Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
[ลักษณะ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู] - Coggle Diagram
[ลักษณะ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู]
มาตรา 1598/38
ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี
มาตรา 1598/39
เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้
มาตรา 1598/40
ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระเป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็นสมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อมีเหตุพิเศษและศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แก่บุตร จะกำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใด ๆ นอกจากที่คู่กรณีตกลงกัน หรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เช่นให้ไปอยู่ในสถานการศึกษาหรือวิชาชีพ โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูออกค่าใช้จ่ายในการ
มาตรา 1598/41
สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร โดยสังเขปคือ
ฐานะ อาชีพ รายได้ และความสามารถของจำเลย
สถานะ อาชีพ รายได้ ของบิดาหรือมารดาฝ่ายที่เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
สถานะอาชีพรายได้ของบุตรผู้เยาว์
ความจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันการศึกษาตามสมควรแก่ฐานานุรูป
เรียกค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังได้ไหม ?
หน้าที่ในการ ให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรของบิดามารดานั้นเกิดขึ้นตั้งแต่คลอดและอยู่รอดเป็นทารกจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะหรือถึงแก่ความตาย
ดังนั้นแล้วในการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้ฟ้องคดีย่อมสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่เด็กเกิดได้ หากบิดาหรือมารดาไม่เคยให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรเลย
แต่อย่างไรก็ตาม นี่เข้าประการะเลี้ยงดูบุตรนั้นมีอายุความเพียง 5 ปีเท่านั้น ดังนั้นหากจำเลยเข้ามาต่อสู้คดีและให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องอายุความก็จะสามารถเรียกค่าบริการรับเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังได้เพียง 5ปีเท่านั้น