Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Teenage Pregnancy, S - Coggle Diagram
Teenage Pregnancy
🚨องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ 🚨
เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยมี เป้าหมายและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- เพื่อลดการแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี
- สนับสนุนให้ผู้นำรัฐบาล ผู้บริหาร และผู้นำชุมชน กำหนดและบังคับ ใช้กฎหมายและนโยบายห้ามการแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี
- สร้างกระบวนการเพื่อเลื่อนการแต่งงานของหญิงวัยรุ่นจนกว่าจะอายุ 18 ปี โดยปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม และให้ข้อมูลแก่หญิงวัยรุ่นและครอบครัว กระบวนการนี้ควรทำร่วมกับกระบวนการที่ควบคุมโดยรัฐ
- เพิ่ม โอกาสทางการศึกษาให้แก่หญิงวัยรุ่น เพื่อเลื่อนการแต่งงานจนกระทั่งอายุ 18 ปี
- เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้ลดการตั้งครรภ์ก่อนอายุ 20 ปี
- สนับสนุนการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดหาข้อมูล, ความรู้ด้านเพศศึกษาและสุขภาพ, สร้างทักษะการใช้ชีวิต, ให้คำปรึกษาและจัดหาบริการด้านการคุมกำเนิดและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการป้องกันดังกล่าว
- เสนอวิธีการให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและการคุมกำเนิดแก่ว้ยรุ่น เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์
- สนับสนุนให้มีการคุมกำเนิดหลังคลอดหรือหลังแท้งแก่วัยรุ่น โดยการเยี่ยมบ้านหรือนัดตรวจติดตาม เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
- เพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดในวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
- ให้ผู้นำรัฐบาลและผู้บริหารกำหนดนโยบายและกฎหมาย เพื่อให้วัยรุ่นได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและบริการด้านการ คุมกำเนิดมากขึ้น
- โน้มน้าวให้สมาชิกในสังคมสนับสนุนการเข้าถึงการคุมกำเนิดของวัยรุ่น
- ให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด โดยสอดแทรกในหลักสูตรเพศศึกษา เพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดในวัยรุ่นให้มากขึ้น
- เพื่อลดการละเมิดทางเพศในวัยรุ่น
- กระตุ้นให้ผู้นำรัฐบาล ผู้บริหาร และชุมชน กำหนดและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายลงโทษผู้กระทำผิด
- กระบวนการดังกล่าวข้างต้นควรทำควบคู่กับการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมไม่ให้อภัยผู้ทำความผิด
- ให้ผู้ชายมีส่วนร่วมในการประเมินบรรทัดฐานเรื่องเพศและพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทางเพศและความรุนแรง
- เพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในวัยรุ่น
- กำหนดกฎหมายและนโยบายให้วัยรุ่นสามารถรับบริการทำแท้งที่ปลอดภัยได้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
- อันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
- บริการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
- สามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายในสถานการณ์ใด และที่ไหน
- เพื่อเพิ่มการเข้ารับดูแลก่อนคลอด การคลอด และหลังคลอดจากบุคลากรที่มีความชำนาญ
- ให้ข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและผู้เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเข้ารับการฝากครรภ์ การคลอด จากบุคลากรที่มีความชำนาญ
- ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมให้แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเรื่องการคลอดและในภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- มารดาไม่ทราบวิธีดูแลตนเองหลังคลอดเนื่องจากมารดาอายุน้อยและไม่มีประสบการณ์ในการคลอดบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
- S :มารดาสอบถามว่า หลังคลอดต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง
- O : จากการชักถามมารดาถึงวิธีดูแลตนเองหลังคลอดยังตอบคำไม่ได้
- มารดาตั้งครรภ์ครรภ์แรก
- มารดาอายุ 16 ปี
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มารดามีความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอดและสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอดให้มารดา ดังนี้ การพักผ่อนและการเริ่มทำงาน ควรพักผ่อนให้มากจนกว่าจะรู้สึกแข็งแรง เหมือนก่อนตั้งครรภ์ การนอนพักผ่อนควรนอนตอนกลางวัน ประมาณ 1-2ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ควรนอนเวลาบุตรหลับ ไม่ควรขึ้นบันไดสูงๆ ทำงานบ้านเบาๆได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่าหักโหม ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานที่ต้องออกแรง หลังจาก 6 สัปดาห์ จึงจะทำงานได้ตามปกติ
- การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ตามความต้องการของร่างกาย อาหารที่ควรรับประทาน เช่นเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นมสด ผักทุกชนิดผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อาหารที่ควรงดได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มารดาไม่ควรรับประทานยาดองเหล้า เพราะสามารถผ่านทางน้ำนมให้
งดอาหารหมักดอง น้ำชา กาแฟและไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
- การทำความสะอาดของร่างกาย การรักษาความสะอาด ของร่างกายเสมอ อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง
ไม่ควรแช่ในอ่าง หรือแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดได้ สามารถสระผมได้ตามปกติบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกควรทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด และล้างทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ เช็ดให้แห้งถ้ายังมีน้ำคาวปลาอยู่ หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนก่อนเมื่อเปียกชุ่ม
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น แผลฝีเย็บบวม แดง มีสานคัดหลั่งไหลออกมา หรือน้ำคาวปลาสีแดงสดตลอด ให้มาพบแพทย์ทันที และให้มาตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง
-
- มารดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดเนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์ในการคลอด
ข้อมสนับสนุน
- S : มารดาถามว่า “ใช่เวลาคลอดนานไหมค่ะ”
- O : หญิงตั้งครรภ์อายุ 16 ปี
- มารดา G1P0
- จากแบบประเมิน ST-5 ได้ 5 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน
- มารดาคลายความวิตกกังวล มีสีหน้าสดชื่น ยิ้มแย้ม
- มารดาให้ความร่วมมือในการรักษา
- มารดาสามารถนอนหลับพักผ่อนได้
- การประเมิน ST-5 น้อยกว่า 4 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
- อธิบายเกี่ยวกับกลไกการคลอดและแนะนำวิธีการเบ่งงคลอดอย่างถูกวิธีให้มารดา ดังนี้ เวลาเบ่งคลอดให้ก้มหน้าคางชิดอก เบ่งเหมือนเบ่งลมก้น และเบ่งเวลาที่มดลูกหดรัดตัว แต่ห้ามไม่แอ่นหลัง ไม่ยกก้น ไม่ขยับตัว เพื่อให้มารดาเบ่งคลอดได้อย่างถูกวิธี
- อธิบายแผนการรักษาและความก้าวหน้าของการคลอดให้มารดาทราบ เพื่อลดความวิตกกังวล
- ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมินST-5 และเปิดโอกาสให้มารดาซักถามเกี่ยวกับข้อสงสัย เพื่อประเมินความเครียดและ
- ก่อนจะทำการพยาบาล แจ้งให้มารดาทราบและอธิบายให้มารดาเข้าใจก่อนให้การพยาบาลทุกครั้ง
การประเมินผล
- มารดามีสีหน้าสดชื่น ให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างดี
- มารดาสามารถพักผ่อนนอนหลับได้
- จากแบบประเมิน ST-5 ได้ 3 คะแนนแปลผล มารดาไม่มีความเครียด
- มารดามีโอการเกิดภาวะTetanic contraction เนื่องจากได้รับยาส่งเสริมการคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
- S : มารดาบอกว่า “ปวดท้องบ่อยขี้นกว่าเดิม”
- O : ได้รับ 0.9 % NSS 1000 ml + Synto 10 u. 12 cc/hr
- Interval = 7’
- Duration = 30”
วัตถุประสงค์
- มารดาไม่เกิดภาวะTetanic contraction
เกณฑ์การประเมิน
- ไม่มีอาการแสดงของภาวะTetanic contraction เช่นปวดท้องอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย
- การหดรัดตัวของมดลูก
Interval > 2 นาที
Duration < 60 วินาที
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที เพื่อประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
- ควบคุมจำนวนหยัดน้ำเกลือโดยใช้เครื่อง ipInfusion pump ในการควบคุม มารดาได้รับ 0.9% NSS 1000 ml + Synto 10 u. 12 cc/hr
- สังเกตอาการของภาวะ Tetanic contraction โดยสังเกตจากรอยต่อของมดลูกส่วนบนและส่วนล่าง(bandle’s ring) หรือมีอาการเจ็บอย่างรุนแรง ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติให้รายงานพี่พยาบาลในเวรทันที
- ถ้าพบอาการหรือสิ่งผิดปกติ เช่น Fetal distress (<120 หรือ >160 ครั้งต่อนาที) ภาวะ tetanic contraction (มดลูกหดรัดตัวห่างน้อยกว่า 2 นาที หดรัดตัวนานมากกว่า 60 วินาที ) และ bandle’s ring ให้หยุดยาทันที
- ดูแลจัดท่านอนให้มารดานอนตะแคงซ้าย เพื่อออกซิเจนให้ทารกในครรภ์
- ประเมิน FHS ทุก 30 นาที
การประเมินผล
- มารดาไม่มีอาการปวดท้องรุนแรงมากขึ้น ไม่กระสับกระส่ายดิ้นไปมาเวลามดลูกหดรัดตัว
- การหดรัดตัวของมดลูก
Interval = 7’
Duration = 30”
- FHS อยู่ระหว่าง 144-150 bpm.
