Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 71 ปี - Coggle Diagram
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 71 ปี
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อผู้รับบริการ นางสมศรี นามสกุล ปันทอง อายุ 71 ปี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 40 หมู่ 2 บ้านสันต้นดู่ ตำบลสันปู่เลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
สถานภาพ สมรส สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
วันที่เริ่มดูแลผู้รับบริการ 19 กันยายน 2566 วันที่สิ้นสุดการดูแลผู้รับบริการ
ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพปัจจุบัน แม่บ้าน อาชีพในอดีต เกษตรกร
รายได้เฉลี่ยของผู้รับบริการ 700 บาท/เดือน รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 20,000 บาท/ปี
จำนวนสมาชิกในครอบครัว 2 คน ประกอบด้วย
นายสุวรรณ ปันทอง อายุ 74 ปี
นางสมศรี ปันทอง อายุ 71 ปี
บทบาทผู้รับบริการในครอบครัว สมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลหลัก นายสุวรรณ ปันทอง (สามี)
โรคประจำตัว+ระยะเวลาที่เจ็บป่วย+การรักษา+สถานพยาบาลที่รักษา+ระยะที่พบแพทย์
มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูงมา 1 ปี รักการรักษาที่โรงพยาบาลดอยสะเก็ด ได้รับยารักษาความดันโลหิตสูง Hydrochlorothaizide 25 mg 1x1 Oral pc.แพทย์มีการนัดติดตามอาการ และรับยาเพิ่ม นัดทุกๆ 3 เดือน
การรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน : ได้รับยา Hydrochlorothaizide 25 mg 1x1 Oral ac เพื่อลดระดับความดันโลหิต
ประวัติการผ่าตัด : 10 ปีก่อน ได้รับการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท
สถานพยาบาลใกล้บ้าน : โรงพยาบาลดอยสะเก็ด
สถานที่ที่รับการรักษา : โรงพยาบาลดอยสะเก็ด
สภาพผู้รับบริการเมื่อเริ่มดูแล
ผู้สูงอายุ เพศหญิง อายุ 71 ปี รู้สึกตัวดี รูปร่างสมส่วน ถามตอบรู้เรื่อง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี ให้ความร่วมมือดี สามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ปกติ แต่งตัวสะอาดดี ไม่มีกลิ่นตัว ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสะอาดเรียบร้อยเหมาะสมตามวัย ผมยาวสีดำแซมขาว ผิวหนังไม่มีรอยโรค ผิวหนังเหี่ยวย่นตามวัย สายตายาว มีการใส่แว่นสายตา การได้ยินปกติ เล็บมือเท้าสั้น มีการเดินพิสัยการเคลื่อนไหวลดลง รับประทานอาหารได้เองวันละ 3 มื้อ นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนได้วันละ 7-9 ชั่วโมง ขัวถ่ายปัสสาวะได้เอง ลักษณะสีเหลืองใส ไม่แสบขัด สามารถกลั้นปัสสาวะได้ อุจจาระ 1 ครั้ง/วัน ลักษณะอุจจาระเป็นสีเหลือง ไม่มีอาการอืดท้อง สามารถกลั้นอุจจาระได้
สัญญาณชีพเมื่อเริ่มดูแล
Temperature (ค่าปกติ 35.5-37.5 องศาเซลเซียส) = 37.2 องศาเซลเซียส
Pulse Rate (ค่าปกติ 60-100 ครั้ง/นาที) = 84 ครั้ง/นาที
Respiratory Rate (ค่าปกติ 16-20 ครั้ง/นาที) = 19 ครั้ง/นาที
Blood Pressure (ค่าปกติ 90/60-140/90 mmHg) = 134/70 mmHg.
