวิตประจำวันอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความประหยัด อดออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว และไม่ก่อหนี้ มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศ
ด้านสังคม
พลเมืองที่ดีช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย สังคมมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้หลักเหตุผล ข่าว ทวาย ตนย้งและการใช้ความรุนแรงในสังคม
-
-
-
-