Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
สอดคล้องทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ "เปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม" อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
สอดคล้องทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการทางปัญญาที่มนุษย์มีการเชื่อมโยงระหว่าง ความรู้/ประสบการณ์เดิม เข้ากับความรู้/ประสบการณ์ใหม่ แล้วจัดระบบในสมองเป็นความ
จำถาวร
การเรียนรู้
ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing)
แหล่งเรียนรู้
แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุด โรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์
แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เข่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม สถาบันโบราณสถาน สถานที่สำคัญ แหล่งประกอบการ
เครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการ ศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับ ต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้าง แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชน
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่างวิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการ ติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลางเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบอินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเป็น ขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้ง พิจารณาถึงองค์กรต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อรวมเข้าเป็นเครือ ข่ายในการทำงานร่วมกัน
เครือข่ายการเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
รูปแบบการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเป็นหลักในการแสวงหา ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้นจาก แหล่งสารสนเทศ ต่างๆ ทั่วโลก และจากสื่อหลากหลายประเภทนอกเหนือจากหนังสือ รวมทั้งสามารถเลือกเวลาและ สถานที่ในการศึกษาได้เอง และสามารถเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญที่สนใจในการปรึกษาขอคำแนะนำได้ โดยผ่านระบบเทคโนโลยี ซึ่งต่างจากระบบเดิมที่เน้น รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัส คือ มีการจัดตารางสอน วิชาเรียน และกำหนดสถานที่เรียนไว้เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในโรงเรียนอย่างเต็มที่
บทบาทของผู้สอน จากระบบเดิมที่เน้นให้ครูเป็น จุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ครู เป็นเพียงผู้ชี้แนะหรือเป็นที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่สอนโดยผ่านทางเครือข่าย ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการสอนใหม่ๆ ข้อมูลและ อุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการสอนอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยผ่าน
ระบบ เครือข่าย
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming) เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการ 4 ประการได้
1.1 การสร้างความตระหนักในปัญหาและการสร้างสำนึกในการรวมตัว
1.2 การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่าย
1.3 การแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย
1.4 การสร้างแนวร่วมของสมาชิกเครือข่าย ถ้าเครือข่ายแห่งใดปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อได้ว่าจะสามารถก่อตั้งเครือข่ายใน ชุมชนได้อย่างแน่นอน