Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ - Coggle Diagram
สารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
สารสนเทศ
เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเป็นสังคมสารสนเทศ (information society)
และเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society)
ความสำคัญของสารสนเทศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าพัฒนาประเทศชาติ
สนับสนุนการวางแผนและนโยบายการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
ช่วยในการเเก้ไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ
ช่วยติดตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องมือในการเก็บรวบรวม การจัดเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ มีการประมวลผล วิเคราะห์ผลที่ประมวลได้จากข้อมูลนั้น สามารถเรียกหาได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการสื่อสาร ข้อมูลไปยังผู้ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น อินเทอร์เน็ตเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลออนไลน์ ซีดีรอม เป็นต้น
การเรียนรู้สารสนเทศ
การรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) ทักษะในการ รู้ความต้องการสารสนเทศและระบุสารสนเทศที่ต้องการ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ที่ต้องการ ได้แก่ การสืบค้น/การค้นคืนสารสนเทศ โดยสามารถกำหนดคำค้น ใช้กลยุทธ์ในการสืบค้น และปรับปรุงการสืบค้นได้ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การ วิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การตีความและทำความเข้าใจสารสนเทศ
ความสำคัญของการเรียนรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศ มีความสำคัญ ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข เพราะสารสนเทศ ช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิต การรู้สารสนเทศ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการศึกษา ทุกระบบ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในสังคมปัจจุบันในด้านต่าง ๆเช่น ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษา ด้านความคิด ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
ลักษณะของผู้เรียนที่เป็นผู้รู้สารสนเทศ
คือ การสร้างบุคคลให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learner) เป็นผู้ที่สามารถค้นหาประเมิน และใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ บุคคลจะเป็นผู้รู้สารสนเทศก็คือ บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (People who have learned
how to learn)
ความหมายของการรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ คือ การอ่านสื่อให้ออก เพื่อพัฒนาทักษะในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การตีความเนื้อหาของสื่อ การประเมินค่าและเข้าใจผลกระทบของสื่อและสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้
ความสำคัญของการรู้เท่าทัน
เราอยู่ในสังคมที่เรารับรู้โดยมีสื่อเป็นตัวกลาง สิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือแม้แต่ค่านิยมต่างๆที่เรายอมรับ มิได้มาจากประสบการณ์ตรงเท่าใดนัก แต่มักจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และ อินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ลักษณะสำคัญของสื่อ
-สื่อทั้งหมดมีผู้สร้าง
-สื่อสร้างภาพความจริง
-สื่อคือธุรกิจ
-สื่อส่งสารเชิงอุดมการณ์และค่านิยม
-สื่อแสดงนัยทางสังคมและการเมือง
แนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อ
-สื่อคือสิ่งที่สร้างขึ้น
-สื่อมีเป้าหมายทางธุรกิจ/โฆษณา
-สื่อสร้างค่านิยมและอุดมคติ
-สื่อทำให้มีผลที่ตามมาทางการเมืองและสังคม
-สื่อแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์และข้อจำกัด