Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก (Graphics) หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์รูปวาด
ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิการ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการ
จัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ประกอบไปด้วย เส้น สีแสง และเงาต่าง ๆ
หลักการทํางานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์เกิดจากการทํางานของโหมดสีRGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สี
เขียว (Green) และสีน้ําเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน
ทําให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคําว่า Picture กับ Element โดยพิกเซล
จะมีหลากหลายสีเมื่อนามาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี2 ประเภท คือ
แบบ Raster และแบบ Vector ความละเอียดของภาพ (Resolution) เป็นจานวนของพิกเซลที่อยู่ภายในภาพ
โดยใช้หน่วยวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว
หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกัน
ของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสีซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิก
แบบ Raster จะต้องกาหนดจานวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง
หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
หรือการคํานวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง
รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง
ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
สําหรับรูปแบบการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยแม่สี3 สีคือ สีแดง (Red) สีเขียว
(Green) และสีน้ําเงิน (Blue) การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์มีรายละเอียดหลายประการ
ระบบสีแบบ RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี3 สีคือ แดง (Red) เขียว (Green) และ น้ําเงิน (Blue) ในสัดส่วน
ความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนามาผสมกันทําให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7 ล้านสีซึ่ง
ใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นได้โดยปกติและจุดที่สีทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสี
แบบนี้ว่าแบบ “Additive”
ระบบสีแบบ CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan) สี
ม่วงแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) และเมื่อนาสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน
ระบบสีแบบ HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
3.1.1 Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา
ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสีเช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น
3.1.2 Saturation คือความสดของสีโดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100
ถ้ากาหนด Saturationที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากาหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
3.1.3 Brightness คือระดับความสว่างของสีโดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่
0 ถึง 100 ถ้ากาหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดา แต่ถ้ากําหนดที่ 100 สีจะมี
ความสว่างมากที่สุด
3.4 ระบบสีแบบ LAB
เป็นรูปแบบมาตรฐานของ CIE (Commission Internationale De L’Eclairage Lab Color) เป็นระบบสีที่
ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
3.4.1 L หรือ Luminance เป็นการกาหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากาหนดที่ 0 จะ
กลายเป็นสีดา แต่ถ้ากาหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
3.4.2 A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
3.4.3 B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ําเงินไปสีเหลือง
การออกแบบกราฟิกตามหลักองค์ประกอบศิลป์
การออกแบบ คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้นในทาง
ศิลปะสาขาทัศนศิลป์โดยการนาองค์ประกอบศิลป์หรือทัศนธาตุนามาจัดเป็นภาพตามหลักของการออกแบบ
จุด (Dot) หมายถึง เป็นต้นกําเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นาจุดมาวาง
เรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น และการนาจุดมาวางให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
เส้น (Line) หมายถึง การนาจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว
หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด เขียน ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย