Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 วิวัฒนาการและประเด็นแนวโน้มของการพยาบาลมารดาทารก…
หน่วยที่ 1 วิวัฒนาการและประเด็นแนวโน้มของการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารก
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
สตรีตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า18ปี การเจริญเติบโตของร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มท่ี อาจทำให้การคลอดเป็นไปอย่างลำบาก และขาดความพร้อมในการเตรียมบทบาทในการเป็นมารดา
มารดาท่ีอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่นโลหิตจาง ขณะตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนด หรืออาจเกิดความพิการแต่กำเนิดได้
น้ำหนัก
หญิงต้ังครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย และเกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไป (มากกว่า 80 กิโลกรัม) มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก หรือการคลอดติดขัดจากการท่ีทารกมีน้ำหนักมากกว่าปกติได
ส่วนสูง
หญิงตั้งครรภ์ที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 145 เซนติเมตร มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดติดขัดเนื่องจากขนาดของทารกไม่สัมพันธ์กับอุ้งเชิงกรานมารดา
ปัจจัยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของหญิงต้ังครรภ์
มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
โรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ฐานะทางเศรษฐกิจ หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี อาจเสี่ยงต่อภาวะขาดอาหาร ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้าและน้าหนักแรกคลอดน้อย
การศึกษา ระดับความรู้ความเข้าใจในการรับทราบหรือเข้าใจในข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองและสุขภาพทารกในครรภ
อาชีพ อาชีพที่เสี่ยงต่อการสัมผสั สารพิษ
หรือเชื้อโรคขณะตั้งครรภ์ ก็อาจส่งผลถึงทารกในครรภ์ได้
สถานภาพสมรส สตรีต้ังครรภ์ที่หย่าร้าง อาจทาให้ขาดแหล่งสนับสนุนทางสังคม หรือขาดการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน หรือด้านจิตใจ อาจส่งผลต่ภาวะสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
ปัจจัยด้านทารก
มีความผิดปกติ หรือเกิดความพิการแต่กำเนิด
ปัจจัยด้านพฤติกรรมของหญิงต้ังครรภ์
การเลือกรับประทานอาหาร
การสูบบุหรี่
การดื่มสุรา
การพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อเอื้อให้ครอบครัวที่พร้อมมีบุตร
มาตรการ
การสนับสนุนคู่สมรสมีที่อยู่อาศัย
มาตรการภาษี
การให้สินเชื่อ
การดูแลสุขภาพ ระยะคลอด-หลังคลอด
ก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์
ให้คำปรึกษา
การวางแผนครอบครัว
ตรวจหาปัจจัยเสี่ยง
ให้ยาเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก
ระยะตั้งครรภ์
การฝากครรภ์
การตรวจคัดกรอง ติดเชื้อ โรคทางพันธุกรรม ภาวะแทรกซ้อน
ให้ยาเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก
ระยะคลอด
การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด
การดูแลทารกแรกเกิด
ระยะหลังคลอด
การดูแลมารดาและทารกแรกเกิด
-บริการคุมกำเนิด
การให้วัคซีน
การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร
เพิ่มการหักลดหย่อนภาษี
ให้เงินสงเคราะห์บุตร
สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สิทธิในการได้รับการรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายของบุตร
การส่งเสริมการทำงานของครอบครัว
ให้มารดาลาหยุดฝากครรภ์ได้ ไม่ถูกหักเงินเดือน
เพิ่มสิทธิลาคลอด
อนุญาตให้บิดามารดาลาหยุดงานดูแลบุตร
จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก
ส่งเสริมหน่วยงานรัฐและเอกชนมีมุมนมแม่ สถานที่ดูแลบุตร
ส่งเสริมอาชีพในชุมชน (ทำงานที่บ้านได้)
การให้ความดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีความพร้อม
สนับสนุนสถานบริการให้คำปรึกษาทางเลือกตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
สนับสนุนการให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีความพร้อม
ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
ความช่วยเหลือด้านการศึกษาต่อในหญิงตั้งครรภ์
ความช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพ
จัดหาครอบครัวอุปถัมภ์
การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กตามมาตรฐาน
วิวัฒนาการพยาบาลครอบครัว
สงครามอเมริกา
Camp following สมัยสงครามอเมริกา จัดตั้ง Ladies’ Aid Societies เป็นสมาคมสตรี ที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่บาดเจ็บจากสงคราม
ค.ศ 1820-1910 florence nightingale
พยาบาลโรงพยาบาล (Hospitalnurse)มีหนา้ที่ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและพยาบาลสาธารณสุข(Destrictnurse)ต่อมาเรียกว่าHealth missionersมีหนา้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกบัการป้องกนัและส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวและชุมชน
แต่งตำรา Training Nurse for the Sick Poor
แนวคิดไนติงเกล
เน้นการดูแลผู้คนยากจนและพัฒนาไปเป็นการให้การพยาบาลชุมชนและสาขาอื่น ๆ ตามความต้องการ การพยาบาลสูติศาสตร์ การพยาบาลอายุรศาสตร์- ศัลยศาสตร์ การพยาบาลแม่และเด็ก การพยาบาลจิตเวช
นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับ 2 ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กที่พบในปัจจุบัน
อัตราส่วนการตายมารดาในปี2558อยู่ที่20.1ต่อการเกิดมีชีพแสนคนจากการตกเลือด
หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 ปีข้นึไป มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 29.8 จากการขาดธาตุเหล็ก
ทารกตายจากการพิการแต่กำเนิด 7%
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการไม่สมวัยร้อยละ 27.3
ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 10.4
“รัฐบาลสนับสนุนและส่งเสริมการเกิดเพิ่มขึ้นด้วยความสมัครใจ" มีหลักดังนี้
คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน
สอดคล้องกับแผนประชากรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ความสอดคล้องกับสนธิสัญญา นโยบาย และคำรับรองในระดับนานาชาติ
เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 ข้อ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและสร้างการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสารสังคม
เพื่อให้การเกิดทุกรายมีการวางแผนมีการเตรียมความพร้อม
การให้คำปรึกษาก่อนสมรส
ผลเลือด
กรุ๊ปเลือด
กรุ๊ปเลือด D หรือ กรุ๊ปเลือดอาร์เอช(Rh)บวก แต่ถ้าไม่มีกรุ๊ป D เรียกว่ากรุ๊ปเลือดอาร์เอช(Rh)ลบ ถ้ามารดามีเลือดเป็นRhลบ แล้วลูกเป็นRhบวกจะส่งผลให้ครรภ์เป็นพิษได้ แต่ครรภ์แรกจะยังไม่เป็นอะไร จะเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ที่สอง จะส่งผลให้แม่สามารถภูมิคุ้มกันมาทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกเกิดเลือดจางจนหัวใจวายได้ ควรจะต้องฉีดยาป้องกันไม่ให้สร้างภูมิคุ้มกัน ในช่วง 7 เดือน และระยะคลอด
โรคธาลัสซีเมีย
กรณีคู่รักเป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้ง 2 คน จะต้องพิจารณาว่าบุตรมีโอกาสเป็นโรคชนิดรุนแรงหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องตรวจทารกในครรภ์ระยะแรกๆ โดยการดูดเนื้อรกหรือดูดเลือดทารกมาตรวจ ถ้าทารกเป็นโรคเลือดชนิดรุนแรง จึงพิจารณาทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์
เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
จากการสำรวจคู่รักพบว่า บางรายเป็นพาหะคือ มีเชื้อโดยไม่มีอาการ ถ้าอีกฝ่ายไม่มีภูมิต้านทาน ก็ต้องฉีดวัคซีนป้องกันก่อนทั้งหมด 3 เข็ม (0,1,6 เดือน)
กรณีที่คู่รักไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็สามารถฉีดวัคซีนได้
ปัจจุบันทารกแรกเกิดจะได้รับวัคซีนนี้ทุกคนแล้ว ทั้งนี้เพื่อต้องการกำจัดโรคนี้ให้หมด
โรคซิฟิลิส (VDRL ผลบวก)
ปัจจุบันพบน้อย แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดที่สมองและหลอดเลือดใหญ่จนทำให้เสียชีวิตได้
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง พบ anti-HIV
คู่รักที่มีผลเลือดบวกนี้ จะต้องรับคำแนะนำอย่างดีและอาจมีผลต่อการสมรส ดังนั้นถ้าจะให้ดีควรมาปรึกษาเรื่องนี้ก่อนสมรสและตรวจให้รู้ผลเลือดก่อนจะแจกบัตรเชิญจะดีที่สุด
