Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case : มารดาหลังคลอด อายุ 24 ปี G1P0101 GA 36+4 wks with C/S wiht Preterm…
Case : มารดาหลังคลอด อายุ 24 ปี G1P0101 GA 36+4 wks with C/S wiht Preterm with Placenta previa totalis with Fetal Microcephaly
CC : มีเลือดออกทางช่องคลอด 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
ก่อนตั้งครรภ์ สูง ซม. น้ำหนัก กก. BMI : 16.82 kg/m2 แปลผลว่า น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
ขณะตั้งครรภ์ น้ำหนัก กก. BMI 20.39 kg/m2 แปลผลว่า น้ำหนักปกติ
Lab :
UA :
PE :
มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (ตามสมุดฝากครรภ์)
ปฏิเสธการมีโรคประจำตัวในครอบครัว
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
ปฏิเสธการผ่าตัด
Placenta Previa Totalis
พยาธิสภาพ
รกฝังตัวส่วนล่างของมดลูก ซึ่งเป็นบริเวณที่เลือดมาเลี้ยงน้อยกว่ามดลูก ทำให้รกแผ่กว้างกว่าปกติ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหาร เมื่อเกิดการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้ผนังมดลูกส่วนล่างถูกดึงให้ยืดขยายออก แต่ส่วนของรกไม่ได้ยืดขยายตาม จึงเกิดการฉีกขาดของเยื่อบุโพรงมดลูกและหลอดเลือด ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด
สาเหตุตามทฤษฎี
ตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์
การมีแผลที่ผนังมดลูก
การผ่าตัดคลอดการตั้งครรภ์ในอดีต
การขูดมดลูกที่มีสาเหตุมาจากการแท้ง/การคลอดก่อนกำหนด
การตั้งครรภ์แฝด
จำนวนของการคลอด (มีโอกาสสูงมากขึ้น)
มดลูกมีขนาดใหญ่/รูปร่างที่ผิดปกติ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
หญิงตั้งครรภ์พฤติกรรมสูบบุหรี่
ความผิดปกติของรกเอง เช่น มีรกน้อย หรือรกมีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง บางกว่าปกติ และอาจแผร่กว้างลงมาถึงผนังมดลูกส่วนล่าง
สาเหตุของกรณีศึกษา
U/S พบความผิดปกติของรก คือ รกของมารดามีลักษณะเป็นแผ่นกว้างอยู่บริเวณผนังมดลูกส่วนล่าง และปกคลุมปากมดลูกทั้งหมด ทำให้มารดามีเลือดออกทางช่องคลอดก่อนถึงอายุครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ตกเลือด อาจเกิดอาการช็อกจากการเสียเลือด
น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด
มีเลือดออกทางช่องคลอด
ติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีเส้นเลือดแตกใกล้ปากมดลูก จึงทำให้ติดเชื้อง่าย
ทำสูติศาสตร์หัตถการหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
Anemia in pregnancy
พยาธิสภาพ
โฟเลตจะอยู่ในร่างกายในรูปของกรดโฟลิก สะสมอยู่ที่ตับโดยสะสมได้นานประมาณ 6 สัปดาห์ ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตจะเกิดขึ้นเมื่อขาดโฟเลตประมาณ 3 สัปดาห์ หากขาดโฟเลตประมาณ 18 สัปดาห์ จะทำให้เกิดภาวะMegaloblastosis ในไขกระดูก เม็ดเลือดแดงจะมีขนาดใหญ่ ถ้ามีภาวะซีดรุนแรงมาก อาจพบภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำหรือภาวะเกร็ดเลือดต่ำร่วมด้วย
สาเหตุตามทฤษฎี
การเสียเลือดแบบเฉียบพลันเช่น การได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นต้น
เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ
สาเหตุของกรณีศึกษา
คาดว่าอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นคาดว่าอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามิน B2/6/12 เป็นต้น เนื่องจากมารดาปฏิเสธการมีโรคโลหิตจางเป็นโรคประจำตัว
ผลกระทบต่อมารดา
ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายมีความต้านทานต่อการติดเชื้อต่ำ
คลอดก่อนกำหนด
เกิดครรภ์เป็นพิษได้ง่าย
ความดันเลือดต่ำ ช็อคได้ง่ายเมื่อเสียเลือดจากการคลอด
Preterm Labour
พยาธิสภาพ
การมีการหลั่งของ Estrogen, Oxytocin และ Prostaglandin เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดรัดตัวและขยายมากยิ่งขึ้นปากมดลูกนุ่ม เปิดขยายได้ง่าย
สาเหตุตามทฤษฎี
การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด
มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ติดเชื้อในช่องคลอดหรือทางเดินปัสสาวะ
ภาวะน้ำเดินก็จะเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด
มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด
มารดามีน้ำหนักตัวน้อยหรือผอมมาก
การใช้สารเสพติด
สาเหตุของกรณีศึกษา
มารดามีน้ำหนักตัวน้ำ รูปร่างค่อนข้างผอม
BMI : 16.82 kg/m2 แปลผลว่า น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
อายุครรภ์ 35+6 wks มีเลือดออกทางช่องคลอด จึงมาAdmit ที่ LR ได้รับการรักษาด้วยยา Nifedipine จนถึงอายุครรภ์ 36+4 wks จึงเข้ารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เนื่องจากรกเกาะต่ำ
ผลกระทบต่อมารดา
มารดามีน้ำนมมาช้าหรือน้ำนมน้อย
อาจเกิดภาวะเครียดจากแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
Fetal Microcephaly
พยาธิสภาพ
สมองมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ จำนวนและความลึกของคลื่นหรือรอยหยักของเนื้อสมองจะลดลง สมองส่วน Frontal lobe จะมีขนาดเล็ก และไม่ได้สัดส่วนกับ Cerebellum ซึ่งมีขนาดใหญ่ลึกของคลื่นหรือรอย
สาเหตุตามทฤษฎี
ภาวะติดเชื้อของทารกในมดลูก ท็อกโซพลาสโมสิส
โรคหัดเยอรมัน หรือ รูเบลล่า ไวรัสเริม เชื้อซิฟิลิส ไวรัสซัยโตเมกะโลไวรัส และไวรัสHIV
การที่มารดาได้สัมผัสกับสารพิษสารเคมีสัมผัสกับสารโลหะหนัก เช่น สารหนู และสารปรอท
มารดาดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยาเสพติด
ภาวะทางด้านพันธุกรรม
การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ขณะมีครรภ์อายุครรภ์น้อย
สาเหตุของกรณีศึกษา
สาเหตุของกรณีศึกษายังไม่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้จากการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากไม่มีข้อมูลการติดเชื้อของทารกในครรภ์ และการเป็นโรคดังที่กล่าวมา มารดาให้ข้อมูลว่า ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติด
ผลกระทบต่อทารก
อาการอัมพาตจากสมองผิดปกติ
ทารกมีพัฒนาการช้า
มีความผิดปกติในการกลืนและการรับประทานอาหาร
สมองและระบบประสาทอื่นๆ มีความผิดปกติ
3. ทารกเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า เนื่องจากศีรษะเล็ก
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : ทารกคลอดก่อนกำหนด
O : แรกเกิดมีขนาดศีรษะ 31 ซม.