แบบประเมินสุขภาพในผู้สูงอายุ
1.กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (Basic activity of daily living) แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ ดัชนีบาร์เทล เอดีแอล (Barthel ADL Index) = 20 คะแนน แปลผล lintel high ทำกิจกรรมได้เองเป็นส่วนใหญ่
2.กิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง (Instrumental activity of daily living) แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติดัชนีจุฬา เอดีแอล ( Chula ADL Index ) = 9 คะแนน
3.การทดสอบสมดุลร่างกายด้วยการนั่ง ลุก ยืน เดิน (Timed Up and Go Test: TUG) = 11.46 วินาที แปลผล ใช้เวลา 11-20 วินาที หมายถึง เสี่ยงต่อการหกล้มปานกลาง
4.การคัดกรองสุขภาพตา = สามารถนับนิ้วได้ในระยะ 3 เมตร อ่านหนังสือได้ในระยะ 1 ฟุต ไม่มีความเสี่ยงของต้อกระจก ต้อหิน ความเสื่อมโรคจอตาเสื่อม
5.แบบคัดกรองข้อเข่าเสื่อม = มีเสียงดัง เวลาขยับข้อ งอ หรือเหยียด แปลว่า พบความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อม
6.แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) = 54 คะแนน แปลผล ยังไม่พบอาการผิดปกติ
7.การประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ (Geriatric Nutritional Assessment tool)The Mini-Nutrition Assessment (MNA) = 14 คะแนน แปลผล ภาวะโภชนาการปกติ
8.แบบประเมินสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ = ภาวะสุขภาพช่องปากปกติ
9.การประเมินผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการหกล้ม (Fall Risk Assessment Tool) = 1 คะแนน แปลผล ไม่มีความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้ม
10.แบบประเมินตนเองของผู้สูงอายุเรื่องการถ่ายปัสสาวะ = 1 คะแนน แปลผล ถ้าน้อยกว่า 1-7 มีอาการน้อยอาจไม่ต้องจำเป็นต้องพบแพทย์
11.แบบประเมินสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แปลผล ผู้สูงอายุไม่มีภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า สุขภาพจิตปกติ
12.แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นเป็นภาษาไทย MMSE - Thai 2002 = 26 คะแนน
แปลผล ไม่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อม
การเปรียบเทียบผู้สูงอายุตามการเปลี่ยนแปลง กับทฤษฎีสูงอายุ และการดูแลพยาบาล
2.ทฤษฎีความสูงอายุทางสังคมวิทยา(Sociological Theories of Aging)
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The activity theory)
ผู้สูงอายุมีงานอดิเรก คือ ชอบประดิษฐ์งานต่างๆ และเมื่อมีงานตามชุมชนหรือหมู่บ้าน เช่น งานศพ งานวัด ก็จะไปช่วยงานตามที่ตนเองจะช่วยได้ และเมื่อมีกิจกรรมสูงอายุ ก็ไปเข้าร่วมกิจกรรมตลอด
• กิจกรรมการพยาบาล
ไม่ควรให้ผู้สูงอายุลดกิจกรรม ควรให้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง การส่งกิจกรรมของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการชราภาพ ส่งเสริมการมีเพื่อนใหม่ เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่งเสริมกิจกรรมตามบุคลิกภาพ
3.ทฤษฎีความสูงอายุทางจิตวิทยา (Psychological Theories of Aging)
ทฤษฎีอริกสัน (Ericson's Epigenetic theory)
ผู้สูงอายุอยู่ใน กลุ่ม Generativity คือ มี ความภาคภูมิใจในตนเองภูมิใจที่สามารถทำกับข้าว ทำความสะอาดบ้าน ทำงานประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ และยังเข้าสังคมและมีส่วนร่วมในสังคมอยู่เสมอ เช่นช่วยเหลืองานในชุมชนต่างๆ งานวัด หรืองานบุญในสังคม เป็นต้น และผู้สูงอายุจะหากิจกรรมทำยามว่าง เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อ
• กิจกรรมการพยาบาล
รับฟังความรู้สึกของ ผู้สูงอายุสะท้อนให้เห็นถึง ประสบการณ์ที่ดีในอดีตที่ผ่านมา แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้าใจ และยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่เผชิญในแต่ละขั้นของชีวิต แนะนำให้ผู้สูงอายุปรับตัวต่อความเจ็บป่วยการสูญเสียการเปลี่ยนแปลง และยอมรับความตายได้ ให้กำลังใจผู้สูงอายุ ชมเชยและให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุ
ทฤษฎีเพค (Peck's theory)
ผู้สูงอายุ มีความภาคภูมีใจในชีวิตของตนเอง ในปัจจุบันตนยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทุกอย่าง สุขภาพร่างกายแข็งแรงผู้สูงอายุยอมรับว่าเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายย่อมมีความเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติและผู้สูงอายุยอมรับว่าตนเองมีอายุเยอะแล้ว การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา แต่ยังไม่ได้คิดวางแผนยกมรดกให้ใคร เพราะผู้สูงอายุยังไม่อยากคิด เพราะจะทำให้เกิดความเครียดได้
• กิจกรรมการพยาบาล
