Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 เรื่องการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ - Coggle Diagram
บทที่ 1 เรื่องการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
การรวบรวมข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึงอาจจะเป็นข้อมูล ตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียง หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงประเภทข้อมุลตามแหล่งที่มาสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยตนเอง ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงวตามความต้องการมากที่สุด โดยข้อมูลปฐมภูมิ สามารถทำได้ ดังนี้
การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล
2.การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
การใช้แบบสอบถาม
4.การสังเกต
1.2ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้วโดยผู้อื่นการนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้จะต้องตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลก่อน และข้อมูลมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ดังนี้
ข้อดี สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ง่าย โดยไม่เสียเวลลาในการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
ข้อเสีย ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้ว อาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ อาจจะทำให้เสียเวลา
การนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้เราไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้รวบรวมข้อมูลมาอย่างไร ซึ่งการรวบรวมข้อจากแหล่งข้อมมูลจากทุติยภูมิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานหรือภายในองค์กรของผู้ใช้
ข้อมูลจากแหล่งภายนอก เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมของบุคคล
2 การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลหมายถึง วิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการคำนวณหรือการเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลนั้นอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ หรือตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน โดยการประมวลผลข้อมูลสามารถแบ่งตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล และการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ
การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลในยุคเริ่มตันที่ใช้มาตั้งแต่ในอดีต อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่ กระดาษ ลูกคิด และเครื่องคิดเลข การประมวลผลข้อมูลในลักษณะนี้เหมาะกับข้อมูลที่มีจำนวนน้อย การคำนวณไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องการความเร่งด่วนในการประมวลผล
การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล
การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลที่อาศัยแรงงานมนุษย์ร่วมกับเครื่องจักรกล เช่น การคำนวณด้านบัญชีด้วยเครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) นิยมใช้กับข้อมูลที่มีจำนวนไม่มากและต้องการได้ผลลัพธ์ด้วยความเร็วระดับปานกลาง โดยการประมวลผลประเภทนี้จะประมวลผลได้รวดเร็วและถูกต้องมากกว่าการประมวลผลด้วยมือ
การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีความถูกต้องและรวดเร็วกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ และเครื่องจักรกล โดยการประมวลผลข้อมูลประเภทนี้จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก ซึ่งสามารถรองรับข้อมูลที่มีปริมาณมากและมีความซับซ้อน อีกทั้งการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ยังให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว
1 more item...
3.2 วิธีการประมวลผลข้อมูลดัวยคอมพิเตอร์ โดยทั่วไปการนำขัอมูลไปใช้ประโยชน์นั้น จำเป็นต้องผ่านการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศก่อน จึงสามารถนำสารสนเทศเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้
ข้อดี
เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณข้อมูลมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลทันที
ง่ายต่อการตรวจสอบ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย
ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล
จำเป็นต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล
2) การประมวลผลแบบอินเทอร์แอ็กทิฟ (Interactive Processing) เป็นการประมวลผลที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพธ์ทันทีหลังจากได้รับข้อมูลนำเข้า โดยการประมวลผลแบบอินเทอร์แอ็กทีฟที่พบเห็นได้ในปัจจุบันนี้
(1) การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing) เป็นวิธีการนำข้อมูลที่รับเข้ามาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยข้อมูลที่นำเข้าไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับคอมพิวเตอร์ที่ทำการประมวลผล เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine: ATM) ซึ่งรายการธุรกรรมทางการเงินจะถูกส่งไปประมวลผลยังคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการประมวลผลข้อมูลที่อาจอยู่ห่างไกลได้ในทันที และสามารถแสดงผลลัพธ์ยอดเงินคงเหลือในบัญชีได้ทันทีเช่นกัน
(2) การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ผลลัพธ์ในลักษณะทันทีทันใด นิยมใช้ร่วมกับการประมวลผลแบบออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานแสดงความคิดเห็นได้ และหลังจากแสดงความคิดเห็นแล้วเว็บไซต์จะแสดงผลลัพธ์ความคิดเห็นนั้นบนหน้าเว็บทันที หรือการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจจับควันเพื่อป้องกันไฟไหม้ (โดยกำหนดว่า ถ้ามีควันมากและอุณหภูมิสูงผิดปกติถือว่าเกิดไฟไหม้) ซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องทำการประมวลผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และถ้าประมวลผลแล้วสรุปได้ว่าเกิดไฟไหม้ คอมพิวเตอร์ก็จะสั่งให้ร้ำสำหรับดับเพลิงที่ติดตั้งไว้ทำงานทันที
3.3 กรรมวิธีในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
การคำนวณ (Calculation) เป็นการนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณได้ มาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณหาร หาค่าเฉลี่ย การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แบบการคำนวณ เช่น การคำนวณผลการศึกษาของนักเรียน การคำนวณภาษีเงินได้ การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
1 more item...
การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การจัดเรียงข้อมูลตัวเลข 1 ถึง 100 การเรียงจากน้อยไปมาก หรือการจัดเรียงตัวอักษรจากตัวแรกถึงตัวสุดท้าย ซึ่งการจัดเรียงข้อมูลจะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เช่น การเรียงคะแนนสอบจากมากไปน้อย การเรียงชื่อของนักเรียนตามตัวอักษรภาษาไทยจาก ก ถึง ฮ
การจัดกลุ่มข้อมูล (Classifying) เป็นการจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่ม ประเภทหรือตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การจัดกลุ่มนักเรียนตามเพศ การจัดกลุ่มข้อมูลภาพถ่ายตามวันที่ถ่ายภาพ ซึ่งการจัดกลุ่มข้อมูลจะทำให้คันหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
การสืบค้นข้อมูล (Retrieving) เป็นการค้นหาและนำข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งเก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การสืบค้นข้อมูลนักเรียนจากรหัสประจำตัว การคันหาหนังสือในห้องสมุดจากชื่อผู้แต่ง
การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป มารวมกันให้เป็นชุดเดียว เช่น การนำข้อมูลประวัติส่วนตัวของนักเรียน มารวมกับประวัติการศึกษาเป็นข้อมูลของนักเรียน 1 คน
การสรุปผล (Summarizing) เป็นการสรุปส่วนต่าง ๆ ของข้อมูล เพื่อแสดงเฉพาะส่วนที่เป็นสระสำคัญ เช่น การสรุปผลการเรียนของนักเรียน การสรุปยอดรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนในแต่ละเดือน
การทำรายงาน (Reporting) เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาจัดพิมพ์ในรูปแบบรายงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบกระดาษ เว็บไซต์ หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รายงานผลการตรวจสุขภาพ สมุดรายงานผลการเรียนของนักเรียน หรือรายงานผลการเรียนของนักเรียนผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน
การบันทึก (Recording) เป็นการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ลงสื่อหรืออุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคนจากการป้อนข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล
การปรับปรุงข้อมูล (Update) เป็นกระบวนการที่ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและมีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยสามารถทำการเพิ่ม ลบ และแก้ไข เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องมากที่สุดซึ่งความถูกต้องและทันสมัยนั้นจะขึ้นอยู่กับความถี่ในการปรับปรุง เช่น การปรับปรุงยอดขายของร้านค้าออนไลน์ทุกสิ้นเดือน เพื่อทำให้ยอดขายมีความถูกต้อง หรือการปรับปรุงยอดเงินฝากทันทีหลังจากการทำธุรกรรมทางการเงิน
การสำเนาข้อมูล (Duplication) เป็นการคัดลอกข้อมูลจากข้อมูลนฉบับ เพื่อไปบันทึกเป็นข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่เหมือนกัน โดยการสำเนาข้อมูลนั้น ต้องคำนึงถึงความถูกต้องด้านการละเมิดลิขสิทธิ์และต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูลต้นฉบับด้วย เช่น การทำสำเนาข้อมูลประวัติการศึกษาของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาต่อ
การสำรองข้อมูล (Backup) เป็นการทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนลงในสื่อหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ตามช่วงเวลาที่กำหนดแล้วนำไปเก็บแยกไว้ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่นั้นกลับมาใช้ได้ ในกรณีที่ข้อมูลดันฉบับเกิดปัญหา สูญหาย หรือถูกทำลาย เช่น การสำรองข้อมูลประวัติของนักเรียนทุกสิ้นเดือน
การกู้ข้อมูล (Data Recovery) เป็นกระบวนการในการนำข้อมูลที่เสียหาย สูญหายหรือถูกทำลายจากสาเหตุต่างๆ ให้กลับคืนมาอยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยบุคคลที่มีความชำนาญ เช่น การกู้ข้อมูลทะเบียนประวัติของนักเรียนจากปัญหาไฟฟลัดวงจร ทำให้จานแม่เหล็กสำหรับเก็บข้อมูลเกิดความเสียหาย
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านตัวกลางกรสื่อสาร เพื่อให้ช้อมูลนั้นสามารถไปยังจุดหมายปลายทางได้ เช่น การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Chat)
การบีบอัดข้อมูล (Data Compression) เป็นกระบวนการในการลดขนาดข้อมูลเพื่อให้ประหยัดพื้นที่ในกาจัดเก็บ หรือเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลต่อไปยังปลายทางได้รวดเร็วขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาในการส่งข้อมูลหากัน ตัวอย่างการบีบอัดข้อมูล เช่น การส่งภาพผ่านระบบสนทนาบนอินเทอร์เน็ต ระบบจะทำการบีบอัดภาพก่อนส่งไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้รับได้รับข้อมูลภาพได้เร็วขึ้น
3.การใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศในปัจจุบันมีการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ
1 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนคอมพิวเตอร์เช่น word, excel, access
ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต google doc, google sheet, google forms
2 ซอฟต์แวร์ที่ใช้สําหรับประมวลผลข้อมูล
1.ซอฟแวร์สำเร็จรูป :
2.ซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อประมวลผลข้อมูลโดยเฉพาะ
3 ซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับสร้างและนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลที่ดี ไม่สามารถทำให้ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้งานเข้าใจหรือเห็นภาพได้ง่าย