ถ้าไม่มีภูมิต้านทานโรคหัดเยอรมัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพียง 1 เข็ม
ถ้าติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ทารกมีโอกาสเสี่ยงพิการทางสมองและหัวใจ มักแนะนำยุติการตั้งครรภ์
การฉีดวัคซีนเอชพีวี HPV
เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งคือ 16 และ 18 ร้อยละ 70
วัคซีนมีสองชนิดคือ Cervarix และ Gardasil ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 3 ครั้ง โดยเข็ม 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็ม 3 ฉีด 6 เดือนหลังจากฉีดเข็ม 1 ภายหลังฉีดไม่ควรตั้งครรภ์ 8 เดือน (2 เดือนหลังฉัดเข็ม 3)
ขณะไม่รู้ว่าจะต้องฉีดกระตุ้นซ้ำอีกหรือไม่ จากข้อมูลปัจจุบันระดับภูมิต้านทานจะอยู่ได้อย่างน้อย 6.4 ปี
การคุมกำเนิด
ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี ถ้าอยากมีลูกก็ไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิด หรือคุมในระยะสั้นๆ ถ้าฝ่ายหญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี แนะนำคุมกำเนิดอย่างน้อง 1 ปี
วิธีคุมกำเนิดที่แนะนำคือ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมและฮอร์โมนต่ำ เนื่องจากง่ายและสะดวก โดยเม็ดแรกเริ่มที่ประจำเดือนมาก่อนวันสมรส ถ้ามีประจำเดือนในช่วงที่สมรส ก็สามารถเลื่อนประจำเดือนได้โดยการปรับการให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดต่อไปโดยไม่ต้องหยุดยาให้มีประจำเดือน
เพศศึกษา
ในกรณีที่คู่รักไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแนะนำให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราหรือในwebsite
ฝ่ายชายควรต้องรู้ว่าฝ่ายหญิงพร้อมก่อนมีเพศสัมพันธ์ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 20-30 นาที
ระวังว่ามีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ถ้ามีให้รีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้รับประทานวิตามิน folic acid วันละ 5 มิลลิกรัม 1 เม็ด ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือน และตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสเกิดความพิการทางสมองในทารก
ภาวะการณ์เจริญพันธ์ุ
หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติ เช่น ขาดประจำเดือนบ่อย หรือ 2-3 เดือน มีมาสักครั้ง หญิงกลุ่มนี้มักมีปัญหามีบุตรยาก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเนิ่นๆ ถ้าต้องการมีบุตรเร็ว
การใช้ชีวิตคู่
แนะนำว่าการมีชีวิตคู่จะมีปัญหาการตัดสินใจเสมอ ขอให้คู่รักใช้เหตุผลในการตกลงกัน อย่าใช้อารมณ์ ควรคุมกำเนิดก่อนในช่วงแรกอย่างน้อย 1 ปี เผื่อมีปัญหาจริงๆ และมีการหย่าร้าง จะได้ไม่มีปัญหาตามมา
ตรวจสุขภาพร่างกาย
ซักประวัติแยกทีละคน
ซักประวัติประจำเดือน
ซักประวัติเรื่องการตั้งครรภ์ ทำแท้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตรวจร่างกายทั่วไป อาทิ จับชีพจร วัดความดัน โดยไม่จำเป็นต้องตรวจภายใน ยกเว้น คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์เกิน 3 ปี และยินยอมให้ตรวจ
นโยบายและเป้าหมายการดูแลสุขภาพมารดาทารก
เป้าหมายสำคัญของการดูแลสุขภาพมารดาและทารกคือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของมารดาเพื่อคงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพมารดาและทารก รวมทั้งสมดุลของครอบครัว หรือการส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรของบิดาและมารดา โดยสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวได้มีส่วนร่วม
นโยบายการพัฒนาสาธารณสุข "เน้นการพัฒนาคนในสังคมให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างบูรณาการ รวมทั้งพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง"
เป้าหมายการพัฒนาสาธารณสุขปี 2563
อัตราทารกแรกเกิดตาย ไม่เกิน 3.4 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตรามารดาตาย ไม่เกิน 17 คนต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน
อัตราทารกตายปริกำเนิด ไม่เกิน 9 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
อัตราป่วยด้วยโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด ไม่เกิน 1 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราส่วนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 18
อัตราการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 1
ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ประเด็นแนวโน้มการพยาบาลมารดาทารก
การปรับเปลี่ยนระบบการพยาบาล
อดีต หลายปีที่ผ่านมามีการปฏิรูประบบสุขภาพ มีระบบการประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยรัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่ง แต่งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่หน่วยบริการตติยภูมิเพื่อใช้ในการซื้อเครื่องมือที่ทันสมัย ราคาแพง และมีผู้ใช้บริการที่หน่วยนี้มากเกินจำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ จึงมีการปรับระบบเป็นการดูแลใกล้บ้าน ใกล้ใจ การใช้ระบบส่งต่อ และ home care การใช้ Case management และ continuing care รวมถึงการพัฒนา Clinical practice guideline และมีระบบประกันสุขภาพ
ปัจจุบัน ระบบบริการพยาบาลต้องมีการปรับบทบาทการให้บริการพยาบาล เพื่อให้สอดคลอ้งกับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ และพยาบาลต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถในการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยต้องคำนึงถึงนโยบายในการดูแลสุขภาพ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารก เพื่อให้การดูแลได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
พยาบาลมารดาและทารกติดตามและรู้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจะช่วยให้พยาบาลได้มีการปรับกลยทุธ์การดูแลอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่สําคัญในงานแม่และเด็ก
ประเด็นทางสังคม (Social issues) เช่น poverty homelessness, access to health care
ประเด็นทางกฎหมาย (Legal issues) เช่น nurse practice act
ประเด็นทางจริยธรรม (Ethical issues) เช่น elective abortion, infertility treatment
ประเด็นการใช้กฎหมายและจริยธรรม เช่น use unlicensed assistive personnel, concern about early discharge
ความหมายและวิวัฒนาการของการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการของการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์
ช่วงต้นปี คศ. 1950 มีการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็ นศูนย์กลาง (Family-centered care) เนื่องจากผู้คลอดและ ครอบครัวได้ตระหนักถึงสิทธิและการมีส่วนร่วมในการรับรักษาพยาบาลมากยิ่งข้ึน รวมทั้งสิทธิที่จะรับรู้ถึงภาวะสุขภาพ และแนวทางการรักษา
จุดเปลี่ยนของการดูแลสุขภาพมารดาและทารก เริ่มที่การเปลี่ยนจากการคลอดท่ีบ้านเป็นคลอดท่ีโรงพยาบาลและเริ่มมีการปรับระบบบริการสุขภาพ (Health care reform) เพื่อให้สอดรับกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการต้องใช้เทคโนโลยีท่ีก้าวหน้าข้ึน และคงคุณภาพการดูแลที่ได้มาตรฐาน
ภายหลังจุดเปลี่ยนของการดูแลสุขภาพมารดาและทารก ความต้องการการดูแลสำหรับมารดา ทารก และบิดามีมากข้ึน จึงเป็นจุดเริ่มของการเกิดพยาบาลมารดาทารก (Maternal and child health nursing) ในสหรัฐอเมริกา ราวต้นศตวรรษที่ 20
ความหมายของการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์
พยาบาลผดุงครรภ์ (Nurse-midwife) คือพยาบาลท่ีสามารถปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงที่เฉพาะในการช่วยเหลือ สตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสูติ-นรีเวชกรรมเพื่อการมีสุขภาพดีของสตรี ในต่างประเทศเป็นผู้สาเร็จการศึกษาพยาบาลระดับปริญญาโท
พยาบาลมารดา ทารก หรือการพยาบาลแม่และเด็ก จึงหมายถึง การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ การช่วยคลอด สตรีหลังคลอด และการดูแลทารกแรกเกิด และสตรีวัยเจริญพันธุ์ในเรื่องการวางแผนครอบครัว การให้บริการในกรณีที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการมีบุตร
ผดุงครรภ์ (Midwive) คือ ผู้ที่ได้ร้บการฝึกฝนประสบการณ์ในการทำคลอดเพื่อช่วยเหลือผู้คลอด