รับฟังผู้สูงอายุและยอมรับในการตัดสินใจของผู้สูงอายุ แนะนำให้ผู้สูงอายุย้อนมองอดีตที่น่าชื่นชมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุทำในสิ่งที่ทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
1.ทฤษฎีความสูงอายุทางชีวภาพ (Biology Theories of Aging)
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory)
ผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือทำงานกลางแจ้งเจอแสงแดดเป็นประจำจึงทำให้มีการเปลี่ยนเปลงต่างๆ ใบหน้ามีริ้วรอย ผิวหนังมีความเหี่ยวย่น และผู้สูงอายุบอกว่าเมื่อก่อนรับประทานอาหารได้เยอะ แต่ตอนสูงอายุทานอาหารได้ลดลงเพราะอิ่มเร็ว ผู้สูงอายุมีผิวหนังบริเวณใบหน้า และแขน มีการตกกระเล็กน้อยเกิดการสะสมของ lipofuscin ทำให้มีการเพิ่มของอนุมูลอิสระหรือการทำรายระบบอนุมูลอิสระก็จะทำให้มีการสะสมของสารชนิดนี้เพิ่มขึ้น เมื่อสะสมก็จะไปเกาะตามอวัยวะต่างๆ
• กิจกรรมการพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ปกป้องร่างกายจากรังสีแสงแดด โดยการสวมเสื้อแขนยาว หมวก ใช้ครีมกันแดด เมื่อออกไปในที่ที่มีแสงแดด รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูนอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross -Linking Theory) หรือ ทฤษฎีคอลลา เจน (Collagen Theory)
ผู้สูงอายุรายนี้ มีผิวหนังเริ่มบาง ฟันผุ และมีตำแหน่งอุดฟันหลายที่ มีโรคประจำตัว คือ โรคความ ดันโลหิตสูง เวลานั่งหรือยืนนานๆ ก็จะเริ่มมีอาการปวดตามข้อและเมื่อขยับหรืองอ ก็จะมีเสียงเกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อจะเกิดการสูญเสียมากขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง หลอดเลือดแข็งเกิดฟันล่วงฟันผุได้ง่าย
• กิจกรรมการพยาบาล
ออกกำลังกายแบบยืดเหยียด(flexibility) ช่วยป้องกันการยึดติดแข็งของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อร่างกาย รับประทานอาหารที่มีวิตามินชีสูง รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ลดอาหารรสเค็ม ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล
ทฤษฎีการเสื่อมสลาย (Wear and Tear Theory)
ผู้สูงอายุ เวลานั่งหรือยืนนานๆก็จะเริ่มมีอาการปวดตามข้อและเมื่อขยับหรืองอ ก็จะมีเสียงเกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อจะเกิดการสูญเสียมากขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง
• กิจกรรมการพยาบาล
ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ออกกำลังกาย เข่น เดิน ขึ้นลงบันไดช้า ๆ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นแคลเซียม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การยืน ควรยืนตรงให้น้ำหนักตัวลงขาทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งราบกับพื้น
ปัญหาที่พบ
1.ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง
2.จากการทดสอบ Time up and go test มีความเสี่ยงต่อการหกล้มปานกลาง
3.ประเมิน BMI = 23.94 แปลว่า ท้วม อ้วนระดับ 1
4.ข้อต่างๆ มีเสียงดังเมื่อขยับหรืองอ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเสื่อม โรคหัวใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงจากการสอบถามผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความรู้ของผู้สูงอายุ และวางแผนการพยาบาล
2.อธิยาบสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง เพื่อประเมินความรู้ของผู้สูงอายุ และวางแผนการพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
3.อธิบายอาการของโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงอาการ และภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ แล้วจะได้ทราบเมื่อเกิดอาการที่รุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
4.อธิบายการรับประทานอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงอาหารที่รับประทานได้และอาหารชนิดได้บ้างที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นการป้องกันและลดความดันโลหิตสูง และไม่รับประทานอาหารที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง
5.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงคำแนะนำในการปฏิบัติตัว จะได้ลดและควบคุมระดับความดันโลหิตได้
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเสื่อม โรคหัวใจ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า ‘‘เป็นความดันโลหิตสูงมาได้ 1 ปีแล้ว’’
O : จากการสอบถามผู้สูงอายุ ไม่ทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้อย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร แล้วมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้ จากการสังเกตผู้สูงอายุได้รับยาลดความดันโลหิตสูง Hydrochlorothaizide 25 mg จากการเปรียบเทียมทฤษฎีผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยแปลงตรงกับทฤษฎีเชื่อมตามขวาง(Cross-linking theory)
