ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2 เสี่ยงต่อภาวะการขาดสารน้ำและเกลือแร่เนื่องจากการย่อย และการดูดซึมผิดปกติ
ข้อมูลสนับสนุน : ผลตรวจ electrolyte K 2.83 mmol/L (ต่ำกว่าเกณฑ์), CL 91 mmol/L (ต่ำกว่าเกณฑ์), CO2 36.2 mmol/L (สูงกว่าเกณฑ์)
วัตถุประสงค์ : ผู้ป่วยมีสารน้ำและเกลือแร่สมดุล
เกณฑ์การประเมินผล :
-ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
-ปริมาณน้ำเข้า/น้ำออก คือ 1,500 มล./ 1,350 มล.
-สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-ผลตรวจอิเล็คโตร ไลท์ K 3.5-5 mmoVL, CL 96-113 mmol/L, CO, 22-26 mmol/L
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินภาวะขาดน้ำและสารอาหาร เช่น ลิ้นแห้ง ปากแตก เยื่อบุปากแห้ง โดยใช้ไม้พัน สำลีชุบน้ำเช็ดบริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น กระพุ้งแก้มและริมฝีปากเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น
- ใส่สายยางจากจมูกสู่กระเพาะอาหารตามแผนการรักษา ตรึงสายยางให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการกดและระคายเคืองจมูก
- ดูและทำความสะอาดช่องปากบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังอาเจียน
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและโพแทสเซียมตามแผนการรักษา และจด บันทึกจำนวนน้ำเข้าออก รวมทั้งสี ลักษณะและจำนวนของน้ำที่ดูดออกมาจากกระเพาะอาหาร เพื่อ ประเมินความสมดุลของสารน้ำ
-
- ติดตามประเมินปริมารณ์น้ำเข้า-ออก ทุก 4-8 ซม. และรายงานแพทย์ถ้าปัสสาวะออกน้อย กว่า 0.5 มล./กก./ชม.
- ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะขาดสารน้ำและอิเลคโตรลัยท รวมทั้งติดตามผลการตรวจ blood urea nitrogen และ creatinine เพื่อดูการทํางานของไต ระบบ ไหลเวียนเลือด
- ดูแลให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแผนการรักษา
- อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรคและความจำเป็นในการงดน้ำ และอาหารทางปากและให้สิทธิในการตัดสินใจ ให้เวลาในการอธิบายและตอบข้อสงสัยโดยไม่แสดง อาการเร่งรีบหรือเบื่อหน่าย