Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แหล่งเรียนรู้
และเครือข่ายการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ก
ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผลมาจกาประสบการณ์และการฝึก ไม่รวการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ตอบสนอง
ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม
เป็นกระบวนการทางปัญญาที่มนุษย์มีการเชื่มโยงระหว่างความรู้และประสบการณ์เดิมเข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่
ความหมายแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
ข้อดีในการนําแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริงทําให้เกิดประสบการณ์ เกิดความสนุก มีเจตคติที่ดีต่อชุมชน นักเรียนเกิดความรักท้องถิ่น
ประเภทแหล่งการเรียนรู้
ในโรงเรียน แหล่งการเรียนที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์าร้างขึ้น เช่น ห้องสมุด
นอกโรงเรียน แหล่งการเรียนที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม ป่า
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์าร้างขึ้น เช่น ชุมชน
หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
1.การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา 2.การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ 3. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน 4.การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
คุณลักษณะพิเสษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่นได้รวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย 2.เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 3.สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
4.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป 5.จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming) 2. ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network organizing) 3. ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้(learning network utilizing ) 4. ขั้นการธำรงรักษาเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network maintaining)