เกณฑ์การประเมินผล
3.ผู้สูงอายุสามารถบอกถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด 4 ข้อ จาก 4 ข้อ
4.ผู้สูงอายุสามารถบอกถึงอาหารที่ควรรับประทาน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงของโรคความดันโลหิต ได้ทั้งหมด 4 ข้อ จาก 6 ข้อ
5.ผู้สูงอายุสามารถบอกถึงการปฏิบัติตัวของโรคความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด 8 ข้อ
1.ผู้สูงอายุสามารถบอกถึงสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด 5 ข้อ จาก 8 ข้อ
2.ผู้สูงอายุสามารถบอกถึงอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด 4 ข้อ จาก 7 ข้อ
2.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก BMI เกิน คือ ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ภาวะข้อเข่าเสื่อม
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้ผู้สูงอายุควบคุมน้ำหนักป้องกันไขมันในเลือดสูง เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงการควบคุมน้ำหนัก ป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูงได้
2.แนะนำวิธีและท่าออกกำลังกายป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงท่าออกกำลังกายป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคหัวใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคหัวใจ และลดการเกิดได้ หากดูแลใส่ใจสุขภาพ
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก BMI เกิน
2.ผู้สูงอายุทราบวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ภาวะข้อเข่าเสื่อม
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก BMI เกิน คือ ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ภาวะข้อเข่าเสื่อม
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า ‘เวลายืนหรือเดินนานๆ จะมีอาการปวดหลัง ปวดตามข้อต่างๆ’’
O : จากการสอบถามผู้สูงอายุ มีอาการปวดตามข้อต่างๆ ปวดหลัง เวลายืนนานๆ หรือเดินนานๆ แล้วเวลานั่งนานแล้วลุกขึ้นจะมีเสียงของกระดูกดังขึ้น จากการสังเกต เวลาผู้สูงอายุยืนขึ้นจะมีเสียงกระดูกดังขึ้น ผู้สูงอายุจะเดินกะเผลก มีการหาอาหารเสริมที่เสริมแคลเซียม และนมเพื่อบำรุงกระดูก มีการซื้อยาเสริมแคเซียมมารับประทาน และซื้อนมที่มีส่วนที่เสริมสร้างแคลเซียมให้กระดูกมาดื่ม จากการประเมินสุขภาพ จากแบบคัดกรองข้อเข่าเสื่อม = มีเสียงดัง เวลาขยับข้อ งอหรือเหยียด แปลว่า พบความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อม แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม = 54 คะแนน แปลผล ยังไม่พบอาการผิดปกติ การทดสอบสมดุลร่างกายด้วยการนั่ง ลุก ยืน เดิน (Timed Up and Go Test: TUG) = 11.46 วินาที แปลผล ใช้เวลา 11-20 วินาที หมายถึง เสี่ยงต่อการหกล้มปานกลาง จากการประเมิน BMI น้ำหนัก 51 กิโลกรัมส่วนสูง 146 เซนติเมตร BMI=23.94 หมายถึง ท้วม อ้วนระดับ 1
3.ส่งเสริมสุขภาพจิตและการมีคุณค่าในตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดความเครียด และเพื่อคงอยู่ของสุขภาพจิตและสุขภาพที่ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความเครียดของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต(SPST-20) เพื่อประเมินความเครียดของผู้สูงอายุ และวางแผนช่วยเหลือทางการพยาบาลอย่างเหมาะสม
2.ส่งเสริมความสามารถของบุคคล เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้สูงอายุ ให้สามารถจัดการกับปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดความไม่ผาสุกด้านจิตใจ
3.ส่งเสริมสุขภาวะด้านร่างกายด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจและมีสุขภาพร่างกายที่ดี
4.การส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ของตนเองให้กับบุคคลกลุ่มวัยอื่น
5.การส่งเสริมสัมพันธภาพทั้งกับครอบครัว เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพทั้งกับครอบครัว เพื่อนหรือเพื่อนบ้านส่งผลให้มีความผาสุกด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและการมีคุณค่าในตนเอง และไม่เกิดความเครียดที่สามารถเกิดขึ้นได้
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า ‘‘พออายุเรื่อยมากขึ้น ทำอะไรก็ลำบาก ทำงานบ้านได้ไม่เต็มที่ แต่ก็หางานอดิเรกทำ เพื่อไม่ให้เบื่อ ชอบไปช่วยงานบุญ งานศพ งานในหมู่บ้าน ช่วยเหลือเท่าที่ตนเองจะทำได้ ชอบรำวงย้อนยุค ชอบความสนุก ชอบพูดคุยกับเพื่อนบ้าน’’
O : ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีเพค (Peck’s theory)
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ใบหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
2.ผู้สูงอายุไม่เกิดความเครียดต่อการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้