Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 สารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทย และการรู้เท่าทันสื่อ - Coggle Diagram
บทที่ 6 สารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทย และการรู้เท่าทันสื่อ
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น
การรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ คือ ความสามารถในการตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ สามารถโต้ตอบได้อย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา
ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
ได้แก่
1.การเปิดรับสื่อ การรู้เท่าทันการเปิดรับสื่อของประสาทสัมผัสของเรา ซึ่งเมื่อเปิดรับแล้วสมองจะสั่งการให้คิดและปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามมา การรู้เท่าทันสื่อในขั้นของการรับรู้อารมณ์ตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกความคิดและอารมณ์ออกจากกัน และความคิดจะทำให้เรารับรู้ความจริงว่า อะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นต้น
2.การวิเคราะห์สื่อ การแยกแยะองค์ประกอบในการนำเสนอของสื่อว่ามีวัตถุประสงค์อะไร เป็นสื่อประเภทใด และต้องการที่จะสื่ออะไรกับผู้รับสาร
3.การเข้าใจสื่อ ตีความสื่อหลังจากเปิดรับสื่อไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอ ซึ่งผู้รับสารแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจสื่อได้ไม่เหมือนกัน ตีความไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ พื้นฐานการศึกษา คุณสมบัติในการเรียนรู้ ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากันมาก่อน
4.การประเมินค่า หลังการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสื่อแล้ว เราควรประเมินค่าสิ่งที่สื่อนำสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่ามากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหา สื่อ เป็นต้น
5.การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ นำสิ่งที่เราได้จากสื่อมาใช้ให้เกิดประโยน์กับตนเองและคนรอบตัว
การรู้สารสนเทศ (Information literacy)
คือ ทักษะที่จำเป็นในการค้นหา การเข้าถึง การวิเคราะห์ และการนำสารสนเทศไปใช้ คำๆ นี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก การหลั่งไหลของสารสนเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้ผู้ใช้หรือค้นคว้าสารสนเทศ รู้สึกว่าจากสาร- สนเทศที่ท่วมท้น ทำให้มีความจำเป็นในการที่ผู้ใช้ หรือผู้เสพสารสนเทศจำเป็น จะต้องมีการคิด
องค์ประกอบ
คือความสามารถ และทักษะในการ แสวงหา และเข้าถึงสารสนเทศ ผู้รู้สารสนเทศคือผู้ที่มีทักษะ 6 ประการ ได้แก่
1) ทักษะในการก าหนดเรื่องที่จะค้น
2) ทักษะการวางแผนกลยุทธ์การสืบค้น
3) ทักษะการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ 4) ทักษะการใช้สารสนเทศ
5) ทักษะการสังเคราะห์สารสนเทศ
6) ทักษะการประเมินสารสนเทศ
ประโยชน์สารสนเทศ
ให้ความรู้
ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
สามารถประเมินค่าได้
ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
ประโยชน์ของสารสนเทศ
ใช้ประกอบการตัดสินใจ
ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ
ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน