Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Advanced Maternal age With Obesity with Previous C/S, 1…
Advanced Maternal age With Obesity with Previous C/S
พยาธิสภาพ
/
ผลกระทบ
Obesity
น้ำหนักล่าสุด 98.2 kegs ส่วนสูง 163 Cms BMI 36.96 kg/m2 (11/10/66) น้ำหนักที่เพิ่มตลอดการตั้งครรภ์ 23 กิโลกรัม
ผลกระทบ
ต่อมารดา
• เบาหวานขณะตั้งครรภ์
•ความดันโลหิตสูง
•ลิ่มเลือดอุดตัน
•คลอดล่าช้า คลอดยาก
• c/s
คลอดก่อนกำหนด
ต่อทารก
• ภาวะแท้งคุกคาม
•เสียชีวิตในครรภ์
•ทารกตัวโต (macrosomi)
เกิดความพิการ
Elderly pregnancy
ระบบประสาท
มีอาการปวดศีรษะ เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรืออาจมองไม่เห็น เกิดปฏิกิริยาสะท้อนที่เร็วเกินไป (hyperrefilexia) มีอาการกระตุกสั่นของกล้ามเนื้อ (clonus) ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลง
มักพบว่ามีอาการชักเมื่อเกิดพยาธิสภาพที่สมอง
เนื้อเยื่อในสมองบวม มีเลือดออก และเกิดเนื้อตายขึ้นในสมอง
ระบบเนื้อมดลูกและรก
จากการถูกทำลายของ endothelial cell ทำให้เส้นเลือดในแนวเฉียงของมดลูก
(spiral arteries) มีการเปลี่ยนแปลง >> เส้นเลือดแคบลงและเหยียดออกจาก
intervillous space ซึ่งเป็นส่วนที่รกสัมผัสกับกล้ามเนื้อ ทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณรกน้อยกว่าปกติ >>>ทารกได้รับเลือดจากมารดาน้อยลง จึงเสี่ยง IUGR
(Intrauterine growth restriction , ทารกโตช้าในครรภ์
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีภาวะเส้นเลือดบีบรัดตัวและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขึ้น จะส่งผลให้ preload ลดลง และ afterload เพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัวทั่วร่างกาย
ระบบการทำงานของปอด
มีการลดลงของ plasma oncotic pressure และการเพิ่มpermeability ในเส้นเลือดชั้นendothelial จึงทำให้มีน้ำเข้าสู่ pulmonary interstitial spaceได้>>>ปอดปวม
ระบบโลหิตวิทยา
จากการถูกทำลายของ endothelial cells พบว่าว่ามีผลทำให้เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดถูกทำลายมากขึ้น ดังนั้น จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงแตกและเกร็ดเลือดลดน้อยลง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า
HELLP syndrome ( H : Hemolysis of red blood cell, EL : Elevated liver enzymes, LP : Low platelet count)
ผลกระทบ
ต่อมารดา
การคลอดและการผ่าตัดคลอด
สตรีตั้งครรภ์อายุมากมีแนว โน้มที่จะเกิดภาวะคลอดติดขัด (labor dystocia) ซึ่งเกิดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ(uterine dysfunction) สาเหตุของการผ่าตัดคลอด ได้แก่ การมีภาวะแทรกช้อนทางอายุรกรรมของสตรีอายุมาก การชักนำการคลอดไม่สำเร็จ ทารกไม่อยู่ในท่าหัว ความต้องการของมารดา และการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา อย่างไรก็ตามแม้สตรีกลุ่มนี้จะมีโอกาสล้มเหลวจากการชักนำคลอดและมีมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ แต่ก็ไม่ใช่ข้อห้ามในการชักนำการคลอด ในรายที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน หากอายุมาก ไม่แนะนำ ให้ทดลองการคลอดทางช่องคลอดในท้องหลัง (Trial of labor after cesarean section; TOLAC) เนื่องจากมีอัตราการล้มเหลวสูงและมีความเสี่ยงในการเกิดมดลูกแตกมากขึ้น
ความผิดปกติของรก
•ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption)
ภาวะรกเกาะต่ำ
ภาวะรกเสื่อม
ภาวะแทรกซ้อนทางอายุกรรม
(marternal medical complications)
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension)
ควรเฝ้าระวัง ภาวะครรภ์เป็นพิษ
มารดา ได้รับยา Aspirin (81) 2X1 เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์เป็นพิษ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
: เส้นเลือดหดรัดตัวทั่วร่างกาย ผลทำให้เกิดการทำงานขอหัวใจล้มเหลว (cardiac decompensation) และการกำซาบของเนื้อเยื่อในสมองและไตลดลง
ระบบประสาท
: จากภาวะเส้นเลือดในสมองหดเกร็งและมีการทำลายของเนื้อสมองทำให้เนื้อเยื่อในสมองบวม มีเลือดออก และเกิดเนื้อตายขึ้น
ระบบการทำงานของปอด
: ทำให้เกิดภาวะปอดบวม
ระบบโลหิตวิทยา
: พบว่ามีผลทำให้เมีคโลหิตแดง และเกร็ดเลือดถูกทำลายมาก ขึ้น ดังนั้น จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงแตกและเกร็ดเลือดลดน้อยลง ซึ่งก่อให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า HELLP syndrome
ระบบปัสสาวะ
: พบว่ามีการทำลายของเส้นเลือดในไตเกิดภาวะเส้นเลือดหดรัดตัวการไหลผ่านของหลอดในไตลดลงพบปัสสาวะออกน้อยและ ไตวายได้ในที่สุด
•
ระบบการทำงานของตับ
: เนื้อตับถูกทำลายมีเลือดออกและเกิดการตายของเนื้อเยื่อในตับ
การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อมดลูกและรก
: จากการถูกทำลายทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณรกน้อยกว่าปกติเกิดเนื้อรกตายหรือทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด
• ทารกในครรภ์
ได้รับเลือดจากแม่น้อยลงทำให้โตช้าในครรภ์ หรือขนาดเล็กกว่าปกติ และตายในครรภ์ได้
มารดาให้ประวัติ ตั้งครรภ์ลูกคนแรก อายุห่างกัน 20ปี กับการตั้งครรภ์ครั้งที่2 มารดาอายุ 40 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับ ครรภ์เป็นพิษ
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มารดาไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
ระยะก่อนการฝังตัว (Pre-conception)
ภาวะมีบุตรยาก (infertility)
ยิ่งสตรีอายุมากขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์จะต่ำลง โดยทั่วไปการตั้งครรภ์จะยากขึ้นเมื่ออายุ 32 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับจำนวนไข่ในรังไข่ที่มีจำกัด และเซลล์ไข่จะค้างการแบ่งตัวอยู่ที่ระยะไม โอชิส I (Meiosis l) จนกระทั่งตกไข่จึงจะมีการแบ่งตัวต่อจนสมบูรณ์ นอกจากนั้น ไข่บางส่วนจะฝ่อสลายไปตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะเหลือไข่ที่มีความสมบูรณ์จำนวนน้อยลง และมี โอกาสที่การแบ่งตัวต่อของเซลล์
ไข่มีความผิดพลาดได้ และเกิดเป็นเซลล์ไข่ที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและภาวะแท้ง รวมถึงหากตั้งครรภ์ต่อไปก็อาจมีตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เหล่านี้รวมเรียกว่าเป็นการแก่ตัวของไข่ (ovarian aging) และการลดลงของไข่ที่สะสม (ovarian reserve) (7)
ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ (Early pregnancy)
- การแท้งบุตร (Miscarriage)
ความเสี่ยงในการแท้งบุตรเพิ่มขึ้นตามอายุของสตรีตั้งครรภ์ โดยจะเริ่มเพิ่มขึ้นสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป อาจแท้งได้ทั้งตัวอ่อนที่มีชุด โครโมโซมปกติและผิดปกติ มักเกิดการแท้งในช่วงอายุครรภ์ 6 ถึง 14 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากคุณภาพไข่ที่ลดลง และการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและฮอร์โมน ในร่างกาย
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไปถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะนี้ โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 4-8 เท่าเมื่อเทียบกับสตรีอายุน้อย (9) สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้เกิดรกผิดปกติ หรือการทำงานของท่อนำไข่ที่เสื่อมลง ทำให้ไข่ที่ถูกผสมไม่สามารถเคลื่อนตัวไปฝังตัวในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ นอกจากนั้น อาจเกิดจากการได้รับความเสี่ยงของการเกิดพยาธิสภาพในท่อนำไข่สะสม ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน และการติดเชื้อ ในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น
การตั้งครรภ์แฝด (Multiple gestation)
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากจะมีความชุกของการตั้งครรภ์แฝดที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มที่ปฏิสนธิตามธรรมชาติ และกลุ่มที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโน โลยีช่วยการเจริญพันธุ์(Assisted reproductive technology; ART) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นมากในสตรีอายุมากกว่า 40ปี อย่างไรก็ตาม ในการตั้งครรภ์แฝดในสตรีตั้งครรภ์อายุมากจะมีภาวะแทรกซ้อน ในการตั้งครรภ์น้อยกว่าและมีผลการตั้งครรภ์ที่ดีกว่าสตรีอายุน้อย
