Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลมพิษ (URTICARIA) - Coggle Diagram
ลมพิษ (URTICARIA)
PHYSICAL URTICARIA
-
1.2 Cholinergic urticaria พบลมพิษชนิดนี้ได้บ่อยในวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่อายุน้อยเกิดขึ้น เมื่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย เช่น เมื่อออกกำลังกาย ถูกความร้อน อารมณ์เครียด รับประทานอาหารเผ็ด
-
1.4 Contact urticaria ลมพิษที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสสารเคมีภายนอกเกิดจากสาเหตุทางอิมมูน หรือไม่เกี่ยวกับอิมมูนช เช่น ยาทาเฉพาะที่ เครื่องสำอาง ยางธรรมชาติ ยางลาเท็กซ์ การสัมผัสสัตว์ เช่นบุุ้ง พืช เช่น หมามุ่ย หรือสารเคมีบางชนิด
1.5 Pressure urticaria ลมพิษที่เกิดจากการกด เป็น dermographism ที่เกิดขึ้นภายหลัง 30 นาทีถึงหลายชั่วโมง หลังมีแรงกดทับบนผิวเป็นเวลานาน เช่น เกิดที่ฝ่าเท้า หลังจากเดินหรือยืนนานๆ เกิดที่สะโพกจากการนั่งอยเู่ป็นเวลานาน ลมพิษชนิดนี้พบไม่บ่อย มีอาการคันน้อย แต่มักจะเจ็บ และมีอาการบวมอยู่นานจึงยุบลง
1.6 Aquagenic urticaria ลมพิษที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับน้ำ พบไม่บ่อย ลักษณะตุ่มนูนแดงขนาดเล็กคล้าย cholinergic
urticaria มักเกิดภายหลังสัมผัสน้ำไม่กี่นาที
1.7 Solar urticaria ลมพิษที่เกิดจากแสงแดด พบได้น้อยผื่นลมพิษจะขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังได้รับแสงแดด และพบภายใน 1 ชั่วโมง หลังหลบแดด มักพบในผู้ใหญ่อายุน้อย เพศหญิง
การรักษา
- พยายามหาสาเหตุและกำจัดสาเหตุหรือหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ให้เกิดลมพิษขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่อาจกระตุ้นให้ลมพิษขึ้น เช่น ความเครียด อากาศร้อน และสารที่สามารถทำให้ฮีสตามีนถูกปล่อยออกมาจากเซลล์โดยตรง เช่น แอลกอฮอล์ ยาประเภท opiates NSAIDS แอสไพริน และ ACE inhibitors ในผู้ป่วย ภาวะ angioedema
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ผสม food additives บางชนิด เช่น สีผสมอาหารวัตถุกันบูด salicylates
วิตามิน ยาบำรุง สมุนไพร หรือยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น
- รักษาโรคอื่นที่เป็นอยู่ (underlying disease)
แม้จะพบได้น้อยแต่ผื่นลมพิษอาจเป็นอาการแสดงทางผิวหนังของโรคทางกาย อื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น ลมพิษเรื้อรังที่พบในผู้ป่วย autoimmune thyroid disease ในผู้ป่วยกลุ่มนี้หากได้รับการรักษาลมพิษด้วยยาต้านฮีสตามีนแล้วไม่ได้ผล ถ้าผู้ป่วยมีภาวะ hypothyroid หรือ euthyroid พิจารณาให้ thyroxine ร่วมกับการตรวจระดับของ thyroid-stimulating hormone ทุก 4-6 สัปดาห์เพื่อติดตามไม่ใหเ้กิดภาวะ hyperthyroid จากยา thyroxine ที่ได้รับ
- การอาบน้ำเย็นหรือประคบด้วยน้ำเย็นอาจช่วยลดอาการคันแต่ห้ามใช้ในลมพิษที่เกิดจากความเย็น
- การทาแป้งเย็นหรือโลชั่น ที่ทำให้เย็น ที่มีส่วนผสมของ menthol เช่น calamine หรือ Sarna lotion® อาจช่วยลดอาการคันได้แต่ต้องระวัง หากใช้มากๆ อาจทำให้ผิวแห้งก่อให้เกิดอาการคันได้