การบริการสำหรับการพยาบาลมารดาทารก ที่ถูกกำหนดโดยสภาการพยาบาล ประเทศไทย
การประเมินภาวะสุขภาพและการตรวจร่างกาย
การรักษาเบื้องต้นและการแก้ปัญหาสุขภาพ
การให้ยาและป้องกันปัญหาส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพและให้คำปรึกษาภาวะเจริญพันธุ์
การจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
วิวัฒนาการพยาบาลครอบครัวในไทย
จุดเริ่มต้นของการดูแลที่ผสมผสานการดูแลเฉพาะทางกับการดูแลที่เน้น ครอบครัวเป็นศูนย์กลางโดยกลยุทธที่สำคัญคือการส่งเสริมการดูแลตนเองของมารดาส่งเสริมศักยภาพของครอบครัวใน การดูแลมารดาและทารกเพื่อคงไว้ซึ่งสภาวะที่สมดุลของครอบครัว
พ.ศ. 2530 จึงเริ่มมีการเรียนการสอนในหลกั สูตร พยาบาลศาสตรมหาบณั ฑิตสาชาพยาบาลครอบครัวข้ึนเป็นคร้ังแรก โดยมุ่งเน้นให้ผูเ้รียนสามารถดูแลครอบครัวในภาวะ ปกติและครอบครัวที่อยใู่นภาวะวิกฤติได้ความรู้ความเขา้ใจเกี่ยวกบัศาสตร์การดูแลครอบครัวในประเทศไทยมีแนวโน้ม ที่จะเปลี่ยนแปลงและไดร้ ับความสนใจเพิ่มข้ึน รวมท้งั การทาความเขา้ ใจเกี่ยวกบั ครอบครัวไทยให้ลึกซ้ึงมากข้ึน เพื่อให้ การดูแลครอบครัวมีประสิทธิภาพมากข้ึนในอนาคต
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
สิทธิการลาคลอด
ลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน ได้รับค่าจ้าง 45 วัน (จกานายจ้าง) และได้รับอีก 45 วัน (จากประกันสังคม) รวม 90 วัน อีก 8 วันที่เหลือนายจ้างจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้
สิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตร
จากประกันสังคม ได้รับเป็นเงิน 15,000 บาท แบบเหมาจ่าย
ต้องจ่ายเงินให้ประกันครบ 5 เดือนจาก 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
เบิกจ่ายได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
เบิกจ่ายได้สำหรับคนใดคนหนึ่ง
สิทธิค่าฝากครรภ์
จากประกันสังคม ได้รับเป็นเงิน 1,500 บาท
สิทธิค่าสงเคราะห์บุตร
จากประกันสังคมอีกเดือนละ 800 บาท/เดือน
แม่ต้องอยู่ในมาตรา 33/39 จ่ายเงินมาแล้ว มากกว่า 12 เดือน จาก 36 เดือน
ต้องเป็นบุตรโดยแท้จริง
ลูกอายุถึง 6 ปีพร้อมกันไม่เกิน 3 คน
ถ้าแม่ตายลูกก็ยังได้รับสิทธิจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์
กรอบแนวคิดสาหรับการพยาบาลมารดาและทารก
กระบวนการพยาบาล : เป็นวิธีการเน้นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน ใช้ความเป็นเหตุผล และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญคือ สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์
ทฤษฎีทางการพยาบาล : เป็นกรอบแนวคิดในการปฏิบัติงาน อันจะเป็นประโยชน์ในการทำให้พยาบาลได้เข้าใจถึงความต้องการของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกสนดูแลที่มีคุณภาพด้วยในที่สุด
การวิจัยทางการพยาบาล : เป็นกระบวนการทดลอง และแสวงหาวิธีการให้การพยาบาลที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมคุณภาพการพยาบาล ซึ่งในปัจจุบันเน้นการนำผลการวิจัยเป็นแนวทางในการให้การพยาบาล
แนวทางการดำเนินงานเพื่อการดูแลสุขภาพมารดาและทารก
ระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์
ระบบบริการสุขภาพเชิงรุกที่จดั ให้มีสถานพยาบาลประจำครอบครัว
เป็นระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวม เน้นผูป่วยเป็นศูนย์กลาง
เป็นระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีความต่อเนื่อง
เป็นระบบบริการที่มีค่าใช้จ่ายเหมาะสม
เป็นระบบบริการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีศกัยภาพในการดูแลตนเองและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเอง
เป็นระบบริการแบบบูรณาการ
เป็นระบบบริการที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในเชิงรุก
เป็นระบบบริการที่มีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
ให้เป็นระบบบริการที่มีเครือข่ายของสถานบริการสุขภาพ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับการพยาบาลมารดาและทารก
ความเสมอภาคและเป็นธรรม (Equity)ในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นภายใต้กรอบมาตรฐานเดียวกัน
ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า กระตุ้นให้มีการเลือกใช้บริการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การก่อให้เกิดทางเลือกในการรับบริการ (Choice)ที่เหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสให้มีบริการที่หลากหลาย
ครอบคลุมบริการในด้านอื่นที่นอกเหนือจากการรักษาพยาบาล คือด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารก
อายุ สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงได้แก่สตรีตั้ง ครรภท์ ที่อายุน้อยกว่า18ปี หรือมากกว่า35ปี
น้ำหนัก หญิงต้ังครรภ์ท่ีมีน้ำหนักน้อย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย และเกิดภาวะ เจริญเติบโตช้าในครรภ์ ส่วนหญิงตั้ง ครรภ์ที่มีน้าหนักมากเกินไป (มากกว่า 80 กิโลกรัม) มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก หรือการคลอดติดขัดจากการที่ทารกมีน้าหนัก มากกว่าปกติได้
ส่วนสูง หญิงตั้งครรภ์ที่มีส่วนสูงต่ากว่า 145 เซนติเมตร มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดติดขัดเนื่องจากขนาดของทารกไม่สัมพันธ์กับเชิงกรานมารดา
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฐานะเศรษฐกิจ การศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว การเลือกรับประทานอาหาร
สถิติชีพ
อัตราเกิด (Birth rate) คือ จำนวนทารกเกิดมีชีพในปี หน่ึงต่อ จำนวนประชากร 1,000 คน
อัตราเจริญพันธุ์ (Fertility rate) คือ จำนวนสตรีตั้งครรภ์ในปีหน่ึง ต่อประชากรหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-44
ปี) 1,000คน
อัตรามารดาตาย (Maternal mortality rate) คือ จำนวนมารดาที่ตายด้วยสาเหตุอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์
การคลอด และหลังคลอด (6 สัปดาห์/42 วัน) ต่อจำนวนทารกเกิดมีชีพ 100,000 คน
อัตราทารกตาย (Infant mortality rate) คือ จำนวนทารกที่ตายก่อนอายุครบ 1 ปี ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราทารกตายในครรภ์ หรือเกิดไร้ชีพ (Fetal death or Stillbirth rate) คือ จำนวนทารก (น้ำหนักมากกว่า 500
กรัม) ตายในครรภ์ หรือ เกิดไร้ชีพ ต่อจำนวนทารกเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราทารกแรกเกิดตาย (Neonatal death rate) คือ จำนวนทารกแรกเกิดก่อน 28 วนัน หลังคลอด ต่อจำนวน
ทารกเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราทารกแรกเกิดระยะต้นตาย (Early neonatal death rate) คือ จำนวนทารกแรกเกิดตายก่อน 7 วนัน หลังคลอด ต่อจานวนทารกเกิดมีชีพ 1,000 คน
อัตราทารกตายปริกำเนิด (Perinatal death rate) คือ จำนวนทารกน้ำหนักตั้งแต่ 500 กรัม รวมกับจำนวนทารก ตายก่อน 7 วัน หลังคลอด ต่อ จานวนทารกเกิดมีชีพและไร้ชีพ 1,000 คน
(อัตราทารกตายในครรภ์(5)รวมกับอัตราทารกแรกเกิดระยะต้นตาย(7))
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงแรงงาน
ดูแลและรักษาสิทธิที่มารดาควรได้รับในฐานะผู้รับจ้างงานตามสิทธิของแรงงาน และกลุ่มงานประกันสังคม
กระทรวงการคลัง
ดูแลและควบคุมกรมบัญชีกลาง ในการบริหารงบประมาณสำหรับส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องกับ เงินอุดหนุนสวัสดิการของมารดาและทารก รวมถึงค่าบริการทางการแพทย์ที่พึงได้รับตามสิทธิ
กระทรวงศึกษาธิการ
ดูและและให้สิทธิที่จะได้รับการศึกษาให้กับมารดาและทารก ตามสิทธิที่จะได้นับการศึกษาให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน
ทุกคนที่เกิดมาในประเทศไทย
กระทรวงสาธารณสุข
ดูแลให้บริการทางสาธารณสุขทั้งหมดกับมารดา และทารก
กระทรวงมหาดไทย
ดูแลส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนบุคล การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการแจ้งเกิดให้กับทารก
รายชื่อ
นางสาวศศิกานต์ ปิทมแสน 63106010109
นายชนวีร์ ฤทธิ์นำศุข 64106010004
นางสาวจิราพร วุฒิพนิตโรจน์ 64106010035
นางสาวพิมพ์วิภา หวังศิริเวศย์ 64106010063
นายพุฒิพงษ์ พุทธา 64106010064
นางสาวภูพิชญาฌ์ ไชยบุญเรือง 64106010067
นางสาวรุ้งตะวัน บำรุงราษฎร์ 64106010069
นางสาวรุ่งมณี ภูสมแสง 64106010070
นายธราดล มายาซิ 64106010097
นางสาวภาวิณี ไทยประเสริฐ 64106010099