O : ทารกไม่ค่อยดูดนมมารดา
เกณฑ์การประเมิน
มารดาและผู้ดูแลเข้าใจเกี่ยวกับโรค
ทารกดูดนมนานและถี่ขึ้น
ทารกมีพัฒนาการตามวัยเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของเด็กทารกและโรค ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากได้รับการดูแลช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้น อาจช่วยเสริมพัฒนาการและช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ การดูแลเกี่ยวกับท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น
สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก เกี่ยวกับระบบการเคลื่อนไหว และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ส่งเสริมให้มารดาพูดคุยกับทารกและกระตุ้นการดูดนมบ่อยขึ้น
แนะนำให้มารดา ผู้ดูแล กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของทารกให้มากที่สุด ตามสมุดส่งเสริมพัฒนาการ
ผลการประเมิน
มารดาเข้าใจเกี่ยวกับโรค
ทารกดูดนมนานขึ้น
ยังไม่สามารถประเมินพัฒนาการตามวัยได้
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัย
1. เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า "รู้แค่ว่าเป็นโลหิตจางต้องท้อง"
O : สมุดฝากครรภ์ ระบุว่าเป็นโลหิตจางขณะตั้งครรภ์
O : ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีแผลที่โพรงมดลูก
O : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ (ขณะตั้งครรภ์)
• Hb 10.5 g/dL (L)
• Hct 32.5 % (L)
• MCV 65.9 fL (L)
• Hb typing = A2A, Hb A2 < 3.5%
• แรกรับแผนกหลังคลอด Hct 31 % (L)
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผลทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• Hb 12.0-16.0 g/dL
• Hct 37.0-47.0 %
• MCV 80.0-100.0 fL
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตลักษณะเลือดที่ออกทางช่องคลอด และลักษณะแผลผ่าตัด ถ้าพบความผิดปกติเช่นมีเลือดออกจำนวนมากจากโพรงมดลูก มีเลือดออกจากแผล หรือมีแผลบวมจากการคลั่งของก้อนเลือด ให้การช่วยเหลือ เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 2 ชั่วโมง ภายหลังจากประเมินในระยะที่ 4 ว่าปลอดภัยแล้ว ควรประเมินต่อทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะปกติ จากนั้นจึงประเมินทุก 2 - 4 ชั่วโมง ถ้าพบความผิดปกติให้รีบช่วยเหลือตามอาการและรายงานแพทย์
• BP 140/90 - 90/60 mmHg
• PR 60-100 ครั้ง/นาที
• RR 16-20 ครั้ง/นาที
ดูแลไม่ให้มีกระเพาะปัสสาวะเต็ม เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างมดลูกหดรัดตัวดี ป้องกันการตกเลือด
กระตุ้นให้ทารกดูดนมมารดาให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยในการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ยาและสารน้ำตามแผนการรักษา คือ
• RLS 1000 ml IV rate 120 cc/hr + synto 10 ū
ผลการประเมิน
มารดาไม่มีอาการและอาการแสดงของการตกเลือด
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ยังไม่เจาะเลือดส่งตรวจ
2. เสี่ยงต่อติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิต้านทานยังไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : ทารกคลอดก่อนกำหนด อายุ 1 วัน
O : สะดือทารกยังไม่แห้งและไม่ได้ดูนม เพราะน้ำนมไหลน้อย
O : สัญญาณชีพ BT 37.1 ◦C, PR 154 ครั้ง/นาที, RR 48 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลและสัมผัสทารกทุกครั้ง
ประเมินอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อ เช่น ตัวร้อน หายใจหอบ ร้องกวน กระสับกระส่าย
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์ของใช้ทารกให้สะอาด
ดูแลให้อาบน้ำ-สระผมวันละ 1 ครั้งและเช็ดสะดือด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% วันละ 2 ครั้ง
ดูแลหรือสังเกตบริเวณตาของทารกหากมีเปียกแฉะ ควรรายงานแพทย์
ทำความสะอาดทุกครั้งหลังขับถ่าย หรือเมื่อเปียกแฉะ
ให้คำแนะนำแก่มารดาและญาติล้างมือก่อนและหลังสัมผัสทารกทุกครั้ง การดูแลทารกให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ สอนสาธิตวิธีทำความสะอาดสะดือ
ผลการประเมิน
วันที่ 16 -17 ต.ค. 66 สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• BT 36.8 - 37.4 ◦C
• PR 120 - 160 ครั้ง/นาที
• RR 40 - 60 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
บริเวณสะดือเริ่มแห้ง ไม่มีบวมแดง
ไม่มีตาเปียกแฉะ
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบต่างๆของร่างกายทารก
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• BT 36.8 - 37.4 ◦C
• PR 120 - 160 ครั้ง/นาที
• RR 40 - 60 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น หนาวสั่น ตัวร้อน หายใจหอบ รัองกวน เป็นต้น
บริเวณสะดือไม่มีอาการบวมแดง
บริเวณตาไม่มีเปียกแฉะ
4. ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
ข้อมูลสนับสนุน
S: มารดาบอกว่า “จะเลี้ยงด้วยนมแม่ 3 เดือน เพราะจะต้องไปทำงาน”
O : มารดา G1 ยังไม่มีทักษะในการให้นมบุตร
O : LATCH Score 7 คะแนน
• Latch การเลีย/การอม 1 คะแนน
• Audible เสียงกลืน 0 คะแนน
• Type of nipple ลักษณะหัวนม 2 คะแนน
• Comfort ความสบาย 2 คะแนน
• Hold การอุ้ม 2 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดามีความรู้และเห็นความสำคัญในการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่
เกณฑ์การประเมิน
มารดาให้นมบุตรได้เหมาะสม
มารดาสามารถบอกประโยชน์ของการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ได้ถูกต้อง
LATCH Score 8-10 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การกระตุ้นให้บุตรดูดนมอย่างถูกวิธี 4 ดูด ได้แก่
• ดูดเร็ว คือ ดูดหลังคลอดทันที
• ดูดบ่อย คือ ดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง ครั้งละ 10-15 นาที หรือให้นมตามความต้องการของทารก
• ดูดถูกวิธี คือ ปากของทารกต้องอ้ากว้างและอมให้ลึกถึงลานนมลำตัวทารกแนบชิดกับท้อง
• ดูดเกลี้ยงเต้า คือ หลังให้ลูกดูดนมเสร็จแล้ว เต้านมนิ่มลงทั้งเต้า อาการเจ็บตึงที่เต้านมหายไปด้วย
อธิบายถึงประโยชน์ของการที่ทารกได้รับนมจากมารดา ได้แก่ สารอาหารครบถ้วน เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของร่างกายทารกมี ภูมิคุ้มกันโรค กระตุ้นให้เกิดความรักความอบอุ่นจากมารดา ทำให้มดลูกหดรัดตัว ดีเข้าอู่เร็ว ช่วยขับน้ำคาวปลา เป็นต้น
แนะนำอาหารที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนมมารดา
• อาหาร เช่น ผัดขิง น้ำขิง แกงหัวปี แกงเลียงใส่ใบกะเพราหรือหัวปลี แกงส้ม ไข่เจียวฟักทอง
• ผลไม้ เช่น มะละกอสุก อินผาลัม กล้วย พุทรา เม็ดขนุน มะขาม เป็นต้น
หากต้องแยกจากบุตรเพื่อรับการรักษา หรือต้องไปทำงาน แนะนำให้นวดเต้านม บีบเกลี้ยงเต้า หรือปั๊มนมเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อให้ทารกได้รับนมมารดาอย่างต่อเนื่อง
ผลการประเมิน
มารดาให้นมบุตรได้ถูกต้อง
มารดาบอกถึงประโยชน์ได้ถูกต้อง
LATCH Score 8 คะแนน
ผลกระทบต่อทารก
เสียชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์
การเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีความพิการแต่กำเนิด เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
ผลกระทบต่อทารก
คลอดก่อนกำหนด
ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
การทำงานของปอดไม่สมบูรณ์
มีภาวะเลือดออกในสมอง
ภาวะลำไส้อักเสบและเน่า
มีปัญหาการมองเห็น
พัฒนาการล่าช้า
ผลกระทบต่อทารก
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
น้ำหนักตัวน้อย
คลอดก่อนกำหนด
มีภาวะซีดหลังคลอด
น้ำหนักตัวน้อย
มารดาให้ประวัติว่า “รับประทานยาคุมฉุกเฉิน แต่ตั้งครรภ์”
มารดาได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง