Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ - Coggle Diagram
บทที่ 5 แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้
ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
ประเภทของแหล่งการเรียนรู้
ในโรงเรียน
ตามธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เป็นต้น
มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆ เว็บไซต์ เป็นต้น
นอกโรงเรียน
ตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ เป็นต้น
มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา แหล่งประกอบการ เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์
ความหมายแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลาย
ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งขึ้น โดยใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลสะท้อนความคิดเห็นจากแหล่งการเรียนรู้
กระตุ้นมุ่งเน้นลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งผลักดันให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างผลผลิตในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
เสริมสร้างการเรียนรู้ จนเกิดทักษะการแสวงหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสร้างความตระหนักเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติและความแตกต่างของข้อมูล
แหล่งการเรียนรู้เสริมสร้างการพัฒนาการคิด เช่น การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการประเมินอย่างมีวิจารญาณ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอิสระ
เปลี่ยนเจตคติของครูและผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหารายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พัฒนาทักษะการวิจัยและความเชื่อมั่นในตนเองในการค้นหาข้อมูล เพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ ในด้านเนื้อหา เจตคติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยอาศัยแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในการเรียนรู้
เมื่อนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้เข้ามาใช้กับระบบการศึกษา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในวงการศึกษา ทั้งในด้านรูปแบบการสอน บทบาทของผู้สอน บทบาทผู้เรียน
รูปแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้สอน
บทบาทของผู้เรียน
บทบาทของการเรียนการสอน
ห้องเรียน
ศูนย์คอมพิวเเตอร์สำหรับนักเรียน
ฐานบริการข้อมูลการเรียน
Student Homepage
ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายไทยสาร
เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET)
สคูลเน็ต (SchoolNet)
เครือข่ายนนทรี
เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท.
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง