Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case ANC คุณแม่หญิงไทยอายุ 33 ปี - Coggle Diagram
case ANC คุณแม่หญิงไทยอายุ 33 ปี
คุณแม่สัญชาติไทย อายุ 33 ปี G2P1-0-0-1 ลูกคนแรก เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เพศหญิง คลอดครบกำหนด คลอบแบบ NL น้ำหนัก 2700 กรัม ที่โรงพยาบาลตำรวจ สุขภาพแข็งแรงดี
น้ำหนัก่อนตั้งครรภ์ 56.7 kg. ส่วนสูง 150 cm. BMI 25.2 kg./m2(เกินเกณฑ์) ได้รับวัคซีนบาดทะยักครบ 2 เข็มเมื่อปี 2563 ฉีดเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เมื่อวันที่ 19 ก.ย 66
มารดามีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
วินิจฉัยธารัสซีเมีย
ภรรยา MCV 81.1 Hb E screen Positive สามี MCV 81.2 fL DCIP Negative
ฝากครรภ์ครั้งแรกวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 GA 17+4 wks. ตรวจ BS ครั้งที่ 1 ได้ 106 ตรวจ Hct. 35.6 Hb 11.5 Hb E screen positive Hb typing E trait MVC 81.1 fL ตรวจ Hb E screen ของสามีเป็น negative MVC 81.2 ครั้งที่ 2 25 กรกฎาคม 2566 ครั้งที่ 3 22 สิงหาคม GA 22+4 wks. ทำ U/S ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 475 กรัม No grass anomaly No cleft lip ครั้งที่ 4 19 กันยายน GA 26+4 wks. ตรวจ BS ได้ 110 ฉีดวัคซีนบาดทะยักเข็มกระตุ้น ครั้งที่ 5 17 ตุลาคม น้ำหนักtotal ตลอดระยะการตั้งครรภ์ได้ 11.5 กิโลกรัม ซึ่งปกติต้องขึ้น 0.2-0.3 kg./wks.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อที่ 1 เสี่ยงต่อมีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากมีภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
BMI ก่อนตั้งครรภ์ 25.2 kg./m2
อายุมากกว่า 30 ปี
น้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 11.5 กิโลกรัม
นน.ก่อนตั้งครรภ์ 56.7 kg. สูง 150 cm.
มารดามีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำหนักในช่วงไตรมาส 3 ควรขึ้น 0.2-0.3 kg./wk
BS 50 gm. อยู่ในเกณฑ์ปกติ 50-120
ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
ชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ เพื่อประเมินภาวะอ้วน โดยในมารดาที่มี BMI < 25 ควรมีน้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์7-11.5 กก.และมีนน.ขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 0.2-0.3 kg
ประเมินการรับรู้ภาวะอ้วนของมารดา เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำ
แนะนำมารดาให้รับประทานอาหารที่่มีคุณค่าทางโภชนาการ งดรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลสูง
แนะนำมารดาให้ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของนน.
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ ได้แก่ การฟัง FHS ค่าปกติ 110-160 bpm. การตรวจครรภ์ด้วยวิธี Leopold maneuver เพื่อประเมินลักษณะทารกในครรภ์ และประเมินความสัมพันธ์ขนาดและอายุครรภ์
แนะนำให้มาตรวจตามนัด
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะ protein creatinine เพื่อประเมินการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ
ข้อที่ 3 การให้คำแนะนำมารดาตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3
ข้อมูลสนับสนุน
GA 30+4 wks.
ขนาดหน้าท้อง 3/4 (+-36 cm.)
วัตถุประสงค์
มารดามีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาสามารถอธิบายวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกายได้
มารดาอธิบายความสำคัญของการมาตรวจตามนัดได้
มารดารับประทานวิตามินตามแผนการรักษา อย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้ ความเข้าในของมารดา เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในไตรมาสที่ 3 โดยการพูดคุย สอบถาม
ให้คำแนะนำมารดาในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากการติดเชื้อเป็นปัจจัยส่งผลให้มารดาเจ็บคลอดก่อนกำหนดได้ แนะนำใหทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ
แนะนำการดับลูกดิ้น
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปวดหัว ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่
แนะนำให้รับประทานวิตามินตามแผนการรักษา
เปิดโอกาสให้มารดาได้สอบถามข้อสงสัย
แนะนำมารดา เกี่ยวกับอาการสำคัญที่ต้องมารพ.
เจ็บครรภ์เตือน
เจ็บครรภ์จริง
มีน้ำเดิน มูกเลือด ไม่สามารถกลั้นได้
ลูกดิ้นน้อยลง
ปวดหัว ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด
แนะนำกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ เช่น พูดคุย เล่านิทาน ฟังเพลง ใช้ไฟฉายส่องหน้าท้อง
ข้อที่ 2 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาอายุ 33 ปี
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพ อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะ ความดันโลหิต < 140/90 mmHg. HR 60-100 bpm.
ผลการตรวจคัดกรองเบาหวานปกติ BS 50 gm. < 120 mg/dL OGTT ปกติ
ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ
ทารกดิ้นดี > 10 ครั้ง/วัน ฟัง FHS 110-160 bpm.
ผลการตรวจ NST ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ ทุกครั้งที่มาตรวจครรภ์ โดยเฉพาะ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ เนื่องจากมารดาที่อายุมาก เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง
ตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยคัดกรองจาก BS 50 gm. เมื่อมีการฝากครรภ์ครั้งแรก หากผลเป็นปกตินัดตรวจครั้งต่อไปเมื่อ GA 24-28 wks แต่ถ้าค่า BS > 120 mg./dL จะนัดตรวจ OGTT อีกครั้งใน 1 สัปดาห์ หากผลผิดปกติ 2 ค่าขึ้นไปถือว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำมารดาเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซม โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เพื่อตรวจดูโครโมโซม เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ ได้แก่ การฟัง FHS ค่าปกติ 110-160 bpm. การตรวจครรภ์ด้วยวิธี Leopold maneuver เพื่อประเมินลักษณะทารกในครรภ์ และประเมินความสัมพันธ์ขนาดและอายุครรภ์
ติดตามผลการ Ultrasound เพื่อประเมินความผิดปกติของทารก เช่น ความผิดปกติของโครงสร้าง ปากแหว่งเพดานโหว่ การตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำ การประเมนความผิดปกติของรก
แนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน โดยนับหลังรับประทานอาหาร เช้า กลางวัน เย็น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยในเวลา 1ั่วโมง ควรดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง รวม 3 มื้อ ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง
แนะนำมาดาให้รับประทานวิตามินที่ได้รับ Nataral Calvin สม่ำเสมอ
ABO group B RH group Positive
นัดครั้งถัดไปอีก 2 สัปดาห์ วันที่ 31 ต.ค GA 32+4 wks.
ติดตามอาการผิดปกติ ดูpresentation แนะนำเรื่องการนับลูกดิ้น