Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แหล่งเรียนรู้
และเครือข่ายการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง
แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ มีดังนี้
1) เป็นแหล่งที่รวบรวมขององค์ความรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
2) ช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งขึ้น โดยใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลสะท้อนความคิดเห็นจากแหล่งการเรียนรู้
3) เพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ เสริมสร้างการเรียนรู้ พัฒนาการคิด การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการประเมินอย่างมีวิจารญาณ จนเกิดทักษะการแสวงหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
4) ทำให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้และรักท้องถิ่นของตน มองเห็นคุณค่าและตระหนักถึงปัญหาในท้องถิ่น พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของท้องถิ่นทั้งปัจจุบันและอนาคต
5) มีสื่อประเภทต่างๆ ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาอาชีพ
แหล่งการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา (โรงเรียน)
2.แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หอศิลป์
สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา สถานประกอบการ วัด ครอบครัว ชุมชน องค์การภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง
แหล่งหรือที่รวมสาระความรู้ซึ่งอาจเป็นสถานที่ศูนย์รวมข้อมูล ข่าวสาร หรือบุคคลที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสำคัญ ดัง
นี้
1.เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร เปิดโลกทัศน์ของผู้ศึกษาให้กว้างไกล
2.พัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาอาชีพให้ผู้ที่ศึกษา
3.สามารถนำมาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้ผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
4.ช่วยเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยม เพื่อให้เกิดการยอมรับสิ่งใหม่ แนวความคิดและมุมมองใหม่ๆ
องค์ประกอบของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีดังนี้
1.สถานที่ที่จัดเป็นแหล่งการเรียนรู้
2.กิจกรรมที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้
3.ผู้ดำเนินการให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้
4.การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง
การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
หลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
ระบบเครือข่าย ( Network )
จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงซึกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ อาจเป็นข้อความ กราฟิก เสียง หรือข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลวิธีนี้เรียกว่า โทรคมนาคม (Telecommunication) หรือ การส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่ายจะมีหลายชื่อเรียก เช่น Networked , Linked up หรือ online บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า เน็ต (Net)
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming) เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญที่ควรดำเนินดาร 4 ประการ ได้แก่ การสร้างความตระหนักในปัญหาและการสร้างสำนึกในการรวมตัว การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่ายการแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย
2.ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network organizing) การจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา 5 ประการ คือ การจัดผังกลุ่มเครือข่าย การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน และการจัดระบบสารสนเทศ ดังนั้นถ้าสามารถจัดระบบบริหารเครือข่ายได้ครบถ้วนดังกล่าว ผลที่ตามมาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น
3.ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้(learning network utilizing ) การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีกลางประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความรู้ของสมาชิกเครือข่าย และผู้สนใจการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดมทรัพยากรร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้แก่สมาชิกทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายและการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ๆ ที่เป็นปัญหาของชุมชนและสังคม
4.ขั้นการธำรงรักษาเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network maintaining) การธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อให้ดำเนินการไปสู่ความสำเร็จนั้น มีแนวทางปฏิบัติ 6 ประการดังนี้ การจัดดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย การกำหนดกลไกและการสร้างระบบแรงจูงใจให้แก่สมาชิกของเครือข่าย การให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
1.การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย
2.การติดต่อกับองค์กรที่จะร่วมเป็นเครือข่ายหลังจากตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรที่เห็นว่าเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
3.การสร้างพันธกรณีร่วมกัน เป็นข้นตอนการสร้างความผูกพันร่วมกัน มีการตกลงใจในความสัมพันธ์ต่อกันและตกลงที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย
4.การพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่สร้างเครือข่ายให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรมโดยเริ่มทำกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการตกลงในเรื่องของการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่าย
5.การทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันแล้ และนำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันจนมีผลงานเป็นที่ปากฎชัด
6.การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่มากขึ้น
ประเภทการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่
e-Education หรือ Virtual Education หรือ หลักในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ใดก็ได้ (any where) เมื่อใด Online Teaching and Learning คือรูปแบบการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือก็ได้ (any time) ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนทางไกล โดยที่ Online Teaching and Learning จะเน้นระบบและกลไกในการดำเนินงานแบบออนไลน์
Virtual University คือมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดการเรียนการสอนทางไกล โดยกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนจะใช้ระบบออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
e-Commerce ทางการศึกษา การจัดการศึกษาแบบ Virtual University นี้อาจจะดำเนินการโดยใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อยู่คนละแห่งมาร่วมมือกันได้เป็นเครือข่าย
e-Book หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ หนังสือหรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป
ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้
1.เครือข่ายไทยสาร เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปี พ.ศ.2535
2.เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท. จะรวมผังรายการวิทยุในเครือข่าย อสมท. มีไฟล์เสียงรับฟังทางอินเทอร์เน็ตได้
3.เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เป็นเครือข่ายที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง และบทวิเคราะห์ด้านการเมือง
4.ThaiSafeNet.Org เป็นเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ มีพันธกิจด้านการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา