บทที่ 8 เด็กปัญญาอ่อนและเด็กด้อย
ความสามารถในการเรียน
ความหมาย
เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งระดับปัญญาอ่อน
- ระดับอ่อน ให้การศึกษาได้ (educable EMR)
- ระดับฝึกได้ (trainable)
- ระดับต้องดูแลใกล้ชิด (custodal)
เด็กด้อยความสามารถในการเรียน
กลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้ามาก โดยเฉพาะด้านสมรรถภาพใน
การเรียนรู้และการปรับตัว ถ้าเด็กกลุ่มนี้ทำแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Stanford-Binet จะได้คะแนนต่ำกว่า 70 ลงไป ซึ่งมีคะแนนที่ต่ำกว่าระดับปกติ
เด็กที่ทั้งครูและพ่อแม่เห็นว่าไม่มีความสามารถในการเรียน
เขียน อ่าน คิดเลข ในระดับที่เด็กวัยนี้ควรเรียนได้
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะทาง
- ปัญหาทางด้านภาษา
ปัญหาที่พบบ่อยคือ ความสามารถในการอ่าน การจำตัวพยัญชนะการผสมเป็นคำ การเข้าใจข้อความที่อ่านได้น้อยกว่าวัยและระดับชั้นที่เรียน ทั้งที่อวัยวะหูและตาปกติ เช่น พูดไม่ชัด อ่านข้ามบรรทัด ใช้ระดับเสียงผิดปกติ
- ปัญหาทางด้านความสามารถในการเรียน
มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนจะอยู่ในระดับต่ำกว่าชั้นที่ตนกำลังเรียนอยู่ประมาณ 1 ถึง 1 ชั้นครึ่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าความสามารถทางสมอง จะช่วงสมาธิสั้นความตั้งใจหรือสนใจสิ่งเฉพาะเจาะจงน้อย เปลี่ยนความสนใจง่ายและมีอารมณ์ฉุนเฉียวมุทะลุง่าย ไม่มีความอดทนต่อการรอคอย
- ปัญหาทางด้านพฤติกรรม
มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม คือ มักทำอะไรรุนแรงอย่างไม่มีเหตุผลไม่ถูกกาลเทศะ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ชอบก่อกวน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น การไม่เคารพกฎระเบียบ ก้าวร้าวทางวาจา
- ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
มีความผิดปกติทางอารมณ์ และมีอาการทางประสาท เช่น วิตกกังวลสูง กลัวสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล ตกใจง่าย เจ้าอารมณ์ และขาดความสนใจจากสิ่งแวดล้อม มีความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้า มีพัฒนาการทางอารมณ์ช้ากว่าเด็กปกติ
- ปัญหาทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มีปัญหาการใช้ภาษาและคำช้ากว่าวัย มักจะพูดวกวน สับสน จับใจความสำคัญไม่ได้ มีปัญหาด้านการรับรู้เรื่องเวลา สถานที่ บุคคล สติปัญญาและทักษะในด้านต่าง ๆ อาจเสื่อมลงกว่าเดิม
- ปัญหาด้านการรับรู้
เด็กไม่สามารถจำแนกสิ่งต่าง ๆ ได้
6.1 การรับรู้ทางตา เด็กจะไม่สามารถอธิบายภาพ หรือบอกลักษณะของความแตกต่างของภาพที่เห็น และจำไม่ได้
6.2 การรับรู้จากการฟัง มีปัญหาทางด้านการฟัง เช่นได้ยินเสียงแต่ บอกไม่ได้ว่าเป็นเสียงของอะไร
- ปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหว
มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถมาก หรือน้อยผิดปกติ แสดงปฏิกิริยาไม่เหมาะสม เช่น โยกตัว เป่าปาก มักจะมีอาการกระตุกหรือเกร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
7.1 ความเคลื่อนไหวที่เกินปกติ (Hyperactivity) อยู่นิ่งเฉย ๆ ไม่ได้ การเคลื่อนไหวซ้ำ
7.2 ความเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าปกติ (Hypoactivity) เชื่องช้า งุ่มง่าม เงอะงะ
7.3 ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ (Incoordination) มีปัญหาทางด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การวินิจฉัยเด็ก
ครูหรือผู้ปกครองสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็ก
ครูตรวจดูผลการทำงานของเด็ก เช่น แบบฝึกหัด การบ้าน
ตรวจและพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก
หลักสูตรการเรียนการสอน
- ด้านภาษา การพูด อ่าน ฟังและเขียนสะกดคำ การเปล่งเสียงและจำแนกเสียง
- ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การนั่ง คลาน เดิน วิ่ง ขว้างปาสิ่งของ ส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การวาดภาพ การต่อภาพ
- ด้านทักษะทางสังคม การมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ด้านวิชาความรู้พื้นฐาน ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
- ด้านการงานและพื้นฐานอาชีพ
ฉัตรมณี ซาบุ 6310851888 หมู่ 155