Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) - Coggle Diagram
แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)
การประเมินภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย
การชั่งน้ำหนัก พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากเบื่ออาหารและมีการอาเจียนร่วมด้วย
ตรวจวัดอุณหภูมิกาย จะพบว่ามีไข้ เนื่องจากเกิดการอักเสบหรือเกิดการติดเชื้อบริเวณกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร
ตรวจวัดความดันโลหิต เพราะในผู้ป่วยบางรายอาจพบความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากมีเลือดออกปริมาณมากในระบบทางเดินอาหาร
การซักประวัติ
การเบื่ออาหาร เนื่องจากมีการติดเชื้อและเกิดแผลที่กระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร
อาการปวดท้อง เนื่องจากมีการหลั่งกรดเกลือ (Hydrochloric acid) ทำให้เกิดการทำลายเยื่อบุและเกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
การอาเจียน เนื่องจากการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร จนทำให้เกิดแรงดัน รวมไปถึงการมีการคั่งค้างของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารร่วมด้วย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือด Complete Blood count (CBC) จะพบว่า Hematocrit (HCT) ,Hemoglobin (Hb) ,Red Blood cell (RBC) ลดลง
การทดสอบหาเชื้อ H.pylori โดยการตรวจหา serum antibodies หรือ urea breath tests
การตรวจอุจจาระ เพื่อหาเลือดออกแฝง (occult blood) ได้ผลบวก แสดงถึงการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหาร
ผลการตรวจพิเศษ
การส่องกล้องเพื่อตรวจบริเวณกระเพาะอาหาร (Esophagogastroduodenoscopy) พร้อมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ biopsy เพื่อการวินิฉัยหาความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
การนำน้ำย่อยหรือของเหลวที่อยู่บริเวณรอบๆแผลในกระเพาะอาหารส่งตรวจเพื่อหาเชื้อ H.pylori
การพยาบาล
ดูแลให้ยาลดกรดหรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ตามแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำให้ญาตินำอาหารที่ผู้ป่วยชอบ ซึ่งไม่ขัดกับการรักษามาให้เสริมระหว่างมื้อ
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอาการแน่นท้อง
ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละครั้ง เพื่อประเมินภาวะขาดสารอาหาร
อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการรับประทานอาหาร เช่น ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารรสจัด และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่
แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติที่มาพบแพทย์ เช่น ปวดท้องมากขึ้น
สังเกตอาการปวด เสียบริเวณท้อง แน่นท้อง ท้องอืด และอาการคลื่นไส้
การรักษา
การยับยั้งกรดเกลือ (hydrochloric) เป็นสารประกอบเคมีไฮโดรเจน คลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกรดในกระเพาะ (gastric acid) เพื่อช่วยเปลี่ยนเอนไซม์เปปซินโนเจน (pepsinogen) ให้เป็นเพปซิน (pepsin) เพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทโปรตีน และยังช่วยป้องกันแบคทีเรียเช่น E.coli อีกด้วย
ยาที่มีฤทธิ์เพิ่มความต้านทานของเยื่อบุ(Cytoprotective drug)ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหาร จากการระคายเคืองโดยเคลือบหรือจับกับเนื้อเยื่อที่ตายแล้วของแผลจะป้องกันการซึมผ่านของกรดและยับยั้ง pepsin จากกรดน้ำดีหรือออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของสารเยื่อเมือก
กลุ่มยา sucralfate (carafate)เป็นยาออกฤทธิ์ป้องกันการแพร่ของกรดเข้าไปในชั้นเยื่อเมือกและกระตุ้นการสร้างเมือก (mucosa) ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
การผ่าตัดเส้นประสาทเวกัส (vagotomy) เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดเกลือ (hydrochlonic) จากเซลล์ในผนังกระเพาะอาหาร
การบําบัดที่ใช้กันมากที่สุดสําหรับแผลในกระเพาะอาหารคือการรวมกันของยาปฏิชีวนะ สารยับยั้งโปรตอนปั๊มและเกลือบิสมัทที่ยับยั้งหรือกําจัด H. pylori การบําบัดที่แนะนําใช้เวลา 10 ถึง 14 วัน รวมถึงการบําบัดสามครั้งด้วยยาปฏิชีวนะสองชนิด เช่น metronidazole หรือ amoxicillin และ clarithromycin บวกกับ PPI เช่น lansoprazole omeprazole
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการกำซาบเนื้อเยื่อทั่วร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปริมาณเลือดพร่องจากการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยมีความไม่สุขสบาย เนื่องจากมีแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำหรือรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมหรือขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซีดจากการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะ hypovolumic shock เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
อาการและอาการแสดง
อาการปวดสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร
(การรับประทานอาหารจะทำให้อาการปวดและการอาเจียนทุเลา)
จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
แสบที่บริเวณยอดอก ร้อนในท้อง
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะและทางเดินอาหาร
อาเจียนเป็นเลือดสด(hematemasis)
อาเจียนเป็นเลือดสีกาแฟ(coffee ground)
ถ่ายอุจจาระสีดำ (melenic stools,melena) เนื่องจากเลือดออกในกระเพาะอาหาร
อ่อนเพลียและกระสับกระส่าย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตามทำให้สามารถทำลายและเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้
การติดเชื้อ H.pylori การไหลย้อนกลับของน้ำดีเข้าไปในกระเพาะอาหาร ปริมาณกรดเกลือที่เพิ่มขึ้นจากการกระตุ้นประสาทเวกัส การหลั่งกรดเกลือออกมามากจาก parietal cell และภาวะเครียด จะกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติค ทำให้หลอดเลือดหดตัว และการกระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกทำให้การหลั่งเมือกลดลง และเพิ่มการหลั่งกรดทำให้เกิดแผลได้ง่าย
ความหมาย
แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย (เรียก Gastric Ulcer, GU) และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (เรียก Duodenal Ulcer, DU) โดยแผล DU พบได้บ่อยในทุกอายุตั้งแต่ 20-70 ปี ส่วนแผล GU จะพบมากในผู้สูงอายุคืออายุ 40-70 ปี
พยาธิสรีรวิทยา
ร่างกายมีความสมดุลในการหลั่งกรดและผลิตเซลล์เยื่อเมือก ซึ่งแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากมีการหลั่งกรดมากกว่ามีการป้องกันจากการผลิตเยื่อเมือก ซึ่งมีความผิดปกติเกี่ยวกับการหลั่งเมือก ทำให้มีกรดและเอนไซม์เปปซิน (pepsin) ซึมผ่านชั้นเยื่อเมือกเข้าไปทำลายเซลล์เยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร ทำให้ชั้นเยื่อเมือกมีความหนาลดลงจึงเกิดการป้องกันจากกรดลดลงและทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารขึ้น