ต่อทารก
- ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (Chromosome abnormality)
ความเสี่ยงของการเกิดจำนวนโครโมโชมผิดปกติ (aneuploidy) เพิ่มขึ้นตามอายุของสตรี
ตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ autosomal trisomy สาเหตุเกิดจากการที่เซลล์ไข่แบ่งตัวค้างอยู่ในระยะ metaphase I ขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งในระยะดังกล่าวโครโมโชมจะถูกเรียงอยู่ตรงกลางเซลล์ และเมื่อมีการตกไข่ จะเกิดการแบ่งตัวต่อ โดยมีการแยกขาของโครโมโซมออกจากกัน ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ แบบที่เรียกว่า non-disjunction นั่นคือ ขาของโครโมโชมไม่แยกกัน ทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวเสร็จสิ้น มีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการสะสมสารอนุมูลอิสระ การลดลงของจำนวนเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพ และการสั้นลงของเทโลเมียร์ (telomere) ของเซลล์ไข่ด้วย
Preterm
IUGR
- ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital anomalies)
ความชุกของการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นตามอายุสตรีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น เดิมเชื่อว่าเกิดจากจำนวนโครโมโชมผิดปกติแบบ aneuploidy แต่จากหลักฐานในปัจจุบันพบว่า มีอุบัติการณ์ของความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดที่ โครโมโชมปกติเพิ่มขึ้นตามอายุสตรีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับ aneuploidy เช่นกัน โดยเฉพาะความผิดปกติของหัวใจ ความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้อีก ได้แก่ esophageal atresia, hypospadias และ craniosynostosis
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย LBW
ทารกตายคลอด(stillbirth)
Down’s Syndrome
ทารกครบกำหนด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
EFW 3400 g
- ความผิดปกติของยีน (Gene abnormalities)
สตรีตั้งครรภ์อายุมากมีผลต่อความผิดปกติของยีน และการเกิดepigenetic events ความสัมพันธ์ของอายุที่มากขึ้นของทั้งแม่และพ่อมีผลต่อการเกิดโรคออทิสซึมได้
มารดา อายุ 40 ปี
ความผิดปกติ โครโมโซม
ความเสี่ยงของการเกิดจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (aneuploidy) เพิ่มขึ้นตามอายุของสตรีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ autosomal trisomy สาเหตุเกิดจากการที่เซลล์ไข่แบ่งตัวค้างอยู่ในระยะ metaphase I ขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งในระยะดังกล่าว โครโมโซมจะถูกเรียงอยู่ตรงกลางเซลล์ และเมื่อมีการตกไข่ จะเกิดการแบ่งตัวต่อ โดยมีการแยกขาของโครโมโซมออกจากกัน ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ แบบที่เรียกว่า non-disjunction นั่นคือ ขาของโครโมโซมไม่แยกกัน ทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวเสร็จสิ้น มีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการสะสมสารอนุมูลอิสระ การลดลงของจำนวนเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพ และการสั้นลงของเทโลเมียร์ (telomere) ของเซลล์ไข่ด้วย
Previous C/S
ผลกระทบ
•มีโอกาสเสี่ยงที่เกิดมดลูกแตกในครั้งถัดไปโดยส่วนมากจะเกิดในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์เมื่อมีเจ็บครรภ์คลอด
•เสี่ยงต่อการรกเกาะต่ำ ฝังตัวลึก เนื่องจากมีแผลผ่าตัด และมีการผ่าตัดคลอดมาแล้ว 1ครั้ง
•เสี่ยงต่อการตกเลือด
มารดา ผ่าตัดคลอด ครรภ์ที่ 1 เนื่องจากทารกมีน้ำหนัก 4300G
ความหมาย
สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
โดยนับตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงคลอด
ข้อบ่งชี้
สตรีตั้งครรภ์หรือสามีตรวจพบเป็น balanced Robertsonian translocation ของโครโมโซมคู่ที่ 21 หรือ 13
เคยตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่น เช่น Triple หรือ quadruple test แล้วพบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโครโมโซมผิดปกติ
สตรีตั้วครรภ์ที่มีอายุ > 35 ปี
Obesity
ภาวะการมีไขมันในร่างกายมากเกินไปจนอาจจะทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ
คือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลของร่างกาย BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30
Previous C/S
หมายถึง การผ่าตัดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
ครรภ์เป็นพิษ
คือโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ที่ส่งผลกระทบถึงระบบอวัยวะอื่นๆทั่วร่างกาย จนอาจทำให้ทั้งมารดาและทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ สตรีที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์แรกที่อายุน้อยกว่า 18 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปี หรือตั้งครรภ์ครั้งต่อมาห่างกันมากกว่า10ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ซึ่งตรวจพบได้จากภาวะความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ และปัญหาการไหลเวียนเลือด
กรณีศึกษา มารดาหญิงไทย อายุ 40 ปี
G2P1A0L1Last child 21 ปี GA 38+3 wks By U/S
LMP 15 ม.ค 66 EDC 22 ต.ค 66 By U/S
ประวัติการฝากครรภ์
การฝากครรภ์
• ANC รพ.อ่างทอง first ANC เมื่อ อายุครรภ์ < 12 wks
ฝากครรภ์คุณภาพ 11 ครั้ง
ได้รับวัคซีนป้องกัน คอตีบบาดทะยัก 1 เข็ม
น้ำหนักล่าสุด 98.9 กิโลกรัม ส่วนสูง 163 เซนติเมตร
BMI 36.96 kg/m2
การตรวจร่างกาย
Conjunctiva ไม่ซีด
ฟันผุ 2 ซี่
ไม่มี Thyroid บวม
หัวนม ปกติไม่บอด
ขาบวม กดบุ๋ม 1+
การตรวจครรภ์
Fundal grip : 3/4 >สะดือ 36 ,cms
Umbilical grip : last part (Right )
small part (Left) FHS 148 ครั้ง/นาที
Pawilk’s grip : vertex presentation
Bilateral inguinal grip : head engagement
ผลตรวจฝากครรภ์ครั้งแรก (30/3/66)
Sugar : neg
Albumin : neg
Group เลือด : O positive
VDRL : non reactive
HBs Ag : neg
HIV ab: neg
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติโรคประจำตัว : ปฏิเสธโรคประจำตัว
ประวัติครอบครัว : มารดาเป็นความดันโลหิตสูง
ประวัติผ่าตัด : ผ่าตัดคลอด 1 ครั้ง
ไม่แพ้ยา อาหาร
ครรภ์ที่ 1คลอด 3/7/45คลอด C/S Term เพศชาย น้ำหนัก 4300 g ที่ รพ อ่างทอง
ยาที่ได้รับ
RLS 1000ml v rate 200 cc/hr
Ampicillin 2gm to OR
Famotidine 20 mg sig1tab+น้ำ 15 cc. Oral
อาการสำคัญ
นัดมา C/S พรุ่งนี้ (12/10/66) มีท้องแข็ง 1ครั้ง/ ชม ไม่มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน
V/sแรกรับ T36.6 c PR 86 /min RR 20/min BP 106/66 mmHg
UC แรกรับ I 2’ D 30” severity 1+ FHS 158 /min
pain score 2คะแนน
การตรวจคัดกรอง/
การวินิจฉัยโรค
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำการเตรียมตัวและวางแผนการตั้งครรภ์ โดยการ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
คัดกรองเบาหวาน ในกรณีศึกษา
GCT 50 mg
110 mg% (27/4/66)
134 mg%(15/6/66)
136 mg% (10/8/66)
ฉีดหัดเยอะมัน ไวรัสตับอักเสบ แนะนำความเสี่ยงและการป้องกันเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
ระยะตั้งครรภ์
ความพิการแต่กำเนิด โดยธีการตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด
(prenatal diagnosis) ได้แก่ chorionic villus sampling เมื่ออายุครรภ์ 10-13 สัปดาห์,amniocentesis, cordocentesis การตรวจคัดกรอง สารเคมีในเลือด หรือโครโมโซม โดยตรวจเลือดแม่ โดยใช้เครื่องมือ NIPT ( non-invasive prenatal testing ) ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 Wks ขึ้นไป โดยไม่มีความเสี่ยงจากการแท้งบุตร
อายุของหญิงตั้งครรภ์ 40 ปี พบว่าอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก 1:100
คัดกรองดาวน์ซินโดรม กรณีศึกษา
ผลการ quad test (27/4/66) : 1:978
อายุของหญิงตั้งครรภ์ 45 ปี พบว่าอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก 1:40
อายุของหญิงตั้งครรภ์ 35 ปี พบว่าอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก 1:350