4.1 ยาต้านฮีสตามีนที่H1 receptor r เป็นตัวยาหลักอันดับหนึ่งที่เลือกใช้รักษาลมพิษเฉียบพลันและลมพิษเรื้อรัง ให้ผลการรักษาดีทั้งการลดอาการและจำนวนผื่นลมพิษ แต่มีข้อเสียคือ ต้องกินยาวันละหลายครั้งและมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ความสามารถในการทำงานลดลง
4.2 ยาต้านฮีสตามีนที่ H2 receptor อาจให้ผลในการรักษาที่ดีขึ้นในผู้ป่วยลมพิษบางราย ในผู้ป่วย dermographism และผู้ป่วยลมพิษที่เกิดจากความเย็น
4.3 Tricyclic antidepressant Doxepin มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนที่H1และ H2 receptor ใช้ได้ผลดีในลมพิษชนิดเรื้อรัง หรือในผู้ป่วยลมพิษที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ปากแห้งและท้องผูก
4.4 Ketotifen (Zaditen®) มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน และเป็น mast cell stabilizer ขนาดรักษาในผู้ใหญ่ให้1-2 mg วันละ 2 คร้ัง ใช้ได้ผลในการรักษาลมพิษชนิดเรื้อรัง cholinergic urticaria และ physical urticaria
4.5 คอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน อาจใช้ในลมพิษชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีภาวะ anaphylaxis แต่สำหรับลมพิษเรื้อรังไม่แนะนำ ให้ใช้ยกเว้นในรายที่ดื้อต่อการรักษาโดยให้เพียงระยะสั้น นอกจากนี้อาจใช้ใน การรักษา urticarial vasculitis
4.6 การรักษาลมพิษในโรค hereditary angioedema ในผู้ป่วยมีระดับ C1 inhibitor ต่ำ พบลมพิษชนิดนี้ได้น้อยมาก สามารถป้องกันได้ด้วย anabolic steroids เช่น danazol (200-600 มก./วัน), stanozolol (2 มก./วัน) แนะนำให้ส่งผู้ป่วยต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและเพื่อการรักษาต่อไป
-
ความหมาย
ลมพิษเป็นอาการและอาการแสดงทางผิวหนังที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดผื่นนูนแดงและคัน ซึ่งมักจะเป็นอยู่ไม่เกิน
24-28 ชั่วโมงจึงยบุลง หลังจากนนั้นจะกลับมามีมีผื่นขึ้นใหม่อีก เป็นๆหายๆ
อาการและอาการแสดง
ลมพิษมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือผื่นนูนแดง ส่วนใหญ่มีอาการคัน อาการคันจะน้อยกว่าใน angioedema ลักษณะรอยโรคลมพิษจะนูน บวม แดง เป็นปื้น ขอบเขตชัดเจน รูปร่างกลม เป็นวงแหวน หรือมีขอบหยักโค้ง ล้อมรอบด้วยผื่นแดง บางรอยโรคจะมีสีซีดตรงกลาง ขนาดของผื่นมีต่างกัน ตั้งแต่หลาย มม. ถึง ซม.
อาการอื่นที่อาจพบร่วมกับลมพิษ ได้แก่ anaphylactic shock จะพบมีลมพิษเฉียบพลัน ร่วมกับภาวะความดันต่ำ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน มีอันตรายถึงชีวิตได้ผ้ป่วย serum sickness อาจพบมีไข้ปวดข้อ และต่อมน้ำเหลืองโต
ผู้ป่วยที่เป็นลมพิษอาจมีการบวมเฉพาะที่ (angioedema) ร่วมด้วย หรือบางรายอาจมี angioedema เพียงอยา่งเดียว ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะบวมหนา ผิวหนังมีสีปกติหรือแดงเล็กน้อย มักไม่คัน แต่อาจมีอาการปวดหรือแสบร้อน ผื่น ชนิด angioedema มักเป็นบริเวณใบหน้า หนังตา ริมฝีปาก แขน ขา แต่อาจเกิดที่ส่วนอื่นของร่างกายได้การบวมอยู่นาน 48-72 ชั่วโมงถ้ามีการบวมที่กล่องเสียงอาจทำให้เสียงแหบ หายใจลำบากและอาจถึงชีวิตได้ การบวมของเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้อง