Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 นางสาว มาริษา เจ๊ะบากา…
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551
นางสาว มาริษา เจ๊ะบากา 662447064
บทเฉพาะการ
มาตรา ๒๗ : เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้วให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิหนี้ของกองทุนการศึกษาสําหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๘ :
ในวาระเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ทำหน้าที่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตรา ๒๙ :
ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้
หมวดที่ ๒
การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับคนพิการ
มาตราที่ ๑๑ :
ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่งและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
มาตราที่ ๑๒ :
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบายเสนอความคิดเห็นให้คำปรึกษา
มาตราที่ ๑๓ :
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๑๔ : นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๕ :
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๖ :
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา ๑๗ :
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๘
(๑) ส่งเสริม สนับสนุนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา
(๒) สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(๓) วิจัยและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ
(๔) ผลิต วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน
มาตรา ๑๙:
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา
หมวดที่ ๓ :
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตรา ๒๑ :
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นเรียกว่า
"กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ"
มาตรา ๒๒ :ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง
มาตรา ๒๓ :
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกองทุน ดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุนรวมทั้งการหาประโยชน์และการจัดหากองทุน
(๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน
(๓) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔) แต่งตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย
มาตรา ๒๔ :
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุนและการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๕ :
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
มาตรา ๒๖ :
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างและการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
หมวดที่ ๑
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๕ : คนพิการมีสิทธิ์ทางการศึกษา ดังนี้
(๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถความสนใจความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
(๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
มาตราที่ ๖
ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด
ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครูและคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามหลักที่คณะกรรมการกำหนด
มาตราที่ ๗
ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วมสถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ
มาตราที่ ๘
ให้สถานศึกษาทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการการศึกษาเฉพาะบุคคลโดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนรู้เฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยในรูปแบบที่หลากหลาย
ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อมระบบสนับสนุนการเรียนการสอนตลอดจนบริการเทคโนโลยีที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัดมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม
สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย
มาตราที่ ๙
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตราที่ ๑๐
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้รัชกาลส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศแล้วแต่กรณีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้