การเจาะน้ำคร่ำ และนำเซลล์ที่เจาะได้จากน้ำคร่ำมาตรวจหาทางพันธุกรรมเจาะเลือดจากแม่โดยหลักการจะเป็นการหาเซลล์ของทารก ที่หลุดออกมาและผ่านตัวรกเข้าสู่กระแสเลือดขอแม่ triple screening หรือ quadruple screening เป็นการหาสารชีวเคมีในร่างกายแม่ เทียบกับค่าของสตรีตั้งครรภ์ปกติ ผลที่ได้จะมีความแม่นยำประมาณ 70-80 % ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ ว่ามีโอกาสเป็นเด็กดาวน์หรือเด็กที่มีโครโมโชมผิดปกติ
คัดกรองดาวน์ซินโดรม
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน Trisomy 21
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1. ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของโคโมโซมได้แก่ Down’s syndrome เนื่องจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
ข้อมูลสนับสนุน
• หญิงตั้งครรภ์อายุ 40 ปี
• Notify: Elderly Pregnancy
วัตถุประสงค์
เพื่อคัดกรองและวินิจฉัย Down’s syndrome
เกณฑ์การประเมิน
มารดามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ Down’s syndrome ที่อาจเกิดขึ้นได้
U/S ไม่พบสิ่งผิดปกติ ไม่พบลักษณะ Down syndrome
•ผลตรวจ quest test ปกติ ไม่พบความผิดปกติของทารก
มารดาได้รับการคัดกรองและวินิจฉัย Down’s syndrome เช่น Amniocentesis,CVS, เจาะเลือดจากสายสะดือ , NIPS เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์สูงวัยหรือelderly preg nancy ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตัวมารดา และทารก โดนเฉพาะความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นdown syndrome
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ ได้แก่ การฟัง FHS โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 120-160 ครั้ง/นาที การตรวจ NST เพื่อประเมิน FHS ของทารกที่เปลี่ยนแปลงขณะที่ทารกมีการเคลื่อนไหว และการตรวจประเมินอื่นๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจความผิดปกติในทารกรวมทั้งข้อดีและข้อเสียในการ การตัดชิ้น เนื้อรก การเจาะเลือดจากสายสะดือ การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะเลือดมารดาและ U/S
ให้มารดาเลือกและเข้ารับการรักษาการตรวจความผิดปกติตามแผนการรักษาของแพทย์และการ ตัดสินใจของมารดาก่อนอายุครรภ์ 19 wks
สังเกตอาการติดเชื้อหลังจากหญิงตั้งครรภ์เจาะน้ำคร่ำ มีไข้ อุณหภูมิ 37.5ขึ้นไป มีอาการปวด ท้อง รวมกับสังเกต ถุงน้ำคร่ำรั่ว ก้อนเลือดคั่ง
ติดตามผลการตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
2.
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ได้
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาอายุ 40 ปี
BL 700 cc
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
มดลูกหดรัดตัวดี ไม่นุ่ม
สัญญาณชีพปกติ รู้สึกตัวดีถามตอบรู้เรื่อง
ให้มารดาหลังคลอดนอนพัก ลดการใช้พลังงาน และงดอาหาร และน้ำทางปาก
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็นซีด เพื่อ ประเมินการตอบสนองของร่างกายต่อปริมาณเลือดที่ลดลงในระบบไหลเวียนเลือด
ตรวจนับชีพจรและวัดความดันโลหิตทุก 15 นาที หรือบ่อยกว่านี้ ตามความจำเป็น เพื่อประเมินภาวะช็อก
ให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ให้ออกซิเจนทาง Nasal cannula 3 - 5 ลิตรต่อนาที
ประเมินดูสาเหตุของการตกเลือดเฉียบพลัน คือ การหดรัดตัวที่ไม่ดีของมดลูก การ เหลือค้างของส่วนการตั้งครรภ์ การบาดเจ็บของช่องทางคลอด เช่น มดลูกแตก และความผิดปกติของ ระบบการแข็งตัวของเลือด เช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูก และระดับยอดมดลูก
ให้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษาคือ Oxytocin 20 ยูนิต ผสมใน LRS 1,000 มิลลิลิตร หยดทางหลอดเลือดดำ ในอัตรา 60 มิลลิลิตร/ชั่วโมง และยา Cytotec 4 tab เหน็บทางทวารหนัก ซึ่งเป็นยากลุ่ม Prostaglandins รักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว ผลข้างเคียงทำให้มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียนและถ่ายเหลวได้ (พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์, 2562).
