Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บรรพ 5 ครอบครัว - Coggle Diagram
บรรพ 5 ครอบครัว
การสมรส
ผลของการสมรส
- การสมรสมีผลสมบูรณ์ ต่อเมื่อชายและหญิงจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนเรียบร้อยแล้วมาตรา 1457 มาตรา 1458 มาตรา 1459 และมาตรา 1460
- ผู้เยาว์ทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาตรา 1454 มาตรา 1455 และมาตรา 1456
- การสมรสเป็นโมฆะเมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย มาตรา 1494 ถึง มาตรา 1500
- การสมรสเป็นโมฆียะเมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย มาตรา 1505 ถึง มาตรา 1513
- การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนมาตรา 1501 มาตรา 1502 และมาตรา 1503
-
การสมรส คือ การที่ชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงความยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยและจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน (มาตรา 1457 และมาตรา 1458)
การสมรสในต่างประเทศ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทยให้จดทะเบียนตามกฎหมายแห่งประเทศนั้นๆ หรือกฎหมายไทยก็ได้ (มาตรา 1459)
การสมรสกรณีพิเศษที่ไม่อาจจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย สามารถแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะให้จดแจ้งการแสดงเจตนาไว้ แล้วนำหลักฐานการจดแจ้งนั้น ไปยื่นต่อนายทะเบียนภายหลังได้ (มาตรา 1460)
ค่าอุปการะเลี้ยง
- ค่าอุปการะเลี้ยงดู มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยเรื่อง ครอบครัว ลักษณะ 3
- ค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่มีนิยามศัพท์เฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงอาจพอสรุปได้ว่า “ค่า อุปการะเลี้ยงดู” หรือเรียกทั่วไปว่า “ค่าเลี้ยงดู” คือ เงินที่จ่ายเป็นครั้งคราวเพื่ออุปการะกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยว พันกันในทางครอบครัวและตามกฎหมาย ได้แก่ สามีภริยา บิดามารดา และบุตร มีอยู่ 2 ประเภท คือ ค่าอุปการะ เลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา และค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดากับบุตร
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาหรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควร ได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่พียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะ เลี้ยงดูนี้ ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38
- เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับได้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ตามมาตรา 1598/39 วรรค หนึ่ง
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่า อุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และ พฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ ศาลเปลี่ยนแหลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้ ตามมาตรา 1598/39 วรรคสอง
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระหนี้เป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ ชำระเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็น สมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีการอื่น โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 1598/40 วรรคหนึ่ง
ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อมีเหตุพิเศษและศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แก่บุตร จะ กำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใดๆ นอกจากที่คู่กรณีตกลงกันหรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งร้องขอก็๋ได้ เช่นให้ไปอยู่ในสถานการศึกษาหรือวิชาชีพ โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ ตามมาตรา 1598/40 วรรคสอง
- สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นจะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 1598/41 ดังนั้นถือว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จึงถือว่าเป็นทรัียพ์นอกพาณิชย์ ห้ามโอนสิทธิกันเด็ดขาด ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
-