- ทารกเสี่ยงต่อภาวะ Fatal distress เนื่องจากมีการหดรัดของมดลูกรุนแรงขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
- S : มารดาบอกว่า “ทารกดิ้นดี”
- O : การหดรัดตัวของมดลูก
Interval = 7 ’
Duration = 30”
- FHS 146 bpm.
วัตถุประสงค์
- เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Fatal distress
เกณฑ์การประเมิน
- การหดตัวของมดลูก
Interval > 2 นาที
Duration < 60 วินาที
- ฟังเสียง FHS อยู่ระหว่าง 120-160 bpm เต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
- ทารกในครรภ์ดิ้นดี
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที เพื่อประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
- ประเมิน FHS ทุก 30 นาที ถ้า FHS <120 หรือ >160 ครั้งต่อนาที ให้รายงานพี่พยาบาลทันที เพื่อดูการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
- แนะนำให้มารดานอนตะแคง เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์
- กระตุ้นให้มารดาดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อป้องกันมดลูกกดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
- แนะนำให้มารดาสังเกตและนับลูกดิ้น เพื่อประเมินอาการผิดปกติของทารกในครรภ์
- On EFM หรือติดตามผล NST , CST เพื่อประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์
การประเมินผล
- การหดรัดตัวของมดลูก I = 7’ D = 30”
- FHS อยู่ระหว่าง 144-150 bpm.
- ทารกในครรภ์ดิ้นดี
- มารดาปัสสาวะ 5 ครั้งในเวร
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
-
-
ปัจจัยด้านสตรีวัยรุ่น
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางเพศสมบูรณ์มากขึ้น มีความสนใจ อยากรู้อยากลอง ที่ไปนำสู่การมีเพศสัมพันธ์
- การจัดการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาในโรงเรียนไม่จริงจัง ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันหรือการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
-
-
การพยาบาลแบ่งเป็น 3 ระยะ
-
ระยะที่ 2 ระยะคลอด
ให้การดูแลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์ปกติ อาจจะพบ Cephalopelive disproportion อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อทารก
- low birth weight คือทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
- very low birth weight คือทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม
- พบอุบัติการณ์ของทารกน้ำหนักตัวน้อยในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมากกว่าในผู้ใหญ่
- อุบัติการณ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่ต่างจากในผู้ใหญ่ โดยในวัยรุ่นเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงและทารกในครรภ์โตช้า ส่วนในผู้ใหญ่เกิดจากรกเกาะต่ำ และรกลอกตัวก่อนกำหนด ส่วนสาเหตุในอีกกลุ่มหนึ่งเกิดจากการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง ในกลุ่มนี้พบอุบัติการณ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมากกว่า
- ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
เกิดจากการถูกทารุณกรรม, การสูบบุหรี่และให้สารเสพติด, การฝากครรภ์ช้าหรือไม่ฝากครรภ์
-
- ทารกเจริญเติมโตช้าในครรภ์
-
-
ผลกระทบด้านสตรีตั้งครรภ์
ด้านร่างกาย
- มารดาทุพพลภาพและเสียชีวิต
- พบภาวะทุพพลภาพและการตายของมารดาในประเทศกำลังพัฒนาได้สูงกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว โดยพบในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้มากกว่า สาเหตุเกิดจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
ภาวะติดเชื้อ ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ และหากไม่ได้รับการฝากครรภ์จะพบอุบัติการณ์เหล่านี้ได้มากขึ้น ปัจจัยส่งเสริมอื่นๆได้แก่ การมีเศรษฐสถานะต่ำ ระดับการศึกษา ความพร่องในการรับบริการสุขภาพ
พบว่าอัตราตายปริกำเนิดจะเพิ่มขึ้นในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นจากรายงานส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจากรายงานของ WHO ในปี 2010 พบว่า อัตราการตายปริก่าเนิด เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นผลจากการ คลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย แต่ก็มีบางรายงานที่พบว่าไม่แตกต่างกัน