ใส่สายสวนปีสสาวะคาไว้เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะวางไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของ มดลูกและ บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง เพื่อดูการทำงานของไต ถ้าเกิดภาวะช็อกปัสสาวะจะออก น้อยกวา 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
สาเหตุ/ผลกระทบทางด้านจิตสังคม
ความเครียดและความวิตกกังวล
สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากมักมีภาระหน้าที่รับผิดชอบหลายด้านอาจเกิดความเครียดจากการปรับตัว
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์
สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากส่วนใหญ่จะรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตนเองและทารก
การยอมรับการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสตรีครรภ์หลัง จะมีบทบาทภาระเพิ่มขึ้นจะรู้สึกลำบากใจที่จะยอมรับทารกในครรภ์
ปัจจัยเสริม/สาเหตุ
กรณีศึกษา: มารดามีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน เนื่องจากคิดว่าอายุมากแล้ว
มีวิธีการคุมกำเนิดที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ
มีการศึกษาสูงขึ้น มีความเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงาน และมีการทำงานเทียบเคียงได้กับผู้ชาย ทำให้แต่งงานช้า
คู่สมรสต้องการมีความมั่นคงทางการเงินก่อน จึงชะลอการมีบุตรออกไป
ความเจริญและความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้สตรีที่แต่งงานเมื่ออายุมากสามารถมีบุตรตามความต้องการได้
อ้างอิง
นันทพร แสนสิริพันธ์ และคณะ. (2561).
การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน
(พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สมาร์ท โคดติ้ง แอนด์เซอร์วิส. WY/157/น4190/2561/SBN 978-999-012-294-7
กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2560). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม นรีเวชและศัลยกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2).สมุทรปราการ:โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉี่ยว ฉลิมพระเกียรติ. WY/157/ก125ก/2555/ISBN978-974-9781-73-9
มณีกรณ์ โสมานุสรณ์. (2558). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
WY/157/ม134ก/2556/ISBN974-239-791-5
แนวทางการดูแล
แนวทางการดูแล ไตรมาส 1-2
สตรีตั้งครรภ์ควรรับทราบความเสี่ยงของการเกิดทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม (aneuploidy) ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำในการค้นหาความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งมี 2 วิธี
- Non-invasive methods
ได้แก่การเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมน หรือการตรวจหาเซลล์จากทารก(Cell-free fetal DNA) ร่วมกับการอัลตราชาวด์ดูอวัยวะสำคัญในร่างกายของทารกอย่างละเอียด ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรอง หากพบความผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยต่อไปในสตรีตั้งครรภ์อายุมาก แนะนำให้ทำ Non-invasive prenatal testing โดยใช้วิธีการเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาเซลล์ทารก (Cell-free fe tal D NA) เนื่องจากมีความไวสูงและมีผลบวกลวงต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น และมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ ไม่แนะนำวิธีอื่นเนื่องจากจะมีผลบวกลวงสูง
ผลตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์มี 3 แบบ คือ
ความเสี่ยงต่ำ (Low risk) หมายถึง มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดความผิดปกติ
ความเสี่ยงสูง (High risk) หมายถึง มีความเสี่ยงสูงที่จะผิดปกติ ซึ่งควรตรวจวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลด้วย เช่น เจาะตรวจน้ำคร่ำ หรือตรวจชิ้นเนื้อรก เป็นต้น
ระบุผลลัพธ์ไม่ได้ (No result) หมายถึง ดีเอ็นเอของทารกในเลือดของแม่มีไม่เพียงพอสำหรับการตรวจ อาจต้องเจาะเลือดเพิ่มเติม
- Invasive methods
ได้แก่การเจาะน้ำคร่ำหรือการเจาะชิ้นเนื้อรก ซึ่งเป็นการวินิจฉัย
AMNIOCENTASIS
คือ การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปี โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียㆍ
ทำเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของมารดา
ปวดดเกร็งเล็กน้อยบริเวณท้องน้อย
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
กลุ่มเลือด RH NEGATIVE มารดาสร้างภูมิต้านทานต่อเม็ดเลือดแดง ANTI-IMMUNOGLOBULINเลือดแดงทารกทำได้โดยฉีดหลังการตรวจ
ภาวะแทรกซ้อนของทารก
แทงเข็มถูกทารก เสี่ยงSUBCUTANEOUS EMPHY และ FETAL PNEUMOTHORAX
แทงเข็มถูกสายสะดือ เสี่ยง HEMATOMA จนกด UMBILICAL VESSEL เกิดภาวาขาด 02
เกิดการติดเชื้อ
CHORIONIC VILLUS
SAMPLING
คือการดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม
ทำช่วง 10-13WKS ไม่ควรทำก่อนอายุครรภ์ 10 WKS
ภาวะแทรกซ้อน
อัตราการแท้งสูงกว่าการเจาะน้ำคร่ำคือ ร้อยละ1-2 มีเลือดออกจากตำแหน่งเจาะ
ติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
หัวใจทารกเต้นช้าลง
ข้อดี
ทำได้ขณะตั้งครรภ์น้อยๆ ในไตรมาสแรก ทราบผลได้เร็วกว่าการเจาะน้ำคร่ำ
สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยง่ายและปลอดภัยกว่าอายุครรภ์มากแล้ว
ถ้าพบความผิดปกติถ้ายุดิการตั้งครรภ์ขณะอายุครรภ์น้อยๆความผูกพันกับบุตรน้อยกว่า
การยุติการตั้งครรภ์ขณะอายุครรภ์น้อยจะทราบเฉพาะแพทย์ บิดา และสตรีตั้งครรภ์เท่านั้น
ข้อเสีย
แท้งง่าย เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำพบว่ามีโอกาส เกิด LIMB REDUCTION
คือ นิ้วมือ นิ้วเท้า หายไป
พบภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำแตกเลือดออก ติดเชื้อ
CORDOCENTESIS
เป็นขั้นตอนการนำ เลือดของทารกมาตรวจเพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับโครโมโซม โรคเลือด การติดเชื้อ และอื่นๆ (Dx. Various conditions)กลุ่มโรคติดเชื้อ TORCH: Toxoplasmosis gondi (T) Other (O)Rubella virus (R) Cytomegalovirus (C) และHerpes simplex virus
วิเคราะห์ DNA-based analysis หรือ Hemoglobin typing-based analysis
อายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ 18-22 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
อัตราการแท้งสูงกว่าการเจาะน้ำคร่ำ คือ ร้อยละ1-2
มีเลือดออกจากตำแหน่งเจาะ
ติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
หัวใจทารกเต้นช้าลง
สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างละเอียดในช่วงไตรมาส 2 เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญของทารก โดยเฉพาะหัวใจ
สตรีตั้งครรภ์อายุมาก โดยเฉพะในรายที่มีน้ำหนักเกิน ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวาน(ก่อนการตั้งครรภ์หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ ควรให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว และเฝ้าระวังการเกิดภาวะเบาหวานและความดัน โลหิตสูงตลอดการตั้งครรภ์
แนวทางการดูแล ไตรมาส 3
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการอัลตราชาวด้ในช่วงอายุครรภ์ 38-39 สัปดาห์เพื่อประเมินปริมาณน้ำคร่ำ และควรทำ antepartum testing สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยทำสลับกันระหว่าง nonstress test และ biophysical profile (BPP)ร่วมกับการนับลูกดิ้น เน้นความสำคัญของการนับลูกดิ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพทารก ในครรภ์ หาก
การทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ อาจทำการทดสอบอื่นเสริมหรือพิจารณาชักนำการคลอดทันทีหากสามารถทำได้
นอกจากเหนือจากการพิจารณาตามอายุ ควรพิจารณาความเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่น ภาวะอ้วน เชื้อชาติ จำนวนครั้งของการตั้งครภ์ และโรคร่วมต่างๆ เช่น ความดัน โลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ หรือเบาหวาน เป็นต้น
การดูแลระยะคลอด
การชักนำการคลอดทำได้ตามปกติ โดยเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีโรคร่วม เช่น ความดัน โลหิตสูง หรือเบาหวาน
เฝ้าระวังภาวะคลอดติดขัด และอาจต้องเตรียมความพร้อมในการพิจารณาผ่าตัดคลอดในรายที่ไม่สามารถคลอดได้
การดูแลระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังเป็นพิเศษในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีโรคร่วมและให้การดูแลรักษาตามภาวะเหล่านั้น
วางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปหรือการคุมกำเนิด โดยต้องพิจารณาจากน้ำหนัก เชื้อชาติ และโรคร่วมต่างๆ
การชักนำการคลอด
เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์อายุมากมีโอกาสเกิดภาวะทรกเสียชีวิตในครรภ์ได้สูง โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 37-41 สัปดาห์ จากหลายการศึกษาจึงแนะนำให้ชักนำการคลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์
1 เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ข้อมูลสนับสนุน
O:- มีภาวะ overweight
-elderly pregnancy
วัตถุประสงค์
มารดาไม่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
เกณฑ์การประเมิน
FSH 120-160 bpm
การตรวจครรภ์กับท้องสัมพันกับอายุ
น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คือ 0.5-2.0 kg/ไตรมาส
ไม่มีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออก มีการหดตัวของมดลูก ปวดเกร็งมดลูก น้ำเดิน มูกเลือด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะสุขภาพและการวินิจฉัยการพยาบาล
-วางแผนการการพยาบาล
-การป้องกันการคลอด
การปรับตัวในการดำเนินชีวิต เช่นกิจทางเพศ การยืนนานๆ การเดินขึ้นบันได
-การพักผ่อนบนเตียง
-การยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกด้วยยา
สังเกตอาการ รวมกับนับลูกดิ้น มากกว่า10ครั้งต่อวัน ถ้าลูกดิ้นน้อยลงหรือมากกว่าปกติให้รีบมาโรงพยาบาล
ถ้าพบอาการ เลือดออกทางช่องคลอด ปวดเกร็งมดลูก น้ำเดินหรือมีมูกเลือดให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก ค่าปกติ 110-160 bpm
ส่งเสริมให้มารดาผ่อนคลายไม่มีภาวะวิตกกังวล
2. เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางอายุรกรรมจากการตั้งครรภ์ เมื่ออายุมาก
ข้อมสนับสนุน
หญิงตั้งครรภ์อายุ 40 ปี
ประวัติโรคประจำตัวในครอบครัว มารดา เป็นความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาไม่เกิดโรคทางอายุรกรรม
เกณฑ์การประเมิน
ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ BP< 140/90, HR 60-100 bpm
น้ำหนักตัวขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ อยู่ในช่วง 11.5-16 กิโลกรัม
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะBP<140/90 bpm, HR 60-100 bpm เพื่อเฝ้าระวังความดัน โลหิตสูง
ติดตามตรวจผลน้ำตาลช่วงไตรมาสที่1 และไตรมาสที่3 เพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ประเมินน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ควรอยู่ในช่วง 11.5-16กิโลกรัม เพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวาน
แนะนำเรื่องรับประทานอาหาร ลดการทานหวาน กินอาหารที่เป็น โปรตีน เนื้อ นม ไข่ เพื่อส่งเสริมร่างกายทารกในครรภ์ ออกกำลังกาย เช่น โยคะที่เบาๆ เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
3 เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 75 กิโลกรัม ส่วนสูง 163 เซนติเมตร BMI 29.29 kg/m2
น้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 23 กิโลกรัม
BMI ปัจจุบัน 36.96 kg/m2
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
น้ำหนักที่ควรขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาส 3 อยู่ระกว่า 0.18-0.27 kg/wk
ทารกดิ้นดี FHS 110-160 bpm
มารดาไม่เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ค่า BS 50 gm < 120mg/dI ผลOGTT
ปกติสัญญาณชีพปกติ โดยเฉพาะBP<140/90mmHgHR=60-100 bpm
ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ
ไขมันในเลือดปกติ HDL > 35 mg/dL Triglyceride < 250 mg/dL
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP และ HR โดย BP<140/90 mmHg HR=60-100 bpm เพื่อประเมินภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการมีภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
ชั่งน้ำหนักมารดาทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ โดยในมารดาที่มีBMI ก่อนการตั้งครรภ์ > 30 ควรมีน้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 5-9 kg และมีน้ำหนักขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 0.18-0.26 kg/wk
ประเมินการรับรู้ภาวะอ้วนของมารดา เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำ แนะนำ เนื่องจากในระยะตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มารดาพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพทารก หากมารดามีการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยว กับภาวะอ้วนในขณะตั้งครรภ์และตระหนักถึงผลกระทบด้านลบที่ตามมา ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
แนะนำมารดาให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนางดรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่นน้ำอัดลม ของทอด ของหวาน ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีการสะสมของไขมันและน้ำตาลมาก
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ ได้แก่ การฟัง FHS โดยปกติอยู่ระหว่าง110-160 ครั้ง/นาที การตรวจครรภ์ด้วยวิธี Leopold maneuver เพื่อประเมินลักษณะทารกในครรภ์ และประเมินความสัมพันธ์ของขนาดและอายุครรภ์ การตรวจ NST เพื่อประเมิน FHS ของทารกที่เปลี่ยนแปลงขณะที่ทารกมีการเคลื่อนไหว และการตรวจประเมินอื่นๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำมารดาในการนับลูกดิ้นทุกวัน โดยการนับหลังรับประทานอาหาร เช้า กลางวัน เย็น เป็นเวลา 1 ชม. โดยในเวลา 1 ชม. ลูกต้องดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง และรวมกัน 3 มื้อต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง จึงถือว่าปกติ และหากมีอาการผิดปกติเช่น ลูกไม่ดิ้น หรือลูกดิ้นน้อยลง
น้ำหนัก ก่อนตั้งครรภ์ 75 กิโลกรัม
ส่วนสูง 163 เซนติเมตร
BMI 29.29 kg/m2
มีหลักฐานจาก ultrasound พบว่า ทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโคโมโซมผิดปกติ
มีประวัติบุตรคนก่อนเป็นทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติ
Elderly pregnancy
นางสาว ภัทรพร ไชยวงค์ 63110092-2