ในการตั้งครรภ์ปกติจะพบว่าปริมาตรของพลาสม่าเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตลดลง หรือเกิดจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น วัณโรค โดยเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อ HIV มาลาเรีย ซึ่งภาวะโลหิตจางนี้จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้มากขึ้น
- ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์(pregnancy induced hypertension)
มีรายงานที่พบว่าโอกาสการเกิดความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นในวัยรุ่นเมื่อเทียบกับ สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า แต่บางรายงานก็ไม่แตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทยพบว่าโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงไม่แตกต่างกัน
- การติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
เนื่องจากพฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไป โอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะ HIV เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น ร่วมกับโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น เช่น ซิฟิลิส หนองใน เป็นต้น ทำให้พบอัตราการติดเชื้อHIV ในสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารก
และเพิ่มโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมและยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยอีกด้วย
- การตั้งครรภไม่ได้วางแผน (Unplanned pregnancy) และไม่สามารถยอมรับการตั้งครรภ์
กลายเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์(Unwanted pregnancy) สตรีวัยรุ่นบางคนอาจจะไปทำแท้งและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
🚨จากกรณีศึกษา : หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ช้า
ฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 24 wks. ANC 14 ครั้ง
ที่โรงพยาบาลอยุธยา
การคลอดก่อนกำหนด เป็นอีกปัญหาที่สำคัญในสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ พบว่าถ้ายิ่งอายุน้อยมากเท่าไหร่โอกาสคลอดก่อนกำหนดจะยิ่งสูงขึ้น โดยเกิดจาก หลายสาเหตุ
ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากการเจริญเติบโตที่ไม่เต็มที่ของร่างกายวัยรุ่น การศึกษา
การดำรงชีวิตและสภาพแวดล้อม การใช้ยาหรือสารเสพติด หรือแม้กระทั่งขาดการดูแลในระยะก่อนคลอดที่เหมาะสม
-
ผลกระทบด้านครอบครัว
-
-
การไม่ยอมรับการตั้งครรภ์
🚨Late ANC ฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 24 wks.
ด้านสังคม
1.มีภาวะเครียด เศร้า หดหู่ หงุดหงิด วิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ของตนเองทั้งในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด เช่น กลัวอ้วนไม่อยากรับประทานอาหารเพื่อที่จะลดหุ่นจึงไม่อยากให้นมบุตร
-
3.มีปัญหาเรื่องการปรับตัว เนื่องจากวุติภาวะทางอารมณ์ยังไม่เจริญเต็มที่ และมักขาดความอดทนต่อสิ่งต่างๆ เช่น การดูแลตนเองและทารก การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
-
ผลกระทบระยะยาว
- ผลกระทบต่อมารดาระยะยาว
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น ไม่ได้มีผลต่อชีวิตสมรสในอนาคต แต่พบการคลอดบุตรมากกว่าในหญิงทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นอายุน้อยจะพบช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้งสั้นกว่า มักจะพบในกลุ่มที่ระดับการศึกษาต่ำ เศรษฐสถานะต่ำ ซึ่งการคลอดบุตรในช่วงอายุที่ยังไม่พร้อมจะทำให้ยิ่งมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลถึงภาวะทาง สังคมของบุตรในอนาคตด้วยเช่นกัน และหากคู่สมรสมีอายุน้อยด้วยแล้วฐานะของครอบครัวนั้นก็จะยิ่งยากจนกว่า
- ผลกระทบระยะยาวต่อทารก
ทารกที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ยากจนมักมีภาวะทางโภชนาการที่ต่ำ ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านจิตสังคม อีกทั้งมารดาในกลุ่มนี้ยังมีปัญหาด้านพฤติกรรมอีกด้วย
-
กรณีศึกษา
- หญิงวัยรุ่นอายุ 16 ปี G1P0A0L0 GA 39+4 wks. Late ANC (ฝากครรภ์ตอนอายุครรภ์ 24 wks.) ANC 10ครั้ง Late ANC
- LMP 6 มกราคม 2566
- EDC 13 ตุลาคม 2566
- อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล : ปวดท้อง ท้องแข็ง 4 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
- อาการแรกรับ : เด็กดิ้นดี ไม่มีน้ำเดิน FSH 130 bpm LOA , Interval = 7’ Duration = 30’’ PV : Cervix dilate = 1 cm. , Cervix effacement = 60 %, MI , Station = -1
สัญญาณชีพ BT = 36.6 องศาเซลเซียส PR = 80/min RR = 20/min BP = 106/69 mmHg
- น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ : 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 cm. BMI = 23.88 kg/m2 ( อยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับ 1)
- โรคประจำตัว : ปฏิเสธ
- ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธ
- ประวัติการเจ็บป่วย : ปฏิเสธ
- ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธ
- การแพ้ยาแพ้อาหารสารเคมี : ปฏิเสธ
ความหมาย
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
แบ่งเป็น 3 ระยะ
1.วัยรุ่นตอนต้น อายุ s 14 ปี
2.วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี
3.วัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี
- การตั้งครรภ์วัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีอายุ น้อยกว่า 20 ปี เป็นช่วงที่ยังไม่มีความพร้อม ร่างกายยังเจริญเติบโต ไม่เต็มที่ จิตใจและอารมณ์ยังไม่มั่นคงพอ ยังไม่จบการศึกษา ยังไม่มีอาชีพและรายได้เป็นของตนเอง การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมารดาและทารกทั้งในขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ โลหิตจางในแม่ การคลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำหนักน้อย การแท้ง การคลอดติดขัด ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม และไม่พึงประสงค์ ส่งผกระทบต่อจิตใจของแม่เกิดความอับอาย กระทบต่ออาชีพและรายได้
หลังคลอดอาจมีการซึมเศร้า อาจจะต้องพักการเรียนหรือออกจากการเรียนทำให้เสียโอกาสในการ ศึกษาและเสียอนาคต ผลจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมทำให้มีการทำแท้งสูง ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
-
-
เอกสารอ้างอิง
- พิริยา ทัตตินาพานิช (2562) ศึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น(พิมพ์ครั้งที่ 1)โรงพยาบาลหนองดาย
- ผศ.ดร.บังอร ศุภวิทิตพัฒนา และ ดร.ปิยะพร ประสิทธิ์วัฒนเสรี (บรรณาธิการ).(2562).การพยาบาลและการผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ 2560 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น; นโยบายแนวทางการดำเนินงานและติดตาม ประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่2 นนทบุรี, กระทรวงสาธาณสุข
- ปฏิญญา เอี่ยมสำอาง รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธ์ุ 2561 ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ช้ำไม่ได้ตั้งใจของวัยรุ่น วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
-
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- พิริยา ทัตตินาพานิช (2562) ศึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบภาวะแทรกช้อน ได้แก่ ภาวะโลหิตจางเมื่อคลอด ร้อยละ 37.4 วัยผู้ใหญ่พบร้อยละ 29. ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 17.8 วัยผู้ใหญ่พบร้อยละ 9.2 ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 17.8 วัยผู้ใหญ่พบร้อยละ 9.2 และภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำในวัยรุ่นพบร้อยละ 2.5 วัยผู้ใหญ่พบร้อยละ 0.9 ส่วนภาวะอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์ ภาวะตกเลือดหลังคลอด และภาวะทารกแรกคลอดมีคะแนน APGAR score นาทีที่ 5 น้อยกว่า 7 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบภาวะแทรกช้อนทั้งต่อมารดาและทารกมากกว่าการตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นเราจิงควรมิ มาตรการการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
-
-